“แนวคิด Life on LINE ของเรา คือการเข้าไปอยู่ในชีวิตของทุกคน ไม่ได้หมายความว่าเราจะเข้าไปยุ่งกับชีวิตเขา แต่เราจะคอยซัพพอร์ตในยามที่เขาต้องการเรา เขารู้ว่าสามารถใช้บริการแพลตฟอร์มเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน อาจจะตื่นเช้ามาอ่านข่าว ดูสภาพการจราจร ผ่าน LINE TODAY หรือดูละครย้อนหลังบน LINE TV คุยแชตกับเพื่อน ฟังเพลงระหว่างอยู่บนรถไฟฟ้า เมื่อหิวก็สั่ง LINE MAN จะสั่งเมื่อไรก็ได้ตลอดเวลา เรามีร้านค้ามากกว่า 50,000 ร้านค้าให้คุณเลือกสรร ชีวิตกลายเป็นแบบนี้ไปแล้ว”
จากบทสัมภาษณ์เรื่อง คุยกับทีมผู้บริหาร LINE ไฟแรง กับเป้าหมายเพื่อให้ LINE ตอบโจทย์ชีวิตคนไทย 24 ชม. ของ ดร.พิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท LINE ประเทศไทย จำกัด
อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ https://themomentum.co/chanin-maneedam-interview/
“สร้างโครงสร้างพื้นฐานในธุรกิจเพลงในเชิงของดิจิทัลทั้งหมด เรื่องบิ๊กดาต้า การสื่อสารการตลาด อีโคซิสเต็มที่ทุกคนมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน อย่างไรคนก็ต้องฟังเพลง ศิลปินเรายังอยู่ในใจคน คือเพลงเป็นธุรกิจที่มหัศจรรย์ เป็นของที่ไม่มีอายุขัย สิ่งที่เราทำคือทำโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้สิ่งเหล่านี้อยู่ได้ตลอดกาล”
จากบทสัมภาษณ์เรื่อง ถอดวิธีคิดของ ภาวิต จิตรกร ซีอีโอแกรมมี่ ผู้ทำให้ธุรกิจเพลงกลับมาสดใสอีกครั้ง ของ ภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค
อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่
https://themomentum.co/phawit-chitrakorn-grammy/
“การที่เรามาดูแลคน 6,000 คนในตอนนั้น ไม่ใช่แค่ 6,000 แต่คือ 6,000 คูณ 3 รวมครอบครัวเขาด้วย พนักงานที่นี่ไม่ใช่เศรษฐี ก็เป็นแม่บ้าน รปภ. ขับรถขนเงิน ฯลฯ คนคนหนึ่งต้องดูแลคนที่บ้านอย่างน้อยอีกสองคน อาจเป็นสามี ภรรยา หรือลูก เราก็อยากทำให้ชีวิตเขาดีขึ้นได้ ด้วยสวัสดิการของบริษัทหรือทำงานแล้วมีความสุข เพราะทุกคนไม่ว่าจะตำแหน่งไหนก็มีความเป็นคนเหมือนกัน สุดท้ายทุกคนก็เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นลูก”
จากบทสัมภาษณ์เรื่อง อรจรรยา จันทวรสุทธิ์ เอ็มดีแห่งธุรกิจขนส่งเงินสด ผู้บริหารจัดการคนผ่านมุมมองของสถาปนิก ของ อรจรรยา จันทวรสุทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รักษาความปลอดภัย กรุงไทยธุรกิจบริการ จำกัด
อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ https://themomentum.co/orajanya-chanthaworrasut-ktbgs-interview/
“ทุกเช้าผมก็นั่ง GET ตลอดเวลา ทีมงานก็สั่งอาหารตลอดเวลา เราใช้ของตัวเองทุกวัน เรามีความเข้าใจมากขึ้นว่าคนขับต้องการทำอะไร แล้วเราจะทำอย่างไรให้มันดีขึ้น ทำให้ผู้บริโภคจะเจอคนขับที่น่ารัก คนขับที่พร้อมจะทำงาน เรียกรถก็ได้เร็ว สั่งอาหารก็ได้อาหารเร็วและมีคุณภาพ”
จากบทสัมภาษณ์เรื่อง ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์: GET มวยรองที่สู้ด้วยหัวใจแบบแชมเปี้ยน ของ ภิญญา นิตยาเกษตรวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Get
อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ https://themomentum.co/interview-pinya-nittayakasetwat-get/
“โลกเทคโนโลยีแข่งขันกันด้วยคนเก่งๆ เนื่องจากเราจะทำให้เคแบงก์เป็น Cognitive Banking คือแบงก์ที่รู้ใจลูกค้า แต่อันดับแรกเราต้องรู้จักลูกค้าก่อน เรียกว่า Perceptive Banking ไม่ใช่แค่รู้ว่าเขามีบัญชีอะไร แต่เห็น Customer Journey เพื่อให้ทุกคนในเคแบงก์เห็นภาพลูกค้าเป็นภาพเดียวกัน ถัดมาเป็น Prescriptive Banking มันคือการที่เราสามารถให้คำแนะนำเขาได้ และสุดท้ายมันถึงเป็น Cognitive Banking ยิ่งกว่ารู้ใจเขาอีก”
จากบทสัมภาษณ์เรื่อง กระทิง-เรืองโรจน์ พูนผล เปลี่ยน KBTG ให้เป็นก็อดซิลลา วิ่งเร็ว ดีที่สุด และเป็นผู้ชนะ ของ กระทิง-เรืองโรจน์ พูนผล ประธาน KASIKORN Business-Technology Group (KBTG)
อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ https://themomentum.co/krating-poonpol-kbtg-interview/
“แกร็บตอบโจทย์ทั้ง Traffic Management, Low-Income Trap และ Tourism ซึ่งเราให้ความปลอดภัยเป็นอันดับหนึ่ง แล้วไม่ใช่ว่าวินมอเตอร์ไซค์และแท็กซี่จะหายไป ผมก็ยังยืนยันเหมือนเดิมว่าวินมอเตอร์ไซค์และแท็กซี่ยังอยู่ในสังคมไทยเหมือนเดิม แต่พวกคุณมาจอยน์ในระบบได้ด้วยเวลาว่าง มาสร้างรายได้เพิ่มขึ้น”
จากบทสัมภาษณ์เรื่อง ธรินทร์ ธนียวัน ความหวังปลดล็อกข้อกฎหมาย นำแกร็บไทยสู่เบอร์หนึ่งอาเซียน ของ ธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย
อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ https://themomentum.co/interview-tarin-thaniyavarn-grab-thailand/
“ในยุค 5G เราไม่สามารถทำงานคนเดียวได้แล้ว ไม่มีแบบคิดโปรโมชั่นแล้วขายให้ผู้บริโภคอย่างเดียว แต่มันต้องมีพาร์ตเนอร์ เกิดเป็นอีโคซิสเต็ม ซึ่งก็จะมีพาร์ตเนอร์หลายระดับ และทำงานร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนอย่างมาก ที่เราทำเอง ลงเสาสัญญาณเครือข่ายแล้วก็ไปขายของ”
จากบทสัมภาษณ์เรื่อง สุภกิจ วรรธนะดิษฐ์ 5G จะเปลี่ยนแปลงสังคม และทรูคือผู้นำในการเปลี่ยนแปลงนั้น ของ สุภกิจ วรรธนะดิษฐ์ หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มด้
อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ https://themomentum.co/true-move-h-5g-interview-advertorial/
”การมีวัฒนธรรมที่เรียกว่า Outward Mindset คือการมองเห็นคนเป็นคน ไม่ใช่วัตถุ เพราะเวลาเราทำอะไรไปให้คน มันจะมีความหมาย ไม่ใช่แค่ทำๆ แล้วจบไป จะมีเรื่องของ emotional เรื่องของคุณค่าที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ปนอยู่ด้วย พอมีเรื่องนี้เป็นทั้งแนวทางในการทำธุรกิจและปลูกฝังอยู่ในวัฒนธรรมองค์กร เราจะเห็นแต่คนเต็มไปหมด ทั้งคู่ค้าของเรา ทั้งพนักงานขาย ทั้งซัพพลายเออร์ของเรา
จากบทสัมภาษณ์เรื่อง ส่องแนวคิด ‘เชลล์’ บริษัทพลังงานที่เข้าใจลูกค้าผสานจุดแข็งด้านดิจิทัล ‘เติมสุขให้ทุกชีวิต’ ของ วีธรา ตระกูลบุญ กรรมการบริหารธุรกิจน้ำมันหล่อลื่น บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด
อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ https://themomentum.co/shell-thailand-interview-advertorial/
“นี่เป็นโลกของ outside-in แล้ว ไม่ใช่เป็นโลกของ inside-out แม้โลกมันเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม หลักการคิดเรื่องประกันชีวิตหนีไม่พ้นหรอก คืออย่างไรก็ต้องขาย เพียงแต่ว่าจากการขาย ควรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า ‘ให้คำแนะนำ’ หรือ ‘คำปรึกษา’ มากกว่าไหม เพราะว่าถ้าเรารู้จักตัวตน ความต้องการของเขา เรามีดาต้าแล้ว เราก็รับฟัง พูดคุยและให้คำแนะนำ หมดยุคที่จะเอาประกันชีวิตแบบหนึ่งวางไว้ตรงหน้าแล้วบอกว่าผมจะขายตัวนี้”
จากบทสัมภาษณ์เรื่อง สาระ ล่ำซำ | ถึงเวลาปรับภาพลักษณ์ใหม่ให้สดใสขึ้น เพราะนี่คือโลก outside-in ไม่ใช่ inside-out ของ สาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ https://themomentum.co/muang-thai-life-sara-lamsam-interview-advertorial/
“มีคนถามผมเสมอว่า ธุรกิจขายตรงจะตายไหม ในเมื่อเรื่องของเทรนด์พอเกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงขึ้น มันคือการขายตรงจากจุดหนึ่งไปถึงผู้บริโภคเลย จะไม่มีการผ่านตัวกลางแล้ว สำหรับแอมเวย์ ซึ่งเป็นธุรกิจขายตรงโดยผ่านนักธุรกิจจะรอดไหมในโลกอนาคต ผมกลับมองว่า ยิ่งเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นมากขึ้นเท่าไร ถึงจุดจุดหนึ่งมันจะกลับมาสู่เบสิก และธุรกิจขายตรงจะกลับมาแข็งแรงมาก”
จากบทสัมภาษณ์เรื่อง: กิจธวัช ฤทธีราวี “เพราะ Technology แทนที่เรื่อง Human Touch ไม่ได้ ธุรกิจขายตรงจึงยังก้าวต่อไปในโลกอนาคต” ของ กิจธวัช ฤทธีราวี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด
อ่านบทสัมภาษณ์เต็มได้ที่ https://themomentum.co/interview-ceo-amway-2019-advertorial/
Tags: 2019