“ยุครัฐธรรมนูญปี 40–50 ประเทศไทยเริ่มก้าวไปสู่จุดที่เรียกว่า ‘ระบบการเมือง’ ทั้งในแง่ของจำนวนพรรคการเมืองในอุดมคติ มีสองพรรคใหญ่ แต่พอมาถึงรัฐธรรมนูญ 60 มีขั้วการเมืองประมาณสองขั้วก็จริง แต่เนื่องจากระบบเลือกตั้งที่ประหลาด ทำให้มีพรรคการเมืองกว่า 20 พรรค เยอะจนผิดปกติ มันก็เลยไม่เข้มแข็ง แล้วพอพรรคการเมืองไม่เข้มแข็ง สิ่งที่จะเข้มแข็งขึ้นแทน ก็คือ ‘รัฐราชการ’” ชนินทร์ มณีดำ
จากบทสัมภาษณ์เรื่อง ‘พุทธคริสต์อิสลามและเบคอนคุยเรื่องศาสนาและรัฐธรรมนูญกับชนินทร์มณีดำ’ ของ รศ. ชนินทร์ มณีดำ อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ https://themomentum.co/chanin-maneedam-interview/
“แนวทางการจัดการกับข่าวลือและข้อมูลที่สร้างความสับสนรูปแบบอื่นๆ จึงไม่ใช่เพียงรู้ว่าอะไรจริง–เท็จ แต่ต้องพิจารณาด้วยว่า ข้อมูลที่ได้รับมา มีนัยอย่างไร สนับสนุน/วิพากษ์แนวคิดไหน และจะเกิดผลอย่างไรหากเราเป็นส่วนหนึ่งในการกระจายข้อมูลนี้ การตระหนักรู้เช่นนี้ไม่ใช่แค่รู้เท่าทันเนื้อหาของสื่อ แต่รู้เท่าทันความรู้สึกนึกคิด จุดยืน ความเชื่อของตัวเองด้วย” พรรษาสิริ กุหลาบ
จากบทสัมภาษณ์เรื่อง ‘คุยเรื่องข่าวลือข่าวใหญ่ข่าวใหญ่กว่าที่คิสและข่าวดีกับนักวารสารศาสตร์พรรษาสิริกุหลาบ’ ของดร. พรรษาสิริ กุหลาบ อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ https://themomentum.co/interview-phansasiri-kularb/
“ในปัจจุบัน โลกมันมี 2 ใบ โลกความเป็นจริง กับโลกออนไลน์ ซึ่งมันสะท้อนว่าไม่มีโลกที่ผูกขาดแบบเบ็ดเสร็จเหมือนเดิมอีกแล้ว เพราะฉะนั้นคุณเลยเห็น #โตแล้วเลือกเองได้ สังคมปัจจุบัน มันยากที่จะมีอำนาจอะไรที่เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ยังไม่รวมว่าเราเปลี่ยนรัชสมัย นี่ก็อีกปัญหาหนึ่งเลย อะไรที่เป็นฉันทามติเดิมที่เคยอยู่ร่วมกันของสมัยที่แล้ว ตรงนี้เรายังไม่รู้เลยว่าอะไรยังใช้ได้ อะไรใช้ไม่ได้” ธนาพล อิ๋วสกุล
จากบทสัมภาษณ์เรื่อง ‘พิพิธภัณฑ์ 6 ตุลา – ธนาพล อิ๋วสกุล มือที่พยายามปะติดปะต่อเศษเสี้ยวประวัติศาสตร์การเมืองไทย’ ของธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ https://themomentum.co/interview-thanapol-eawsakul-doc6t-and-6oct-museum/
“เรากลัวคนที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างจากเราว่าความคิดนั้นจะทำลายความดีงามที่เราเชื่อมั่น เพราะฉะนั้นก็เล่นงานซะ จัดการด้วยการก่นด่า ยิ่งโลกโซเชียลมีเดียทำให้คนไม่เห็นหน้ากัน ความเกลียดกลัวก็ยิ่งเผยตัวได้ง่ายขึ้น สังเกตว่าระบบของโซเชียลมีเดีย ก็จะคัดกรองคนที่มีความเห็นเหมือนกับเราเข้าไว้ด้วยกัน และพอส่งแนวคิดเหมือนๆ กันเข้าไป มันก็จะจุดติดง่ายมาก” จุฬารัตน์ ดำรงวิถีธรรม
จากบทสัมภาษณ์เรื่อง ‘จากถังแดงถึงบิลลี่ และสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ความเป็นอื่นที่รัฐพยายามกำจัด’ ของจุฬารัตน์ ดำรงวิถีธรรม ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ https://themomentum.co/jularat-damrongviteetham-interview/
“ตลอดห้าปีที่ผ่านมา คนในสังคมไทยเจออำนาจ คสช. ไปหนัก อยากให้ลองนึกถึงเรื่องภาคใต้ คนในภาคใต้เจอมาไม่รู้เท่าไร ถูกจับ ถูกลอบสังหาร ทั้งไม่สามารถอยู่ที่บ้านได้ เรามีผู้ลี้ภัยทางการเมืองเยอะ ที่ใต้ก็มีคนที่ต้องลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน มันคล้ายกันมาก ฉะนั้น ผมคิดว่าเราต้องปักหลักเรื่องสิทธิมนุษยชนให้ได้ในเมืองไทย สิทธิทางการเมือง สิทธิที่จะพูด สิทธิในอัตลักษณ์ของตัวเอง” เอกรินทร์ ต่วนศิริ
จากบทสัมภาษณ์เรื่อง ‘เอกรินทร์ ต่วนศิริ: ‘ทำที่นั่นให้เหมือนที่นี่’ ก้าวแรกของการแก้ปัญหาความรุนแรงภาคใต้’ ของเอกรินทร์ ต่วนศิริ ผู้อำนวยการ ปาตานี ฟอรั่ม อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ https://themomentum.co/ekkarin-tuansiri-interview/
“สิ่งที่เผด็จการทำสำเร็จ คือทำให้ประชาชนกลัว ทุกรัฐบาลที่ผ่านมาต้องการคอนโทรลคน ถ้าควบคุมไม่ได้เขาจะรู้สึกไม่ปลอดภัย ยิ่งลักษณ์จะออกกฎหมายนิรโทษกรรมเหมาเข่ง คนก็ออกมาต่อต้าน แต่ถามว่าประยุทธ์ทำ คนจะออกมาได้ไหม ไม่ได้ บรรยากาศทางการเมืองต่างกัน มึงใช้ปืน ใช้อำนาจ ใช้กฎหมาย ใช้ทุกอย่าง เขาไม่ได้อยู่ในสังคมของเหตุผล แต่เป็นสังคมแห่งการใช้อำนาจ” ไผ่ ดาวดิน
จากบทสัมภาษณ์เรื่อง ‘เส้นทางการเรียนรู้ของ ‘ไผ่-ดาวดิน’ จากนักเคลื่อนไหว สู่อดีตนักโทษในนามความอยุติธรรม’ ของจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา (ไผ่ ดาวดิน) นักเคลื่อนไหวทางการเมือง อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ https://themomentum.co/jatupat-boonpattaraksa-interview/
“มันก็มีนะที่ประเทศที่ปกครองโดยระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แล้วก็พัฒนาไปได้ ทำให้ชีวิตคนดีขึ้น แต่เขาพัฒนามาจากระบอบที่มันเลวร้ายกว่านั้นมาก ล้าหลังมาก แล้วก็มีเงื่อนไขเฉพาะของเขา แต่ที่สำคัญก็คือ ต่อไปข้างหน้าถ้าผู้มีอำนาจเผด็จการทำความเสียหายเมื่อไร มันไม่มีทางเอาออก ไม่มีทางแก้ แล้วก็ไม่มีทางตรวจสอบควบคุม มันก็เลยทำให้ระบอบเผด็จการไม่ดีอยู่ตรงนี้” จาตุรนต์ ฉายแสง
จากบทสัมภาษณ์เรื่อง ‘จาตุรนต์ ฉายแสง’ แห่ง ‘ไทยรักษาชาติ’ พรรคใหม่ที่ประกาศตัวเป็นฝ่ายค้านของคสช. ของจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ https://themomentum.co/chaturon-chaisang-interview/
“มีเช็คลิสต์อยู่ 3-4 อันเพื่อดูว่าใครที่ไม่ได้ศรัทธาประชาธิปไตยแต่อาศัยประชาธิปไตยเข้ามา อันแรกคือ คนที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงโดยผิดกฎหมาย ก็คือรัฐประหาร ที่ใช้กฎหมายรังแกคนอื่น ปิดกั้นสิทธิ์ในการแสดงออก ดูเช็คลิสต์พวกนี้แหละ คุณก็อาจจะเห็นว่า คนไหนที่อยากจะ backdoor เข้ามาสู่ระบอบประชาธิปไตย อย่างในในเยอรมนี ฮิตเลอร์ก็มาจากการเลือกตั้ง” ชัชชาติ สิทธิพันธุ์
จากบทสัมภาษณ์เรื่อง ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ คนแกร่งผู้อยากเห็นการเมืองไทยไม่ดราม่า’ ของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ 1 ใน 3 แคนดิเดตนายกฯ ของพรรคเพื่อไทย อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ https://themomentum.co/chadchart-sittipunt-interview-2019/
“เผด็จการไม่สามารถทำรัฐประหารได้ ถ้าคนไม่ขัดแย้งกัน ดังนั้นวิธีการที่เขาทำเสมอมาก็คือทำให้คนเกลียดกลัวกัน เมื่อคนในชาติเกลียดชังกันได้เมื่อไร ก็จะเกิดช่องว่างที่ทำให้พวกเขาเข้ามาแทรกแซงทางการเมือง นี่คือข้อหาต่อประชาธิปไตย ว่าเห็นไหม ประชาชนยังไม่พร้อม เห็นไหม ว่าประชาธิปไตยทำให้คนตีกัน เมื่อคนตีกัน ประเทศไปต่อไม่ได้ กองทัพคือทางออก รัฐประหารคือการแก้ไข นี่คือเรื่องที่เราถูกทำให้เชื่อมาตลอด” ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ
จากบทสัมภาษณ์เรื่อง ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ “ถ้าเป็นปีศาจ ผมคงเป็นปีศาจของชนชั้นปกครอง” ของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ https://themomentum.co/thanathorn-juangroongruangkit-interview/
“ไม่มีสังคมไหนที่แตกแยกร้าวลึก แล้วจะสามารถสร้างประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพและมีคุณภาพได้ สังคมที่มันแบ่งแยกแตกขั้วกันอย่างรุนแรง มันสะสมอารมณ์ความเกลียดชังและความไม่ไว้วางใจเข้ามาด้วย นานวันเข้า คนก็จะมีจินตนาการถึงสังคมที่ดี ถึงอนาคตที่ดีไปคนละรูปแบบ เราไม่สามารถปล่อยให้ภาวะอย่างนี้ดำรงอยู่ไปเรื่อยๆ แล้วจะคาดหวังว่าประชาธิปไตยมันจะงอกขึ้นมาได้ มันไม่มีทาง” ประจักษ์ ก้องกีรติ
จากบทสัมภาษณ์เรื่อง ‘PostElectionWarประชาธิปไตยยังมีความหวัง?คุยกับประจักษ์ ก้องกีรติ’ ของประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ https://themomentum.co/post-election-war-interview-prajak-kongkirati/
Tags: สามจังหวัดชายแดนใต้, คสช., เผด็จการ, สิทธิมนุษยชน, 6 ตุลา, การเลือกตั้ง 2562, การเมืองไทย