คดีทุจริตก่อสร้างสถานีตำรวจหรือโรงพักทดแทน 396 แห่งทั่วประเทศ คือแผลทางการเมืองของรัฐบาลสมัยที่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยคดีนี้มี สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. และแกนนำพรรครวมพลังประชาชาติไทย ซึ่งในขณะนั้นเป็นรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ถูกกล่าวหาคนสำคัญ เนื่องจากเป็นผู้อนุมัติโครงการนี้เมื่อเดือนมิถุนายน 2552 ด้วยวงเงินงบประมาณ ไทยเข้มแข็งจำนวน 5,848 ล้านบาท
เรื่องทุจริตโรงพักทดแทนของรัฐบาลประชาธิปัตย์แดงขึ้นในปี 2555 เมื่อ ชูวิทย์ กลมวิศิษฐ์ ส.ส.พรรครักประเทศไทยในขณะนั้น อภิปรายถึงความไม่ชอบมาพากลของโครงการนี้ต่อรัฐบาล ซึ่งขณะนั้นคือพรรคเพื่อไทย จนนำไปสู่ดำเนินการส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือ DSI รวบรวมพยานหลักฐาน และเสนอคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการสอบสวนในที่สุด
DSI ดำเนินคดีอภิสิทธิ์-สุเทพ ปรับเปลี่ยนสัญญาจัดจ้าง
โครงการก่อสร้างโรงพักทดแทนเริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนมีนาคม 2554 แต่เมื่อใกล้สิ้นสุดสัญญาในปี 2556 การก่อสร้างโรงพักกลับไม่คืบหน้า เมื่อผู้รับเหมาทยอยทิ้งงาน โรงพักหลายแห่งสร้างไม่เสร็จ มีแค่เสากับเถาวัลย์พันเลื้อย ขณะที่บ้างพื้นที่ว่างเปล่าไร้การก่อสร้างใดๆ ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ละพื้นที่หาที่ทำงานชั่วคราวด้วยการยืมสถานที่ของหน่วยงานอื่น หรือยืมพื้นที่วัด กระทั่งเช่าสถานที่ทำงาน ฯลฯ
การที่ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้เสร็จได้ตามสัญญา ทำให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการอย่างร้ายแรง และขุดต่อมให้คนสงสัยถึงที่มาที่ไปของการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างโครงการโรงพักทดแทน 396 แห่ง ที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบสัญญาจัดจ้าง จากเดิมที่ให้จัดจ้างเป็นรายภาค เปลี่ยนเป็นจัดจ้างรวมกันที่ส่วนกลางในครั้งเดียว จนนำมาสู่การดำเนินการกล่าวหาอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ และสุเทพ เทือกสุบรรณ ว่าช่วยเหลือเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท พีซีซี ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ให้เป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)
การที่ผู้รับจ้างไม่สามารถทำงานให้เสร็จได้ตามสัญญา ทำให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการอย่างร้ายแรง และขุดต่อมให้คนสงสัยถึงที่มาที่ไปของการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างโครงการโรงพักทดแทน 396 แห่ง ที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบสัญญาจัดจ้าง จากเดิมที่ให้จัดจ้างเป็นรายภาค เปลี่ยนเป็นจัดจ้างรวมกันที่ส่วนกลางในครั้งเดียว
ป.ป.ช. แจ้งข้อกล่าวหา สุเทพ ทุจริตก่อสร้างโรงพัก
DSI เริ่มดำเนินการสอบสวนคดีทุจริตก่อสร้างโรงพักทดแทนมาตั้งแต่ปี 2555 โดยมีธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษในขณะนั้นเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญ ต่อมาปี 2556 DSI ส่งสำนวนการสอบสวนและ ป.ป.ช. ก็รับเรื่องนี้ไว้พิจารณาโดยมี วิชา มหาคุณ เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวนฯ ในเดือนพฤษภาคม 2558
คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ มีมติให้แจ้งข้อกล่าวหาสุเทพว่า ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบก่อให้เกิดความเสียหายต่อ สตช. และทางราชการอย่างร้ายแรง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ขณะที่อภิสิทธิ์ นายกฯ ในขณะนั้นรอดพ้นข้อกล่าวหา เนื่องจากไม่พบพยานหลักฐานว่าเป็นผู้อนุมัติสั่งการ
คดีนี้ยาวนานข้ามรัฐบาลและดูจะเงียบไปพักใหญ่ๆ ขณะที่ต้นปี 2561 การเมืองเรื่องมีสีสันอีกครั้งเมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เริ่มคลายล็อคพรรคการเมืองให้ทำกิจกรรมบางอย่างได้ ซึ่งสุเทพ เทือกสุบรรณ เองก็เคลื่อนไหวรวมขุนพลกปปส. มาตั้งพรรคการเมืองใหม่ ชื่อ “รวมพลังประชาชาติไทย” (รปช.)
จนเมื่อกลางเดือนสิงหาคม 2561 หลังจากที่คดีโรงพักฯ อยู่ในการพิจารณาของ ป.ป.ช. มายาวนานกว่า 5 ปี ป.ป.ช. ก็แถลงว่า คดีนี้มีความคืบหน้าไปกว่า 80% แล้ว และในวันที่ 15 สิงหาคม 2561 สุเทพก็ถูก ป.ป.ช. แจ้งข้อกล่าวหาในคดีทุจริตก่อสร้างโรงพักกับพวกอีก 17 คน ซึ่งเขากล่าวว่า เรื่องนี้ทำให้การตั้งพรรคการเมืองของประชาชนได้รับกระทบกระเทือน
15 สิงหาคม 2561 สุเทพก็ถูก ป.ป.ช. แจ้งข้อกล่าวหาในคดีทุจริตก่อสร้างโรงพักกับพวกอีก 17 คน ซึ่งเขากล่าวว่า เรื่องนี้ทำให้การตั้งพรรคการเมืองของประชาชนได้รับกระทบกระเทือน
อัยการสั่งไม่ฟ้องบริษัท พีซีซี ข้อหาฮั้วประมูล
นอกจากดำเนินคดีกับอภิสิทธิ์และสุเทพแล้ว DSI ยังดำเนินคดีกับบริษัท พีซีซี ดีเวลล็อปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทได้รับจัดจ้างดำเนินการก่อสร้างโรงพักทั้ง 396 แห่ง ในข้อหาฉ้อโกงผู้รับเหมาช่วง และข้อหาฮั้วประมูลโครงการฯ อย่างไรก็ตาม อัยการคดีพิเศษมีคำสั่งไม่ฟ้องบริษัท พีซีซีฯ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 เนื่องจากเห็นว่าผู้รับเหมาช่วงที่ได้เข้าร้องทุกข์ต่อ DSI ว่าไม่ได้รับเงินค่าจ้างและเงินค่าดำเนินการต่างๆ จากบริษัท พีซีซีฯ นั้นเป็นการผิดสัญญาทางแพ่ง แต่ไม่ได้เป็นการหลอกลวง
ส่วนข้อหาฮั้วประมูล อัยการฯ เห็นว่า การประมูลด้วยวิธี e-Auction ของ สตช. เป็นการประมูลอย่างถูกต้อง และมีการแข่งขันราคาหลายครั้ง ส่วนที่ระบุว่า บริษัท พีซีซีฯ เสนอราคาต่ำกว่าความเป็นจริง ก็ไม่ปรากฏว่าการเสนอราคาต่ำมากจนเกินไป และไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ของกระทรวงการคลังด้วย
ศาลฎีกาพลิกพิพากษาจำคุก ธาริต หมิ่น สุเทพ
แม้คดีทุจริตก่อสร้างโรงพักทดแทนที่อยู่ในมือ ป.ป.ช. จะยังไม่เห็นปลายทางว่าจะออกมาเป็นอย่างไร แต่คดีที่เกี่ยวเนี่องกันคือคดีหมิ่นประมาทที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ ฟ้องธาริต เพ็งดิษฐ์ ก็จบลงแล้วเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2561 ศาลฎีกามีคำพิพากษาจำคุกธาริตเป็นเวลาหนึ่งปีโดยไม่รอลงอาญา
โดยศาลเห็นว่า ขณะลงพื้นที่ไปตรวจสอบการก่อสร้างสถานีตำรวจทดแทน ธาริตแถลงข่าวดูหมิ่น สร้างความเกลียดชัง เพราะแถลงว่าสุเทพแก้ไขเปลี่ยนแปลงวิธีการประมูลบริษัทก่อสร้างโรงพัก ทั้งที่ข้อเท็จจริง สตช. เป็นผู้ยื่นเสนอให้สุเทพในฐานะรองนายกฯ อนุมัติเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจแทรกแซงเพื่อเอื้อผลประโยชน์
ศาลฎีกาเห็นว่า ธาริตแถลงข่าวดูหมิ่น สร้างความเกลียดชัง ว่าสุเทพแก้ไขเปลี่ยนแปลงวิธีการประมูลบริษัทก่อสร้างโรงพัก ทั้งที่ข้อเท็จจริง สตช. เป็นผู้ยื่นเสนอให้สุเทพในฐานะรองนายกฯ อนุมัติเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจแทรกแซงเพื่อเอื้อผลประโยชน์
อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์มีความเห็นต่างจากศาลฎีกา คือมีคำสั่งให้ยกฟ้องธาริต ด้วยเห็นว่าขณะที่ ธาริตเป็นอธิบดี DSI ได้แถลงคดีนี้ตามอำนาจหน้าที่และเป็นคดีที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ทั้งนี้ก่อนหน้าวันพิพากษาศาลฎีกา ธาริตได้ให้ทนายความออกมาแถลงขอโทษสุเทพและยอมรับสารภาพ เพื่อให้มีการไกล่เกลี่ย แต่ทางฝั่งทนายของสุเทพไม่ยอม ทำให้ธาริตต้องถูกศาลตัดสินจำคุกไป
ศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์มีความเห็นต่างจากศาลฎีกา คือมีคำสั่งให้ยกฟ้องธาริต ด้วยเห็นว่าขณะที่ ธาริตเป็นอธิบดี DSI ได้แถลงคดีนี้ตามอำนาจหน้าที่และเป็นคดีที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
ธาริต เป็นอธิบดี DSI ตั้งแต่ปี 2552 – 2557 อยู่ในช่วงที่การเมืองมีความขัดแย้งสูงสุด เมื่อครั้งพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลก็ทำงานร่วมกันจนเคยถูกหมายหัวจาก เฉลิม อยู่บำรุง แกนนำพรรคเพื่อไทย ว่า “วันใดที่มีอำนาจวาสนาเป็นรัฐบาล จะย้ายคุณธาริตเป็นคนแรก” แต่เมืองพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล เฉลิมได้เป็นรองนายกฯ ธาริต ก็ยังอยู่ตำแหน่งเดิม แถมทำงานอย่างขยันขันแข็งตอบสนองรัฐบาลพรรคเพื่อไทยอย่างเต็มที จนฝ่ายการเมืองฝั่งตรงข้ามหมายหัวเช่นกัน และกระทั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำการรัฐประหารเมื่อปี 2557 ธาริตก็หลุดจากตำแหน่งนี้ไป
Tags: สุเทพ เทือกสุบรรณ, ป.ป.ช., ดีเอสไอ, ธาริต เพ็งดิษฐ์, คดีโรงพักร้าง, DSI