THE MOMENTUM
THE MOMENTUM
  • Report
  • Life
  • Lifestyle
  • Culture
  • People
  • Thought
  • Series
  • Video
serach
search

Book

Read Around
  • Book

    The Dictator’s Learning Curve ทำไมเผด็จการจึงกลัวอินเทอร์เน็ตและโลกออนไลน์

    “คุณคิดว่าทำไมประชาชนในตูนิเซีย อียิปต์ และลิเบียถึงลุกฮือขึ้นปฏิวัติโค่นล้มรัฐบาลของพวกเขาในเหตุการณ์อาหรับสปริง” วิลเลียม ด็อบสัน นักข่าวผู้คร่ำหวอด อดีตบรรณาธิการวารสารทรงอิทธิพลอย่าง Foreign Affairs และ Newsweek ถามเจ้าหน้าที่ระดับสูงคนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในการสัมภาษณ์
    โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ
  • Book

    “คนที่จะอยู่ในวงการหนังสือได้ ต้องมี passion และแนวทางชัดเจน” อรรถ บุนนาค ผู้ร่วมก่อตั้ง JLIT สำนักพิมพ์วรรณกรรมญี่ปุ่นชั้นดี

    นอกจาก ฮารูกิ มูราคามิ ก็เป็นเรื่องยากพอสมควรที่จะนึกถึงชื่อนักเขียนญี่ปุ่น เพราะที่ผ่านมาเราไม่ค่อยได้สัมผัสวรรณกรรมญี่ปุ่นมากเท่าไหร่นัก อาจด้วยตลาดที่เล็กจนแทบไม่มีใครกล้าทำ แต่การเกิดขึ้นของสำนักพิมพ์ JLIT ก็ได้มาเปลี่ยนบรรยากาศเก่าๆ ด้วยการยืนยันความชัดเจนด้วยการจัดพิมพ์เฉพาะวรรณกรรมคลาสสิกญี่ปุ่น ซึ่งเราจะพาไปพูดคุยกับ อรรถ บุนนาค หนึ่งในผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์ ที่ไล่ตาม passion บนความเป็นไปได้แห่งนี้
    โดย a day BULLETIN
  • Book

    สุดยอดหนังสือแห่งปี 2016 คัดสรรโดย 10 ร้านหนังสือสแตนด์อโลน

    ใกล้สิ้นปีแล้ว The Momentum รวบรวมรายชื่อหนังสือแห่งปี 2016 (ทั้ง fiction และ non-fiction อย่างละ 1 เล่ม) คัดสรรโดย 10 ร้านหนังสืออิสระทั้งน้องใหม่เพิ่งเปิดกิจการและเจ้าเก๋าที่ยืนหยัดมานาน ด้วยเชื่อว่าแต่ละร้านย่อมมีเกณฑ์และรสนิยมเฉพาะตัว รวมถึงเรื่องเล่าที่มีต่อหนังสือแต่ละเล่มแตกต่างกันไป เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับใครที่กำลังหาหนังสือสักเล่มเป็นของขวัญปีใหม่นี้
    โดย ธนาคาร จันทิมา
  • Book

    The Politics of Resentment: การเมืองของความโกรธ

    “นี่คือหนังสือเกี่ยวกับการเมืองอเมริกันที่ฉลาด รุ่มรวยข้อมูล และมีความเป็นมนุษย์มากที่สุดเล่มหนึ่งในรอบหลายปี”ว่าไปแล้ว โดยปกติ หนังสือวิชาการเกี่ยวกับการเมืองมักจะน่าเบื่อ แต่หนังสือเล่มนี้ตรงกันข้าม มันเต็มไปด้วยชีวิตชีวาและอารมณ์ความรู้สึก...
    โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ
  • Book

    อ่านปรากฏการณ์ a day เล่ม ‘ในหลวง’ หมดแผงกับทรงกลด บางยี่ขัน

    นับเป็นปรากฏการณ์ความนิยมที่พุ่งทะยานเหนือความคาดหมาย เมื่อนิตยสาร a day ฉบับที่ 195 ประกาศทำเล่มพิเศษ โดยเนื้อหาบอกเล่าเรื่องราวการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านเป็นหลัก...
    โดย ปณชัย อารีเพิ่มพร
  • Book

    ขนลุก! 3 เรื่องลี้ลับในแบบเรียน มานะ มานีฯ ที่คุณอาจไม่เคยรู้

    หลายคนอาจคิดว่าเรื่องราวจากแบบเรียน มานะ มานี ปิติ ชูใจ หนังสือเรียนภาษาไทยระดับชั้นประถมระหว่าง พ.ศ. 2521-2537 ที่เขียนโดยอาจารย์รัชนี ศรีไพรวรรณ เป็นเรื่องธรรมดาสามัญทั่วไป เช่น เรื่องชีวิตเด็กวัยประถม และวิถีชีวิตชาวบ้านในชนบท...
    โดย รัชนี ศรีไพรวรรณ
  • Book

    จิบชา แล้วเดินทางสู่อนาคตใน Future: ปัญญาอนาคต

    แม้จะมีความรู้มากมายที่สอนเคล็ดลับของการใช้ชีวิตให้มีความสุขคือ การอยู่กับปัจจุบัน ไม่โหยหาถึงความสำเร็จในอดีต หรือยึดติดอยู่กับความทรงจำอันเลวร้าย และไม่คาดหวังถึงอนาคตที่ยังมองมาไม่ถึง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในความคิดของคนเรามักจะอยากรู้อยากเห็นเหตุการณ์ล่วงหน้าที่ยังมาไม่ถึงเสมอ...
    โดย สราญรัตน์ ไว้เกียรติ
  • Book

    สรุปปรากฏการณ์ หนังสือในหลวง #จินยองอ่าน และความเงียบอันรื่นรมย์ ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 21

    ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 21 ที่จัดขึ้นท่ามกลางบรรยากาศความโศกเศร้า ซึ่งไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน แต่ถึงอย่างนั้นภายในงานครั้งนี้ก็มีปรากฏการณ์ใหม่ๆ ในแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์เกิดขึ้นอย่างมากมาย โดยเฉพาะหนังสือในหมวดพระราชนิพนธ์ พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเป็นที่ต้องการของประชาชนจำนวนมาก...
    โดย เอกพล บรรลือ
  • Book

    รวมสื่อสิ่งพิมพ์ฉบับในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อน้อมถวายความอาลัยและเก็บรักษาไว้เป็นความทรงจำ

    ดูเหมือนว่าช่วงเวลานี้สื่อสิ่งพิมพ์จะกลับมาได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เมื่อประชาชนจำนวนมากต่างตามหาหนังสือพิมพ์ นิตยสาร รวมถึงหนังสือเล่มที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อเก็บสะสมเป็นที่ระลึก...
    โดย เอกพล บรรลือ
  • Book

    MAD ABOUT: ‘บ้า’ และ ‘ดี’

    นิตยสารที่เกิดขึ้นจากบทสนทนาในวันที่รถติดของ โตมร ศุขปรีชา และนิ้วกลม จนกลายมาเป็นโปรเจกต์สุดบ้า ด้วยการตัดสินใจทำนิตยสาร โดยหาวิธีการระดมทุนจากผู้มีจิตศรัทธา ส่วนเงินที่ขาด เจ้าตัวบอกว่า ยินดีเจ็บตัวด้วยการเฉือนเนื้อตัวเอง (บ้าไหมล่ะ?)...
    โดย วชิรวิชญ์ กิติชาติพรพัฒน์
  • Book

    ประเทศไทยเมืองแม่มด? ล่าทำไม ใครคือผู้ถูกล่า และทางออกคืออะไร

    แม้ประวัติศาสตร์โลกจะบันทึกไว้ว่า ‘การล่าแม่มด’ หมดไปแล้วตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 18 แต่ถ้าใครเลื่อนฟีดในโซเชียลมีเดียดูตอนนี้อาจพบว่า การล่าแม่มดไม่เคยยุติลงจริงๆ โดยเฉพาะในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นช่วงที่มีความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง หรือแม้แต่ช่วงเวลาแห่งการไว้อาลัยในขณะนี้ นอกจากการใช้ความรุนแรงผ่านถ้อยคำในโซเชียลมีเดีย การแชร์ภาพ หรือคลิปประจานพฤติกรรมที่เห็นว่าไม่เหมาะสม ที่มักจะตามมาด้วยเสียงสนับสนุนที่สะท้อนถึงความสะใจแล้ว การล่าแม่มดในวันนี้ยังมาพร้อมกับการใช้ความรุนแรงแบบเผชิญหน้าในหลากหลายพื้นที่ทั่วประเทศ และดูเหมือนว่าจะยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องลุกลามไปเรื่อยๆ โดยแทบมองไม่เห็นจุดสิ้นสุด ท่ามกลางความแตกต่างในการแสดงความคิดเห็นที่แบ่งผู้คนออกเป็น 2 ขั้ว ที่ขั้วหนึ่งต่อต้านการล่าแม่มด และการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ ขณะที่อีกขั้วกลับมองว่าสิ่งที่เห็นอยู่ไม่ใช่การล่าแม่มด แต่เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งของคนที่มีความจงรักภักดี The Momentum ขอเบรกกระแสความคิดเห็นด้วยการพูดคุยกับ อนุสรณ์ ติปยานนท์ ผู้เขียนหนังสือ ล่าแม่มด ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน เพื่อค้นหาคำตอบว่าอะไรคือที่มาของการล่าแม่มด ทำไมการล่าแม่มดจึงกลายเป็นกระแสร้อนแรงในปัจจุบัน และเราจะยุติการล่าแม่มดได้อย่างไรในสังคมที่มีความคิดเห็นแตกต่าง “ผมอ่านเจอข้อความหนึ่งแล้วชอบมากคือ ‘เสื้อสีดำของฉันดำกว่าเสื้อสีดำของเธอ’ คือมันเกิดจากความรู้สึกที่พยายามจะขจัดคนอื่นๆ โดยใช้กรอบความเชื่อของความจงรักภักดี เพื่อไปชี้หน้าคนโน้นคนนี้ว่าเขาไม่ใช่คนจงรักภักดีเหมือนกับเรา วิวัฒนาการ ‘ล่าแม่มด’ จากศตวรรษที่ 14 ในยุโรป สู่สถานการณ์ปัจจุบันในไทย จากการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อนำมาเขียนเป็นหนังสือ อนุสรณ์เริ่มต้นปูพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ล่าแม่มดว่า แท้จริงแล้วการล่าแม่มดในยุโรปมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 14 และดำเนินต่อเนื่องมาเรื่อยๆ จนถึงศตวรรษที่ 18 กินระยะเวลานับหลายร้อยปี จนกระทั่งระบบความคิดของผู้คนในยุคสมัยนั้นเริ่มเปลี่ยนแปลงไป และศาสนจักรเองก็ออกมายุติไม่ให้มีการล่าแม่มดในนามศาสนาคริสต์อีกต่อไป “แต่เดิมการล่าแม่มดเป็นเรื่องการกำจัดคนที่ต่อต้าน มีบทบาท หรือความคิด ซึ่งแตกต่างจากในพระคัมภีร์ […]
    โดย เอกพล บรรลือ
  • Book

    13 หนังสือดี มีแปลไทย ของนักเขียนรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม

    เป็นที่ทราบกันว่า ‘โนเบล’ คือรางวัลประจำปีที่แจกสำหรับผู้ที่สร้างคุณูปการต่อสังคมใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเคมี, ด้านวรรณกรรม, ด้านสันติภาพ, ด้านฟิสิกส์ และด้านการแพทย์ โดยจัดขึ้นมาเป็นประจำทุกปีนับตั้งแต่ปี 1901 (116 ปี) ซึ่งตลอดระยะเวลา 116 ปีที่ผ่านมา มีนักเขียนเป็นจำนวนไม่น้อยที่ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาวรรณกรรม...
    โดย ปณชัย อารีเพิ่มพร
  • ‹ Prev
  • 1
  • …
  • 23
  • 24
  • 25
  • 26
  • Next ›

Stay curious, be open

  • Report
  • Life
  • Lifestyle
  • People
  • Culture
  • Thought
  • Video
  • Podcast
  • About us
  • Contact us

FOLLOW US

THE MOMENTUM

day poets Co.,Ltd.

33 ซอยศูนย์วิจัย 4 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
Share
Tweet
LINE LINE
Email

Subscribe to our mailing list

* indicates required