‘การศึกษา ศาสนา ข่าวสาร การเมือง และวัฒนธรรม’
ทั้งหมดนี้คือคำจำกัดความของ #หมอลำอีสาน ที่หลายคนรู้จักในฐานะสื่อบันเทิง ด้วยจังหวะแบบ ‘โจ๊ะๆ’ ที่แสนเร้าใจ ประกอบกับลำกลอนที่คล้องจอง ไพเราะ เสนาะหู หลายคนจึงยกให้ดนตรีชนิดนี้เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมประจำภาคอีสาน
แต่หากลองสืบสาวถึงรากเหง้าดั้งเดิมของหมอลำอีสาน เราจะมองเห็นถึงวิวัฒนาการจากหลักสูตรการศึกษา แหล่งคำสอนศาสนา วิธีส่งต่อข่าวสาร ไปจนถึงการเป็นเครื่องมือทางการเมืองในยุคของความขัดแย้งระหว่างแนวคิดชาตินิยมและคอมมิวนิสต์ ที่ซ่อนอยู่ในดนตรีจากภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้นี้ ซึ่งเคยถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อ สมาทานแนวคิดบางอย่างให้ชาวอีสาน ณ ช่วงเวลาหนึ่ง
The Momentum ชวน ‘อาทิตย์ มูลสาร’ นักวิชาการด้านวัฒนธรรมอีสาน มาร่วมสะท้อนถึงปัจจัยและเหตุผลในการปรับตัวของหมอลำแต่ละยุคสมัย ตั้งแต่ยุคลำกลอน หมอลำซิ่ง มาจนถึงหมอลำฟิวชั่น ที่กลายเป็นวัฒนธรรมดนตรีที่สามารถเข้าถึงผู้คนทั่วโลกได้ในปัจจุบัน
*ขอขอบคุณ The Jim Thompson Art Center สำหรับสถานที่ในการถ่ายทำ
‘เสียงอีสาน’ คือซีรีส์ที่ The Momentum ภูมิใจนำเสนอ เพื่อทำความเข้าใจคนอีสานในหลากหลายมิติ ทั้งประวัติศาสตร์ เรื่องเล่า และบทสัมภาษณ์ รวมถึงชวนสำรวจสิ่งประกอบสร้างว่า ‘ความเป็นอีสาน’ หรือ ‘คนอีสาน’ คืออะไร และ ณ ปี 2021 ‘เสียงอีสาน’ ในความเป็นจริง ต่างจากมายาคติดั้งเดิมอย่างไรบ้าง
Tags: อาทิตย์ มูลสาร, อีสาน, หมอลำ, วัฒนธรรมอีสาน, เสียงอีสาน