[1]

พูดแล้วของขึ้น

ดุจเทพสร้างกับผีน่ะสิ

ฝนตกแค่ไม่ถึงชั่วโมง

ถนนหนทางก็ท่วมกลายเป็นคลองไปหมด

การจราจรเป็นอัมพาตทั่วเมือง

ผู้ว่าก็ไม่รู้หายหัวไปอยู่ไหน

พูดเลยว่ายับยั้งความโกรธไม่อยู่

ปะทุแบบภูเขาไฟแล้วจ้า

Blow your top*

โมโหจนคุมตัวเองไม่อยู่

*สำนวนนี้ให้ภาพเหมือนภูเขาไฟที่กักลาวาไว้ไม่ได้และระเบิดปะทุออกมา อีกสำนวนที่ใกล้เคียงกัน คือ blow your lid และ blow your stack อันแรกจะให้ภาพเหมือนน้ำที่ต้มในภาชนะเดือดทะลักจนฝาหม้อกระเด็นออกมา ส่วนอันที่สองเห็นภาพว่าปล่องควันบนหลังคาโรงงานอุตสาหกรรมระเบิดออกเพราะรับแรงดันจากแหล่งความร้อนด้านล่างไม่ไหวแล้ว

[2]

พูดแล้วของขึ้น

หมุดคณะราษฎรฝังได้วันเดียวเนี่ยรีบมาถอนจัง

แต่ทางเท้าพังอยู่ข้ามปีดันไม่เหลียวแล

ทำงานเร็วก็ทำงานเป็นนี่

ต้องเอาหมุดไปฝังตามฝาท่อตามทางเท้าถึงจะมาซ่อมใช่ไหม

พูดแล้วมันเดือดดาลแค้นใจนัก

Make your blood boil

เดือดดาล

[3]

พูดแล้วของขึ้น

ประชาชนรวบรวมรายชื่อกันแทบตาย

แต่ สว. และ .. ฝ่ายรัฐบาลลงคะแนนเสียง

ให้ตั้งคณะกรรมาธิการศึกษาร่างรัฐธรรมนูญก่อนแก้ไข

ราวกับจงใจยื้อเวลาลงมติร่างออกไปอีก

ซึ่งถ้าโดนคว่ำในอีก 1 เดือนข้างหน้า

กว่าจะยื่นได้อีกทีก็คือปี ’64

โกรธจนรู้สึกถึงรสขมในคอเลยทีเดียว

Bile rising in your throat*

คับแค้นใจ

*bile หมายถึง น้ำดี ชาวยุโรปในอดีตเชื่อว่าน้ำดีเป็นของเหลวในร่างกายที่เป็นที่มาของความอารมณ์ร้อน ขี้โมโห ความเชื่อนี้ยังสะท้อนให้เห็นในคำว่า choler ซึ่งมาจากคำในภาษากรีกที่แปลว่า น้ำดี และหมายถึง ความโกรธ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่: https://themomentum.co/english-words-disease/)

[4]

พูดแล้วของขึ้น

พรรคการเมืองหนึ่งลงเสียงให้ตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อประวิงเวลา

พอวันรุ่งขึ้นเห็นกระแสไม่ดี

ออกมาขอโทษสังคม

บอกว่าในอีกหนึ่งเดือนข้างหน้าจะขอโหวตรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ

โห พรรคเธอกลับกลอกหักหลังคนที่เลือกเธอเข้าไปที่ครั้งแล้ว

ยังกล้าออกมาพูดอีกเหรอ

ได้ยินแล้วอารมณ์โกรธพุ่งจากศูนย์ถึงร้อยทันที

Fly into a rage

โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ

[5]

พูดแล้วของขึ้น

สว. บางคนโผล่มาลงมติแค่ครั้งเดียวตั้งแต่เข้าดำรงตำแหน่ง

แต่รับเงินเดือนจากภาษีประชาชนเดือนละแสนกว่าบาท

โห เสียภาษีเพื่อให้คนเหล่านี้อู้งานเนี่ยนะ

ฟังแล้วยัวะจนขนคอลุกพอง

Make your hackles rise*

โกรธเกรี้ยว

*คำว่า hackles ในที่นี้หมายถึงแผงคอหรือขนบริเวณหลังคอของสัตว์ ซึ่งสัตว์จะพองขนบริเวณนี้เมื่อถูกคุกคาม (เช่น เวลาที่แมวพองขนขู่ฟ่อๆ หรือไก่พองขนบริเวณลำคอเพื่อขู่สัตว์ที่มาคุกคาม)

[6]

พูดแล้วของขึ้น

พอมีผู้ออกมาประท้วงรัฐบาลหนักเข้าหน่อยทีไร

ประชาชนก็ต้องมานึกกลัวในใจว่าจะมีรัฐประหารไหม

กังวลกันเป็นเรื่องธรรมดาถึงขนาดที่นักข่าวถามบรรดาผู้นำตรงๆ 

ว่าจะทำรัฐประหารหรือเปล่า

เราจะเป็นประเทศที่ยอมรับรัฐประหารเป็นเรื่องปกติธรรมดากันจริงๆ เหรอ

โมโหจนเส้นเลือดในสมองจะแตกอยู่แล้ว

(Almost) burst a blood vessel

โมโหจนเส้นเลือดปูด

[7]

พูดแล้วของขึ้น

หาว่าเยาวชนโง่เขลาไร้เดียงสา

ไล่เด็กไปอ่านประวัติศาสตร์

พอเด็กไปอ่านมาจริง

มีความคิดความอ่านมีเหตุผล

กลับกล่าวหาว่าถูกล้างสมอง

เป็นเครื่องมือของนักการเมือง

ฟังแล้วปรี๊ดแตกไหม

See red*

ฉุนขาด

*สำนวนนี้มักว่ากันว่ามีที่มาจากประเพณีสู้วัวกระทิง ที่จะมีผู้นำผ้าแดงมาโบกสะบัด ล่อให้วัวขวิดใส่ แต่อันที่จริงแล้ว สำนวนนี้พบว่ามีก่อนที่จะมีประเพณีนี้เสียอีก จึงไม่น่าจะมีที่มาจากประเพณีนี้ และอาจจะมาจากการที่สีแดงเป็นสัญลักษณ์ของความโกรธและอารมณ์ร้อนมากกว่า

[8]

พูดแล้วของขึ้น

ไหนว่าต้องการรับฟังเสียงนักเรียนนักศึกษาอย่างจริงใจ

อุตส่าห์มาเสวนาด้วยถึงในม็อบ

แต่วันรุ่งขึ้นบอกว่าต้องมีผู้ชักใยเบื้องหลัง

เพราะเด็กคงขับรถส้วมมาเองไม่ได้

โกรธน้ำลายฟูมปากแล้ว

Foam at the mouth*

โกรธน้ำลายฟูมปาก

*ให้ภาพว่าโกรธเหมือนสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าน้ำลายฟูมปาก คุ้มคลั่งและพร้อมทำร้ายคนแบบไม่เลือกหน้า

บรรณานุกรม

http://www.etymonline.com/

http://oed.com/

Ammer, Christine. The American Heritage Dictionary of Idioms: American English Idiomatic Expressions & Phrases. 2nd ed. Houghton Mifflin Harcourt: Boston, 2013.

American Heritage Dictionary of the English Language

Ayto, John. Oxford Dictionary of English Idioms. OUP: Oxford, 2009.

Brenner, Gail. Webster’s New World American Idiom Handbook. Wiley Publishing: Indianapolis, 2003.

Cambridge Advanced Learners’ Dictionary

Flavell, Linda, and Roger Flavell. Dictionary of Idioms and Their Origins. Kylie Cathie: London, 2011.

Gulland, Daphne M., and Hinds-Howell, David. The Penguin Dictionary of English Idiom. Penguin Books: London, 2002.

Jack, Albert. Red Herrings and White Elephants: The Origins of the Phrases We Use Every Day. Metro Publishing: London, 2004.

Longman Dictionary of Contemporary English

Longman Idioms Dictionary. Pearson: Essex, 2010.

Merriam-Webster Dictionary

Oxford Advanced Learners’ Dictionary

Oxford Idioms Dictionary for Learners of English. OUP: New York, 2006.

Shorter Oxford English Dictionary

Tags: , , , , , , ,