จากเวทีดีเบตทั้งหลาย นโยบายที่เกี่ยวกับปากท้องและความเป็นอยู่ มักจะถูกหยิบยกมาถกกันเพื่อมองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่จะแก้ปัญหา ตลอดช่วงหาเสียงนี้ เราพบว่าเวทีดีเบตที่เกี่ยวกับ ‘ศิลปวัฒนธรรม’ นั้นมีอยู่เพียงสองครั้ง และทั้งสองครั้งจัดขึ้นโดยหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจำนวนพรรคการเมืองเข้าร่วมแสดงทัศนคติกันไม่น้อย ไม่ถือว่าแห้งเหี่ยวจนเกินไปนัก แต่คงบอกไม่ได้ว่าชุ่มชื่น

เพราะแม้การพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรมจะไม่ได้สร้างผลลัพธ์หรือผลกำไรอย่างเป็นรูปธรรมในเวลาอันสั้น แต่คงยากจะปฏิเสธว่าพลังอันเป็น soft power นี้ ไม่ได้เป็นเพียงสุนทรียะ แต่ยังเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว จนถึงการพัฒนาบุคลากรในประเทศ

เมื่อได้ฟังทัศนคติของแต่ละพรรคแล้ว พบว่าส่วนใหญ่เล็งเห็นความสำคัญ แต่ในเชิงนโยบายยังค่อนข้างลอยๆ และจับต้องยากสักหน่อย ส่วนใหญ่แล้วเป็นการแสดงความคิดเห็น ว่าต้องไม่มีการผูกขาดอำนาจในการตีความวัฒนธรรมจากศูนย์กลาง รวมถึงยกเลิกการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของคนทำงาน

ข้อมูลในส่วนนี้ ย่อยมาจากเวทีดีเบตสองครั้ง ได้แก่ 1) จากเวทีดีเบต ‘นโยบายศิลปวัฒนธรรม’ โดย 10 พรรคการเมือง เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ และ 2) เวที ‘อนาคตหนังไทยหลังการเลือกตั้ง’ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2562

 

พรรคสามัญชน : มองว่าการรวมอำนาจทางวัฒนธรรมเข้าศูนย์กลาง ทำให้มีการให้ความหมายเพียงแบบเดียว ทั้งยังมีการจำกัดเสรีภาพศิลปิน วัฒนธรรมในประเทศจึงมีเพดานต่ำ

พรรคมหาชน : พรรคเห็นว่าอำนาจนิยม วัตถุนิยม และชาตินิยม ส่งผลให้ศิลปวัฒนธรรม รวมถึงกีฬา ไม่ถูกให้ความสำคัญอย่างที่ควร มีการขับไล่กันบ่อยจนไม่มีการพัฒนาเรื่องอื่น ขณะเดียวกันก็ต้องการส่งเสริมการตลาดเชิงวัฒนธรรม ผ่อนปรนการควบคุมจากรัฐ เช่น กองเซนเซอร์

พรรคกลาง : มองว่านอกจากกระจายอำนาจ และยกเลิกการกดขี่จากรัฐแล้ว ประเทศยังต้องการระบบนิเวศที่ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมด้วย ยอมรับความเชื่อที่หลากหลาย

พรรครวมพลังประชาชาติไทย : มุ่งเน้นที่ความภูมิใจในความเป็นไทย ซึ่งต้องสร้างอัตลักษณ์ให้ชัดกว่านี้ โดยเฉพาะอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ไม่ใช่ถูกจำกัดอยู่แต่กับส่วนกลาง

พรรคชาติไทยพัฒนา : มองว่าทุกวัฒนธรรมมีความสวยงามหลากหลาย นโยบายของพรรคต้องการยืนพื้นที่ความเป็นไทยเพราะมันเริ่มเลือนหายไป พรรคยังแสดงความเป็นห่วงต่อหอศิลป์ด้วย

พรรคชาติพัฒนา : ต้องการสนับสนุนวัฒนธรรมรากเหง้าให้เติบโตไปพร้อมกับวัฒนธรรมใหม่ที่ผสมเข้ามาในบ้านเรา ไม่ว่าโลกจะพัฒนาไปแค่ไหน แต่ศิลปวัฒนธรรมจะต้องไม่ตาย

พรรคอนาคตใหม่ : ต้องการชูเรื่องศิลปวัฒนธรรมให้แข็งแรงในฐานะ soft power โดยพรรคมองว่าวัฒนธรรมต้องเลื่อนไหลเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ถูกแช่แข็งด้วยค่านิยมจากส่วนกลาง พรรคต้องการสนับสนุนพื้นที่ทางศิลปวัฒนธรรมในเชิงกายภาพ และต้องการแก้ไขกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพของคนทำงานด้วย

พรรคประชาธิปัตย์ : ต้องการทำให้การใช้จ่ายเพื่อศิลปวัฒนธรรมเป็นเรื่องถูกต้อง โดยรากเหง้าของปัญหาอยู่ที่ว่า คนไม่เห็นความสำคัญของศิลปวัฒนธรรม ซึ่งรัฐเองมีหน้าที่สนับสนุนจุดนี้ ดังนั้นในสภาจึงต้องการคนที่เห็นความสำคัญในด้านนี้จริงๆ เข้าไปบริหาร

พรรคพลังท้องถิ่นไท : มุ่งเน้นให้คนเห็นความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมเช่นกัน ไม่มองมันเป็นเรื่องไกลตัว การแก้ทัศนคติคนต้องมาก่อน เพราะถึงจะแก้กฎหมายไปแต่คนไม่สนใจ ปัญหาก็จะยังคงอยู่ พรรคได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น ต้องการให้แต่ละท้องถิ่นไทยสร้างสรรค์ได้อย่างทรงพลังเช่นกัน

พรรคผึ้งหลวง : พรรคให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมท้องถิ่นอีกเช่นกัน ทั้งยังมองว่าสามารถเชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจได้ด้วย หลักสำคัญที่จะใช้คือ ‘ก้องภพโมเดล’ (ดร.ก้องภพ วังสุนทร หัวหน้าพรรค)

ประชันนโยบายพรรคการเมือง EP 01: สุขภาพ

ประชันนโยบายพรรคการเมือง EP 02: คมนาคม

ประชันนโยบายพรรคการเมือง EP 04: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

อุตสาหกรรมภาพยนตร์

อาจเนื่องมาจากสปีชของอนุชา บุญวรรธณะ ที่กระตุ้นให้หลายคนหันมาเห็นสนใจนโยบายเกี่ยวกับหนัง ในการเสวนา มีตัวแทนจาก 8 พรรคการเมืองเข้าร่วม หลายพรรคมีนโยบายที่ค่อนข้างชัดเจน เห็นภาพ และมีหลายนโยบายที่แต่ละพรรคเห็นตรงกัน เช่น การพัฒนาหนังไทยไปสู่ตลาดโลก เพิ่มเงินทุนสนับสนุนในอุตสาหกรรม และลดการผูกขาด รวมถึงอีกหลายนโยบายที่น่าลุ้น หากมีแนวโน้มจะเป็นไปได้จริง

Tags: , , , ,