คำถามสำคัญของคนในเจเนอเรชันนี้ที่มีภาระหนี้ มีค่าใช้จ่ายล้นหลาม ใช้ชีวิตแบบเดือนชนเดือน และเรื่องของ ‘เงินเก็บ’ ถือเป็นเรื่องไกลตัว ‘การลงทุน’ ถือเป็นเรื่องห่างไกลก็คือ หากไม่อยากเป็นภาระคนอื่นในอนาคต จะเริ่มออมเงิน เริ่มเก็บเงิน และเริ่มลงทุนอย่างไร

สิ่งที่ต้องยอมรับก็คือ ในรอบ 10-20 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเต็มไปด้วยความผันผวน ‘ตลาดหุ้น’ ช่องทางหลักในการลงทุนบ้านเราอยู่ในภาวะคงที่มานานนับทศวรรษ และไม่ได้มีผลิตผลงอกเงยเหมือนเดิม ขณะเดียวกัน รายได้ของคนรุ่นใหม่ก็ไม่ได้ตามทันเงินเฟ้อ ค่าครองชีพในเมืองใหญ่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนรู้ตัวอีกที ค่าใช้จ่ายในการเช่าห้อง เช่าคอนโดมิเนียม หรือผ่อนรถสักคัน ก็ทำให้รายได้ที่มีไม่เพียงพอเสียแล้ว

ฉะนั้น ประเด็นสำคัญก็คือต้องเลือก ‘ลงทุน’ อย่างไร เพื่อให้เงินที่มีน้อยนิด ‘ทำงาน’ ต่อได้มากที่สุด และหากตกผลึกกับตัวเองแล้วจะเริ่มต้นลงทุนด้วยวิธีไหน

เราชวน ธนโชติ รุ่งสิทธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) คุยสบายๆ ว่าด้วยการเริ่มต้นลงทุนในช่วงเวลาแห่งความผันผวนนี้ว่ายังมีโอกาสอยู่หรือไม่ และหากคนรุ่นใหม่อยากจะเริ่มต้นลงทุน จะต้องเริ่มต้นจากจุดใดเป็นจุดแรก

สำหรับคนที่เริ่มต้นลงทุน เพราะอะไรถึงอยากให้มอง MFC เป็นที่แรก

MFC ถือเป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแรกของประเทศ ตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2518 ทีนี้คำว่าบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ในมุมคนทั่วไป คือถ้าไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินหรือไม่ได้ซื้อกองภาษี อาจจะไม่ค่อยรู้จัก

โดยภารกิจแล้ว เราบริหารเงินลงทุนของประชาชนที่ออมเงิน ไม่ว่าจะเป็นลูกค้ารายย่อย ลงทุนเพื่ออนาคตของตัวเอง หรือลงทุนเพื่อเซฟภาษีและลงทุนเพื่อเกษียณ

อีกส่วนหนึ่งก็คือสำหรับผู้ที่มี Wealth ขึ้นมาหน่อย ก็จะมีเรื่องของกองทุนส่วนบุคคล ซึ่งจะเป็นกองทุนที่จัดขึ้นเฉพาะภายใต้ข้อตกลงระหว่างกันว่าจะลงทุนในกรอบหรือจะลงทุนประเภทไหน มีเป้าหมายอย่างไร และอีกส่วนหนึ่งก็คือเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่หากทำงานบริษัทเอกชน เราอาจจะเป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภายหลังเกษียณ ที่ถ้าเกิดเราทำงานบริษัทเอกชน เราเองก็อาจจะเป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเรื่องภายหลังการเกษียณ MFC ก็จะเข้ามาดูแลจัดการเงินลงทุนของกองทุนเหล่านี้ 

นอกเหนือจากนี้ เราก็มีเรื่องของตัวกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เราเข้าไปบริหารด้วย ฉะนั้น ต้องบอกว่าถ้าในด้านของการลงทุน MFC ก็มีความเชี่ยวชาญทุกด้าน ครบเครื่องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในปีนี้ถือเป็นปีที่ 49 ของ MFC เราเองเป็นบริษัทแรกที่เป็นบริษัทจัดการกองทุนเริ่มต้นมาตั้งแต่ชื่อว่า ‘บริษัท กองทุนรวม’ ต่อมา ทางภาครัฐอยากให้มีการแข่งขัน เราก็ต้องเปลี่ยนชื่อจากบริษัทกองทุนรวม เพื่อที่จะทำให้คู่แข่งรายอื่นๆ สามารถใช้ชื่อที่ไม่ได้สื่อถึงตัวธุรกิจนี้เป็นหลัก จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก Mutual Fund Company มาเป็น MFC ในพื้นที่มาเป็นชื่อเรา และในปัจจุบันเอง เราเป็น บลจ.เพียงแห่งเดียวในตลาดหลักทรัพย์ด้วย

ข้อดีคือ เรามีทีมงานหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะด้านซัพพอร์ต ด้านเซลส์ หรือด้านผู้จัดการกองทุนเองก็มีประสบการณ์ยาวนาน จากที่เราก่อตั้งมานานเนิ่นนาน แล้วผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมาหลายรูปแบบ ทำให้เรามั่นใจว่าเราพร้อมที่จะดูแลการเงินผ่านวิกฤตต่างๆ ไปได้ให้กับลูกค้าของเรา 

จุดที่อาจจะด้อยลงมาหน่อยก็อาจเป็นเพราะว่าปัจจุบัน ธนาคารพาณิชย์เองก็เข้ามาแข่งขันในเรื่องธุรกิจนี้มากขึ้น แบรนด์หลักที่คนมองเห็น อาจจะเป็นแบรนด์ธนาคาร เพราะเราเองเห็นสาขาธนาคารที่ค่อนข้างเยอะ แต่คนอาจจะไม่รู้ว่าจริงๆ MFC เอง แม้จะไม่ได้อยู่ใต้แบงก์ใดแบงก์หนึ่ง แต่จริงๆเราก็มีธนาคารออมสินถือหุ้นอยู่ที่ 15% ตัวเราเองก็มีสาขาอยู่ 7 สาขาทั่วประเทศเช่นเดียวกัน  

สถานะของ MFC เป็นรัฐหรือเอกชน

ถ้าตามกฎเกณฑ์ คือภาครัฐจะต้องถือหุ้นเกิน 50% ถึงจะนับว่าเป็นรัฐวิสาหกิจ เราเองมีความมั่นคงในระดับหนึ่ง คือรัฐรวมกันแล้วถือหุ้น 42% แต่หากเราทำงานกับเอกชน เราเองก็มีความสามารถ มีความคล่องตัว สามารถทำเรื่องอะไรใหม่ๆ ให้กับทางลูกค้าของเราได้ สามารถเปิดโอกาสให้เกิดการลงทุนใหม่ๆ ได้รวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องมีขั้นตอนตามเรื่องของภาคปฏิบัติของภาครัฐ 

แต่เราเองก็จะมีกรอบในการจัดการของเราภายใต้ความเสี่ยง ภายใต้กฎเกณฑ์ของเรา และด้วยความที่เราจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ก็จะมีการมอนิเตอร์ส่วนนั้นเพิ่มเติม

การแข่งขันในตลาดนี้เป็นอย่างไรบ้าง

ในประเทศไทย เรามี บลจ.ค่อนข้างมาก แต่จริงๆ หากนับประชากรของเราที่ลงทุนในกองทุนรวม ต้องถือว่าค่อนข้างน้อย และยังเป็นตลาดที่เติบโตได้อีกมาก สิ่งที่เรามองในอนาคตคือจะมีคนส่วนหนึ่งที่มีการออมผ่านการฝากเงินที่ธนาคารเท่านั้น คนกลุ่มนี้เอง ถ้าวันหนึ่งเขาเผชิญกับเรื่องของสภาวะเงินเฟ้อ แล้วมองเห็นถึงว่า การฝากเงินไว้กับธนาคารเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่ได้ผลประโยชน์ที่ชนะเงินเฟ้อเท่าไร 

เพราะฉะนั้น ถ้าเราเรียกว่าเป็น Real Income ของเรา ตรงนั้นอาจจะลดลงได้เรื่อยๆ พอเม็ดเงินตรงนี้กลับเข้ามาในส่วนของการลงทุน ทางผู้ออมเหล่านี้เองก็ต้องหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อมาช่วยเหลือในด้านการลงทุน ซึ่งตรงนี้ถือเป็นโอกาสของ บลจ.ที่จะสามารถหาลูกค้าใหม่ๆ ที่มี Value อยู่แล้วเข้ามา เปิดโอกาสให้กับอุตสาหกรรมนี้มากขึ้น

ในความเห็นคุณ ทำไมคนถึงยังเลือกลงทุนในกองทุนรวมไม่มากนัก

ส่วนหนึ่งเลย คนอาจจะมีความเข้าใจในเรื่องของกองทุนรวมไม่มาก เพราะว่ากองทุนรวมจริงๆ แล้วเหมือนเราร่วมกันนำเงินเข้ามาในกองทุนอันหนึ่งเพื่อเอาไปลงทุน สมมติ ผมอยากจะลงทุนในตราสารหนี้หรือตราสารทุน และอยากลงทุนในตราสารทุนส่วนหนึ่งในอเมริกา ในยุโรป ในจีน 

ถ้าผมชอบหลายตลาด ถ้าผมจะลงทุนเอง ก็ต้องเปิดบัญชีโบรกเกอร์ มีค่าใช้จ่าย มีการแลกเงินในสกุลนั้นๆ แล้วถ้าลงทุนเอง ก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ไม่นับถึงการที่เราจะเข้าไปซื้อตราสารหนี้ตราสารหนี้หนึ่ง เราจะต้องมีเงินขั้นต่ำ 1 หมื่นบาท 1 แสนบาท 1 ล้านบาท แล้วแต่สถานการณ์ เมื่อเราลงทุนเป็นกองทุนรวม ขั้นต่ำมันก็ถูกลง หลายกองทุนอาจจะเริ่มลงทุนได้ตั้งแต่ 1 บาท ถึง 1,000 บาท ซึ่งก็เป็นข้อดีที่เราสามารถกระจายการลงทุนได้หลายส่วน เราอาจจะไม่จำเป็นต้องมีเงินเยอะ 

ทั้งหมด อาจจะมองแล้วซับซ้อนกว่าการลงทุนปกติ ที่เราไปเปิดพอร์ตหุ้น ลงทุนอะไรก็ได้สักตัวหนึ่ง แต่ตัวนี้ เราอาจจะมองแล้วว่าซับซ้อนกว่าการลงทุนปกติ เราไปเปิดพอร์ตหุ้น เราไปลงทุนอะไรก็ได้ ตัวไหนตัวหนึ่ง ตัวนี้เองก็จะทำให้ความเข้าใจ หรือความน่าสนใจก็อาจจะน้อยลงไป 

อีกส่วนหนึ่งคือกองทุนรวมหรือการออม อาจเป็นเรื่องระยะยาว เรามองเป็นระยะยาว ฉะนั้น ถ้าเรามี Incentive ว่า เราจะเก็บเงินนี้ไว้ในระยะยาว เราเข้าใจเรื่องการลงทุนเพื่อเกษียณ เราก็จะเริ่มต้นตรงนั้น เราอาจจะมองว่า เราไปซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่งอาจจะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า แต่จริงๆ แล้วมันมาพร้อมความเสี่ยงที่มากกว่า เพราะว่าการเป็นกองทุนหนึ่ง เราอาจจะ Diversify ของข้างในที่เราลงทุน เราอาจจะต้องกระจายการลงทุนมากกว่า เพราะฉะนั้น จะมีเรื่องความผันผวนที่น้อยกว่า ถ้าเรามองในเรื่องระยะยาว ในเรื่องการบริหาร การที่เราฝากไว้กับผู้จัดการกองทุนที่มืออาชีพ ที่มี License น่าจะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์เราได้มากกว่า 

ถ้าจะอธิบายสั้นๆ ลงทุนกับ MFC แตกต่างจากลงทุนหุ้นอื่นอย่างไร

การลงทุนในหุ้นก็เป็นการออมอย่างหนึ่ง ถ้ามองว่าการลงทุนในหุ้นก็มีข้อดี แต่สิ่งที่เราต้องทำ คือเราต้องศึกษาว่าเราจะลงหุ้นตัวไหน พอเราลงไปแล้ว เราได้มอนิเตอร์มันหรือเปล่า ผมจะเห็นว่าหลายคนอาจจะเริ่มต้นจากการเปิดบัญชีแล้วก็ฟังตามเพื่อน เพื่อนจะบอกว่าไปซื้อตัวนี้สิ แล้วเราก็เข้าไปซื้อ 

ถ้าเป็นบริษัทที่มีผลประกอบการดีขึ้น ราคาหุ้นอาจจะขึ้นในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่หลังจากนั้นแล้ว เราไม่ได้มอนิเตอร์ เรากลับมาเปิดพอร์ตอีกทีหนึ่ง อาจจะเห็นว่ามีผลประกอบการที่เปลี่ยนไปแล้ว หรือความเข้าใจในวันที่เราลงทุนกับวันนั้นก็อาจไม่เหมือนกัน

ผมคิดว่าข้อดีของกองทุนรวม คือเราลงทุนในนโยบายของกองทุนนั้นๆ เราเข้าใจตรงนั้น ก็ไม่ต้องคอยกังวลว่าสิ่งที่เราลงทุนไป มันจะยังโอเคอยู่ไหม เพราะเรามีผู้เชี่ยวชาญ มีผู้จัดการกองทุนคอยติดตามเรื่องผลประกอบการ ของนโยบาย ติดตามกลยุทธ์ของบริษัทนั้นๆ ที่เข้าไปลงทุน คอยอัปเดตตรงนั้น 

ถึงแม้ว่าถ้าจะเป็นตราสารหนี้เองก็ตาม ถ้าผู้จัดการกองทุนมอนิเตอร์เรื่องโอกาสที่จะเกิดการผิดนัดชำระ อาจจะมีการขายออกไปก่อนได้ ตรงนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่เข้ามาช่วยแบ่งเบาในเรื่องความเสี่ยงให้กับนักลงทุนที่อาจจะเลือกลงทุนตรงนี้เอง ผมคิดว่าเป็นเหมือนเวลา เราต้อง Spend Time กับตรงนั้น ที่จะต่างกัน 

อย่างตอนนี้ผลประกอบการชัดเจนว่า ถ้าลงในกองทุนรวมก็คือในระยะยาว มีโอกาสที่จะได้ผลประกอบการงอกเงยมากกว่าหรือเปล่า

ถ้าเราใช้เวลากับการลงทุนหุ้น แล้วเราศึกษามันแบบเต็มเวลาก็อาจจะทำได้ แต่ถ้าต้องตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่ Work Hard, Play Hard ใช้ชีวิตให้เต็มที่ ในส่วนของการลงทุน ก็อาจจะฝากไว้กับผู้จัดการกองทุนได้ ซึ่งผมคิดว่าตรงนั้นเราก็อาจจะแบ่งช่วงไปลงทุนตรงนั้นได้ 

อีกส่วนหนึ่งก็คือ ถ้าเราลองมอนิเตอร์ในเรื่องของการกองทุน เราอาจเริ่มต้นในกองทุนรวมเพื่อเข้าใจผู้ที่มีประสบการณ์ว่าเขาเลือกลงทุนอย่างไร เขาบริหารพอร์ตของเขาอย่างไร เราอาจจะไม่ได้เห็นพอร์ตทั้งหมดของเขา แต่เราเองก็จะเห็นว่าวิธีการมูฟของเขาอย่างไร

เราจะเห็นทุกสิ้นเดือน จะเห็นท็อบ 10 หุ้น ว่าเขาลงทุนอะไรบ้าง ผมคิดว่าตรงนั้นเป็นจุดเริ่มต้นได้ ถ้าเกิดเราเริ่มต้นแบบเรียนจบมาแล้วเริ่มลงทุนหุ้นเองเลย เราอาจต้องใช้เวลากับมัน ต้องอ่านงบการเงินให้เข้าใจ ต้องดูสภาวะเศรษฐกิจ ต้องเข้าใจว่าปัจจัยอะไรที่จะส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นของตัวนั้นๆ ในอนาคต ซึ่งก็เป็นตัวผู้ลงทุนเองที่ต้องทำการศึกษา

ถ้าวันนี้เด็กจบใหม่ คนเริ่มทำงาน Job แรก อยากจะเริ่มลงทุน อยากจะเข้ามา Involve ในกองทุนรวม ควรเริ่มอย่างไรดี

ข้อที่ 1 คือกองทุนรวมไม่จำเป็นต้องใช้เงินเยอะ ยกตัวอย่าง สมมติตัวผมหรือกับคนที่ผมคุ้นเคย คุ้นชินที่ได้คุยกัน วันที่เราเรียนหนังสืออยู่เราจะไม่เคยพูดถึง LTF ไม่เคยพูดถึง RMF เพราะเรายังไม่ได้เริ่มทำงาน เรายังไม่ได้เสียภาษี เรายังไม่รู้ว่าสิ่งนี้มันช่วยอะไรเราได้ แต่พอเราเริ่มทำงานแล้ว เราก็จะเริ่มคิดว่า วันหนึ่งถ้าสมมติเราอยากจะซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือแต่งงาน เราต้องออมเงินเท่าไร เราก็จะเริ่มคิดถึงการลงทุน 

พอเราใช้ชีวิตไปถึงวันหนึ่งที่เราเริ่ม อาจจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพต้องไปหาหมอ เราเริ่มจะคิดถึงว่าถ้าวันหนึ่งเรามีปัญหาเรื่องสุขภาพแล้วเราจะออมเงินอย่างไรบ้าง ผมคิดว่านั่นคือมูฟเมนต์ของคนรุ่นปัจจุบัน

แต่ถ้าเป็นคนรุ่นใหม่ วันนี้ ผมเองก็มีโอกาสได้สัมภาษณ์นักศึกษาเข้าใหม่ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง แทบทุกคนจะพูดถึงอิสรภาพทางการเงิน จบมาแล้วอยากจะเปิดร้านกาแฟ อยากจะทำนู่นทำนี่ ผมคิดว่าการลงทุนได้ฝังเข้าสู่คนรุ่นใหม่เรียบร้อยแล้ว แต่ทีนี้ ทางเลือกการลงทุนล่ะ มีอะไรบ้างในช่วง 2-3 ปี เขาลงตาม Pattern ของตลาด 

ช่วงหนึ่งที่คริปโตเคอร์เรนซีกำลังบูม เราจะลงเหรียญไหนก็ตาม บูมหมด เราก็เลือกที่เข้าไปลงทุน แต่เราไม่ได้บริหารพอร์ตฟอลิโอของเรา ไม่เคยบริหารความเสี่ยง แต่การลงทุนในกองทุนรวมจะช่วยในเรื่องของการบริหารความเสี่ยงตรงนั้น เพราะเรามีคนที่คอยมอนิเตอร์ว่า ช่วงนี้จะต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง แล้วถ้าเกิดเราลงทุนกองทุนรวมจัดเป็นพอร์ตฟอลิโอ MFC ก็จะมีพอร์ตฟอลิโอนั้นแนะนำให้ตามแต่ความเสี่ยงของแต่ละคน ซึ่งจะช่วยคนรุ่นใหม่ได้มาก

ข้อที่ 2 คือกองทุน ณ ปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบมากๆ ก่อนที่เราจะเริ่มลงทุนเราอาจจะต้องทำเรื่องการคัดกรอง เรื่องความเสี่ยงของเราก่อน เราต้องเข้าใจตัวเราเองว่ารับความเสี่ยงแบบไหนได้บ้าง พอสกรีนตรงนั้นมา ก็จะมีลิสต์กองทุนให้เลือกแล้วว่า ความเสี่ยงแบบนี้ เราควรจะลงทุนตัวไหนได้บ้าง เมื่อเริ่มลงทุนในกองทุนนั้น ก็จะได้ผู้เชี่ยวชาญในการติดตาม

ฟีเจอร์หนึ่งที่ผมคิดว่าช่วยได้มากคือ DCA หรือ Dollar Cost Averaging เป็นการออมที่มี Discipline มีระเบียบวินัยให้กับคนที่อยากจะออมจริงๆ คือสมมติเริ่มทำงาน เราอาจจะได้เงินเดือน 1.5 หมื่น 2 หมื่น 3 หมื่น เราอาจจะแบ่งส่วน 10% ของรายได้ ถ้าเราใช้ไม่หมด ก็แบ่งส่วนนั้นมาออมเสีย 

สิ่งหนึ่งเลยที่อยากจะสื่อสารกับคนรุ่นใหม่คือ ‘เวลา’ เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถเรียกคืนมาได้ ถ้าเห็นในโซเชียลมีเดีย ก็จะเห็น Infographic ขึ้นมาบ่อยๆ ว่า ถ้าเราลงหุ้นตัวนี้เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ลงทุกๆ เดือน วันนี้ เราจะมีเงินเท่านี้ ผมคิดว่าเมื่อเด็กรุ่นใหม่สนใจเรื่องอิสระทางการเงิน ถ้าเขาเริ่มออมเลย ก็ไม่จำเป็นต้องใช้เงินเยอะ ไม่ต้องเปิดพอร์ตซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง เพราะถ้าเราซื้อหุ้นตัวหนึ่ง เราต้องซื้อ 100 หุ้น หุ้นตัวนั้นราคา 100 บาท เราก็ต้องมีเงิน 1 หมื่นบาท ในการลงหุ้นตัวนั้นตัวเดียว แต่การลงทุนกองทุนรวม เราอาจจะใช้เงินที่น้อยลงได้ ออมได้ แล้วเริ่มลงทุนได้เร็วกว่า 

ในเชิงปฏิบัติ ถ้าวันนี้ เงินเดือน 2 หมื่น ควรจะเริ่มต้นอย่างไร แบ่งเงินเดือนมาออม หรือมาลงทุนกับ MFC อย่างไรดี

MFC มีช่องทางการขายหลากหลายช่องทาง ถ้าหลักๆ เลย คือเราจะมีเซลส์ตรงของเราเอง หรือโทรมาที่ Contact Center ของเราได้ แต่จริงๆ ถ้าตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ก็เข้าไปที่แอปพลิเคชันชื่อ MFC Wealth เป็นแอปพลิเคชัน All in One เริ่มต้นตั้งแต่เปิดบัญชี บริหารความเสี่ยง ทำแบบสอบถามความเสี่ยง จะมีกองทุนที่สามารถลงทุนได้เลย สามารถอ่านเจอได้เลยว่ากองทุนนี้มีนโยบายในการลงทุนอย่างไรบ้าง มีการอัปเดตมุมมองตลาด มุมมองกองทุน เพื่อสร้างพอร์ตฟอลิโอที่เหมาะกับความเสี่ยงของเรา ให้เราเข้าไปดูได้ว่าควรเริ่มลงทุนเลยไหม แล้วก็เริ่มลงทุนได้ทันที 

สำหรับคนรุ่นใหม่มีกองทุนไหนที่คุณแนะนำ ที่คิดว่าตอบโจทย์พวกเขามากที่สุด

ยึดตามหลักวิชาการแล้วกัน คนรุ่นใหม่มีเวลาทำงานอีกค่อนข้างเยอะ และยังไม่จำเป็นต้องใช้เงินเร็วมาก เพราะฉะนั้น สามารถรับความเสี่ยงได้สูงกว่าคนที่ใกล้เกษียณแล้ว ถ้ารับความเสี่ยงได้สูงกว่า ก็มีโอกาสที่ลงทุนในสิ่งที่มีความผันผวน แต่มีโอกาสได้รีเทิร์นที่สูงกว่าได้

ตรงนี้น่าจะเป็นการลงทุนสัดส่วนใหญ่ที่สุดในพอร์ต คือตราสารทุนหรือหุ้น ถ้าเป็น DCA ผมคิดว่า MFC มีกองทุนไฮไลต์อยู่ 2 กองทุนหลัก ที่เป็นการลงทุนในระยะยาวแล้วตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ กองทุนแรกจะเรียกว่า MGF หรือ MFC Global Focus Fund กองทุนนี้เป็นกองทุนที่ลงทุนในบริษัทที่มีส่วนแบ่งการตลาดระดับใหญ่ในแต่ละประเภทธุรกิจ อีกส่วนหนึ่งก็คือจะโฟกัสในบริษัทที่มีการเติบโตอย่างมีคุณภาพ 

โดยสรุปก็คือ กองทุนนี้จะลงทุนในบริษัทที่มีมาร์เกตแชร์ใหญ่ มีรายได้และกำไรเติบโตอย่างต่อเนื่อง กระจายตัวในหลากประเภทธุรกิจ และหลายภูมิภาคทั่วโลก เป็นกองทุนที่เป็นไฮไลต์ในการออม และเหมาะกับการออมในรูปแบบ DCA 

อีกกองทุนหนึ่ง ผมคิดว่าเป็นกองทุนที่ทำให้คนพูดถึง MFC ค่อนข้างมาก เป็นกองทุนที่ลงทุนในธีมที่มาแน่ๆ ในอนาคต และเป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่สนใจด้วย คือการลงทุนในตัวพลังงานสะอาด เป็นกองชื่อว่า MFC Renew คือ MFC เป็น บลจ.แรกที่ออกกองทุนในธีมนี้ขึ้น เป็นกองทุนที่ลงทุนในพลังงานสะอาด ลงทุนในบริษัทที่ Preserve ในเรื่องการใช้พลังงาน แล้วก็ลงทุนใน Supply Chain ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) เพราะฉะนั้น ก็เป็นธีมที่เรามองว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีเม็ดเงินมหาศาลที่แต่ละรัฐบาลต้องลงเข้าไป

จริงๆ ถ้าเรามองในหลักที่ UN พูดกัน อยู่ที่ประมาณ 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 175 ล้านล้านบาท) ต่อปี ซึ่งเป็นเม็ดเงินที่ค่อนข้างสูง และเป็นนโยบายที่แต่ละประเทศก็ต้องเปลี่ยนการใช้พลังงานไปเป็นรูปแบบ Net Zero Carbon ที่เราจะเห็นได้ในปี 2050 และปี 2060 ตามลำดับ ตรงนี้เป็น 2 ตัว ที่คิดว่าสามารถตอบโจทย์การลงทุนแบบ DCA ในคนรุ่นใหม่ได้

อีกส่วนหนึ่ง อาจจะเป็นส่วนที่สามารถ Trading ได้ตามสภาวะตลาด ผมคิดว่ามีกองทุน MGTECH ของ MFC คือเราลงทุนในบริษัท Tech อย่างเช่น MG Tech เป็น Global Tech จะเป็นกองทุนที่ลงทุนในบริษัท Tech 120 ตัว ซึ่งเรามองว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า กลุ่มบริษัทเหล่านี้จะเป็นกลุ่ม Tech ที่ขึ้นมาเป็นชั้นนำ

ในทุก 10 ปี จะมีบริษัท Tech ที่เข้ามาใหม่ แล้วก็ออกไป เราจะเห็นได้ว่าแต่ก่อนเราพูดถึง IBM หลังจากนั้นก็มี Apple มา ปัจจุบัน Apple ก็ยังอยู่ แล้วก็เริ่มมีกลุ่ม Tech อื่นๆ เข้ามาอย่าง NVIDIA ซึ่งก็จะมีการ Evolve ตลอดนะครับ จะมีบางบริษัทที่ Maintain อยู่ในท็อป 10 ได้ บางบริษัทที่เกิดขึ้นมาใหม่ 

ตัวนี้เองเป็นกองทุนที่มองว่าลงทุนไปประมาณ 100-120 ตัวเนี่ย อาจจะมีประมาณ 2-3 ตัวที่ขึ้นไปถึงจุดสูงสุดได้ ก็จะได้ Return ที่ค่อนข้างสูง 

กองทุนอื่นๆ ก็จะเป็นกองทุน Metaverse เป็นกองทุน M-META ซึ่ง MFC เป็นเจ้าแรกเหมือนกันที่ออกกองทุนในธีมนี้มา แต่ว่าในการลงทุนเอง ก็ต้องแนะนำนะครับว่า ทุกๆ กองก็อาจจะมีความเสี่ยงของตัวมันเอง 

ถ้าเข้าไปในแอปฯ ของ MFC แล้วมีให้เลือกเต็มไปหมด คุณมีคำแนะนำอย่างไร สำหรับคนที่เข้าไป

(ยิ้ม) นี่คือสิ่งที่หลายคนเจอ คือเราอยากจะลงทุน สมมติเราเข้าใจกองทุนรวมแล้วเราอยากลงทุน เจอ 100 กว่ากองทำอย่างไรดี จริงๆ เราคิดว่าแอปพลิเคชันเราตอบโจทย์นั้น คือเราจะจัดพอร์ตที่เราแนะนำให้กับลูกค้า ลูกค้าสามารถเข้าไปในแอปพลิเคชันได้เลยว่าเป้าหมายในการลงทุนของเขาคืออะไรบ้าง แอปพลิเคชันของเราก็จะมีพอร์ตที่เราแนะนำ ให้ลูกค้าชี้เป้าหมายภายใต้ความเสี่ยงที่เขารับได้

สมมติว่าเราแนะนำในช่วงเวลานี้ เป็นพอร์ตที่ลงทุนในจีนสัก 5% ของพอร์ต แต่ถ้าเราชอบจีนมากหรือเราไม่ชอบจีน อยากจะปรับเปอร์เซ็นต์เพิ่ม ก็สามารถปรับได้ในแอปพลิเคชัน แอปพลิเคชันก็จะดีไซน์พอร์ตให้เราขึ้นมาใหม่ กดปุ่มเดียวก็จะทำให้เราสามารถซื้อกองทุนนั้นเข้ามาได้ หรือเราอาจจะเซฟไว้ก่อน ไปลองมอนิเตอร์เทียบกันว่าสิ่งที่เราลงทุนเองกับสิ่งที่ MFC แนะนำนั้นตรงกันหรือไม่

ถ้าเทียบกับธนาคารอื่น ทำไมถึงต้องเลือกลงกับ MFC 

เราอาจจะมองว่ามีแพลตฟอร์มที่เกิดขึ้นค่อนข้างเยอะ ที่ประมาณว่าเราลงทุนได้ทุกที่ มีทางเลือกที่ดี มีทางเลือกได้มากกว่า คือสิ่งที่ดีกว่า ผมคิดว่ามีทางเลือกได้มากกว่าก็อาจจะเป็นสิ่งที่ดี 

แต่จริงๆ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือแล้วเราตัดสินใจลงทุนในตัวไหน แล้วเราจัดพอร์ตเราอย่างไร ตรงนั้นคือจุดที่เป็นไฮไลต์มากกว่า สิ่งที่ MFC พยายามที่จะทำและทุ่มเทเป็นอย่างแรก คือเราเข้าไปให้ความรู้กับเซลส์ของเราทุกคน นักวิเคราะห์ของเราจะพยายามอัปเดทในแอปพลิเคชันของเรา พยายามให้มูลกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าเราหรือไม่ ก็สามารถเข้ามาดูได้ทั้งหมด

จากนั้น พอเข้ามาเปิดบัญชีกับเราแล้ว เรามีพอร์ตแนะนำ และพอร์ตแนะนำนั้น ลูกค้าก็สามารถมอนิเตอร์ได้ตลอดเวลา และสามารถวัดสัดส่วนได้ว่า ถ้าวันนี้หุ้นตกขึ้นมาหรือเรามีเงินใหม่เข้ามา เราควรจะรักษาสัดส่วนการลงทุนอย่างไร ผมคิดว่าจุดนี้เป็นจุดที่เราค่อนข้างโฟกัส และทำให้เราแตกต่างจากที่อื่น คือเราไม่ได้โฟกัสแค่ให้ลูกค้ามีทางเลือก แต่เราอยากพาลูกค้าไปถึงเป้าหมายของเขาให้ได้ 

หลายคนบอกว่าโลกวันนี้เป็นโลกของการลงทุนที่ผันผวน ตามทิศทางยาก ในฐานะคนในแวดวงการเงิน มองจุดนี้อย่างไร

สำหรับผม ความผันผวนเป็นทั้งความเสี่ยงและเป็นทั้งโอกาสในเวลาเดียวกัน นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ผมคิดว่า การที่ฝากเงินไว้กับมืออาชีพในการลงทุนผ่านกองทุนรวมน่าจะตอบโจทย์ได้มากกว่า

ถ้าผมยกตัวอย่าง สมมติ ผมชอบคริปโตเคอร์เรนซี ตรงนี้เราซื้อไป เพื่อนเราบอกว่าซื้อตัวนี้แล้วได้ 100% เราซื้อไป โดยที่เราไม่ได้ศึกษาอะไร แล้วเราไม่ได้อัปเดตมัน ผ่านไปอีก 1-2 เดือน สมมติเราเจอความผันผวนติดลบ แต่เราไม่ได้เข้าใจว่าบวกหรือลบเป็นเพราะอะไร หรือหุ้นก็เหมือนกัน การที่ติดลบ โดยที่เราไม่สามารถลงทุนได้ถูกต้อง การให้มืออาชีพคอยดูแล น่าจะผ่านตรงนั้นไปได้ ทุกการลงทุนและทุกวิกฤต ย่อมมีโอกาสเสมอ เพราะฉะนั้น ถ้าเราลงทุนอย่างต่อเนื่อง เราก็ยังอยู่ในมาร์เกตในการลงทุน และเราเองก็ตอบโจทย์ในทุกการลงทุน

แต่ถ้าเรามองในเรื่องของความผันผวนแล้วเราจบทุกอย่างด้วยการถือเงินสด อย่างเมื่อต้นปี ทุกคนบอกว่าควรถือเงินสด แต่ ณ วันนี้ ก็มีหลายตลาด อย่างเช่น สหรัฐอเมริกาหรือญี่ปุ่น ที่บวกขึ้นมาค่อนข้างเยอะ เราเลือกสะสมเงินสดก็อาจจะพลาดโอกาสตรงนั้นได้ แต่ถ้าเกิดเรามองดูแล้ว เราลองอ่านหรือศึกษาดู หรือให้ผู้จัดการลงทุนช่วยดูแล เราอาจช่วยได้ว่าช่วงนี้ควรลงในตลาดไหน

มักจะมีคนบอกว่าถ้า 20 ปีก่อน ซื้อ LTF ซื้อกองทุน อย่างไรก็ขึ้น อย่างไรก็เป็นบวก แต่ตอนนี้ถ้าซื้อในวันนี้ ไม่แน่ใจว่าในอนาคตจะเป็นอย่างไร คุณมองอย่างนั้นไหม

ถ้าย้อนเวลากลับไป 20 ปีที่แล้ว ผมก็อาจจะมีคำถามนั้นเหมือนกัน ว่าเราก็ไม่แน่ใจว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรบ้าง แต่ผมคิดว่าเบื้องต้น คือเราลงทุนในบริษัทที่มีการเติบโต มีปันผลที่โตขึ้น อย่างไรมูลค่าของเขาก็สูงขึ้น ถ้าเราเลือกลงทุนในสิ่งที่เรามองว่ามันมีการเติบโตได้ ไม่มีเหตุผลที่มูลค่าของบริษัทเหล่านั้นจะไม่เติบโต 

ทีนี้พูดถึงเรื่องการออม อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญคือคนไทยออมไม่ค่อยเยอะ ค่อนข้างน้อย แล้วก็มีปัญหาในยามที่เกษียณ MFC จะมีส่วนช่วยอย่างไรได้บ้าง

เรื่องของการให้ความรู้ในการลงทุน ในกองทุนรวมนั้น ถือเป็น Option หนึ่งที่เขาจะลงทุนได้ นั่นคือสิ่งที่ค่อนข้างสำคัญ คืออาจจะต้องแยกประเด็นก่อน บางส่วนที่อาจจะมีภาระหนี้ที่อาจจะต้องจัดการ ตรงนั้นผมคิดว่าก็อาจจะต้องจัดการเรื่องของภาระหนี้ก่อน เพราะตัวนั้นอาจจะมีค่าใช้จ่าย มีภาระดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูง

แต่สำหรับผู้ที่มี Value อยู่แล้วที่ปัจจุบันอาจจะฝากแค่ธนาคาร ผมคิดว่าถ้าเรามองเรื่องของตัวเงินเฟ้อดีๆ เราจะเห็นว่าการใช้ชีวิตของเราทุกอย่างเริ่มแพงขึ้นเรื่อยๆ ในปีที่ผ่านมา หรือ 10-20 ปีที่ผ่านมา ก็จะเห็นว่าเราต้องมีการใช้จ่ายที่โตขึ้นมากกว่าเงินที่เราฝากที่ธนาคาร ถ้าเราแบ่งส่วนหนึ่งมาเริ่มลงทุน แล้วเราลองดูว่าเราลงทุนไป 3 ปี 5 ปี มันเป็นอย่างไรบ้าง พอเรามีความมั่นใจ เราก็อาจจะเริ่มลงทุนได้มากขึ้น

เรื่องสำคัญคือต้องให้ความรู้ว่า การลงทุนคือสิ่งที่ดี เท่ากับเขามีเครื่องมืออีกเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยทำงานในยามเกษียณได้

มีคนรุ่นใหม่จำนวนมากอยากเกษียณเร็ว อยากทำงานแค่ 45 พอ 50 พอ อันนี้จะมีส่วนช่วยได้ไหมครับ

ถ้าอยากเกษียณเร็ว ก็ต้องเริ่มลงทุนเร็ว การที่เราลงทุนเร็วแล้วเงินเราสามารถโตไปตรงนั้นได้ คือเราจะมีเงินมากขึ้นทันทีในวันที่เราอยากจะเกษียณ ผมคิดว่าหนึ่งเลยคือขึ้นอยู่กับวินัยของเราด้วย 

ถ้าอยากเกษียณเร็ว ก็ต้องเริ่มมาแบ่งบางส่วนของรายได้ของเรามาเริ่มลงทุน ถ้าเราใช้จ่ายหมดทันทีเลย ก็แปลว่ายังไม่มีเงินเก็บ ยังไม่ได้ลงทุนตรงนั้น ก็อาจจะมีปัญหาในการเกษียณได้ แล้วผมคิดว่าสิ่งที่คนรุ่นใหม่ต้องดูเพิ่มเติม คือจะมีความเสี่ยงไหนในอนาคตอีก อย่างน้อยๆ คือเรามีชีวิตยาวมากขึ้น มีอายุยืนมากขึ้น ฉะนั้น เราก็ต้องเผื่อเงินไว้ในวันที่อาจจะไม่ได้มีร่างกายที่พร้อมจะสามารถหาเงินได้ ตรงนี้ก็ต้องคิดว่าจะมีเงินพอไหม ณ วันนั้น

อีกสิ่งหนึ่งที่เราต้องมองในอนาคตเลย ก็คือเรื่องของเงินเฟ้อด้วยเช่นเดียวกัน ว่าวันนั้น การเช่าบ้าน กินข้าว ใช้ชีวิตประจำวัน ต้องเผื่อเงินเก็บไว้เท่าไรต่อเดือน ก็สามารถคำนวณดูได้ ซึ่งในแอปพลิเคชัน MFC Wealth ก็สามารถเล่นในส่วนนี้ได้ 

ในฐานะคนที่จับตามองภูมิภาคนี้ ประเทศไทยมีจุดเด่นอะไรบ้าง

ผมมองว่าประเทศไทยยังมีโอกาสในการเติบโตได้ค่อนข้างสูง แต่ว่าอาจจะต้องพึ่งพาไปด้านการเมืองว่า เราสามารถดำเนินการดำเนินโยบายเหล่านั้นได้มากน้อยเพียงใด 

ศักยภาพของเรา นอกจาก Resource ที่เรามี บุคลากรที่เรามี ความรู้ความเชี่ยวชาญที่เรามี เราไปได้ไกลกว่านี้อีกเยอะครับ แต่ที่ผ่านมา เรายังขาดความต่อเนื่อง ขาดเรื่องของภาครัฐที่จะสนับสนุนอย่างเต็มที่

มักจะมีคนบอกว่า เดี๋ยวเวียดนามแซงไทยแล้ว เดี๋ยวประเทศนู้นประเทศนี้แซงแล้ว คุณมองอย่างไร

การเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ก็ดีนะ ก็ทำให้เราต้อง Alert ตลอดเวลา แต่จริงๆ ตัวเราเอง เราก็สามารถทำอะไรได้อีกเยอะ ที่ประเทศเวียดนามก็มองหา มองว่าประเทศไทยก็มีดีในแต่ละด้านเหมือนกัน เช่น การท่องเที่ยว ผมคิดว่าเราเพิ่มเติมอะไรกับการท่องเที่ยวได้อีกเยอะเลย เราเพิ่มจำนวนจำนวนชาวต่างชาติที่นำเงินเข้ามาได้อีกมหาศาล 

ใช่ การเปรียบเทียบ อาจทำให้เราเห็นว่าพาร์ตไหนยังด้อยกว่าประเทศไหนหรือเปล่าเพื่อนำไปปรับปรุง แต่สุดท้าย ก็ไม่ได้อยากมองเป็น Negative ว่าทุกอย่างเราแพ้เขาไปหมด มันยังมีจุดที่เติบโตได้อีกมาก

คุณห่วงเรื่องกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) ของประเทศไทยมากขนาดไหน

หลักๆ ที่มอง ผมเป็นห่วงเรื่องหนี้มากกว่า เพราะส่งผลต่อการบริโภคภายใน แต่ถ้าเราสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจเราให้ดีขึ้นได้กว่านี้ ว่ามันจะส่งผลต่อการบริโภคภายใน คือผมคิดว่าสิ่งที่ถ้าเรากระตุ้นได้แล้วทำให้เศรษฐกิจเราดีขึ้นได้มากกว่านี้อีก ประชากรเราเองก็มีกำลังการบริโภคที่สูงขึ้นได้ ถ้าเราสามารถตอบโจทย์พวกนี้ และควบคุมเงินเฟ้อได้ และเงินเฟ้อไม่สูงจนเกินไป ผมคิดว่าศักยภาพในการเติบโตเรามีไม่จำกัด 

เพราะวันนี้ เราสามารถรอเงินผ่านการท่องเที่ยวได้ ในวันหน้าที่รัฐบาลมีความมั่นคง เรื่อง FDI (Foreign Direct Investment) ก็จะมีความเติบโตได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน

Fact Box

  • เดิม MFC มีชื่อเป็นภาษาไทยว่าเป็น บริษัท กองทุนรวม จำกัด แต่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น MFC ภายหลัง โดยย่อมาจาก Mutual Fund Company
  • การลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging (DCA) เป็นการลงทุนอย่างสม่ำเสมอแบบถัวเฉลี่ยต้นทุนด้วยจำนวนเงินเท่ากัน และไม่ต้องกังวลว่าจะเข้าซื้อในช่วงใด
Tags: , ,