นักวิจัยมหาวิทยาลัยโตรอนโต แคนาดา พบสารเคมีที่มีพิษหลายอย่างในสมาร์ตโฟนของกลุ่มผู้หญิงชาวแคนาดาที่มีอายุระหว่าง 18-44 ปี สัมพันธ์กับระดับของสารพิษเหล่านั้นในร่างกายและมือของพวกเธอ

สารเคมีที่เป็นพิษซึ่งพบใน ‘อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบที่ใช้มือถือได้’ ในงานวิจัยนี้คือ สารพิษออร์กาโนฟอสเฟตเอสเทอร์  ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้เป็นสารหน่วงการติดไฟ (flame retardant) หรือ พลาสติไซเซอร์ (plasticizers) ที่ทำให้วัสดุบางอย่างเช่นโพลีไวนิลคลอไรด์ยืดหยุ่นและทนทานได้

นักวิจัยพบว่า ระดับของออร์กาโนฟอสเฟตเอสเทอร์บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กับมือและในปัสสาวะสัมพันธ์กัน สารพิษชนิดนี้ส่งผลต่ออาการทางประสาท ทำให้ความสามารถในการสืบพันธ์ุลดลง และปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์

แต่ที่ยังไม่ชัดเจนคือการตรวจเจอสารพิษเหล่านี้ มีโอกาสเป็นไปได้ว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้เป็นแหล่งของสารเคมี หรืออุปกรณ์เหล่านี้เป็นตัวชี้วัดการสัมผัสสารเคมีทั้งหมดจากแหล่งอื่น หรือเป็นไปได้ทั้งคู่

ตามความเห็นของมิเรียม ไดมอนด์ อาจารย์สาขาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยโตรอนโต หนึ่งในคณะวิจัย

นอกจากนี้ยังตรวจพบสารหน่วงการติดไฟ (flame retardant) และพลาสติไซเซอร์ (plasticizers) ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้มือจับ เช่น สมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตมากกว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบไม่ใช้มือหิ้ว เช่น โทรทัศน์ และคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป

นักวิจัยมองว่าอุปกรณ์แบบใช้มือถือ เช่น สมาร์ตโฟนอาจเป็นแหล่งของสารเคมีเหล่านี้ แต่ก็อาจจะเป็นตัวชี้วัดการสัมผัสสารพิษในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ซึ่งคนใช้เวลาในแต่ละวัน เช่น บ้าน รถยนต์ ที่ทำงาน

ไดมอนด์ยังแนะนำว่า เพราะอุปกรณ์เหล่านี้อยู่ในมือทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ การเช็ดสมาร์ตโฟนเป็นครั้งคราวน่าจะช่วยลดระดับของสารเคมีที่อยู่บนอุปกรณ์ได้ และลดปริมาณสารเคมีในมือเราด้วย ทั้งนี้เราควรตระหนักและพยายามลดการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ โดยเฉพาะในเด็ก

เมื่อต้นปี 2018 คณะกรรมการความปลอดภัยสินค้า สหรัฐอเมริกา อนุมัติข้อเรียกร้องที่ห้ามการใช้สารหน่วงการติดไฟบางชนิดในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ออร์กาโนฟอสเฟตเอสเทอร์ที่ตรวจพบในงานวิจัยนี้มักเป็นสารที่ใช้ทดแทนสารต้องห้าม และมีหลักฐานมากขึ้นที่แสดงให้เห็นว่าสารเคมีที่ใช้ทดแทนนี้ก็เป็นอันตรายเช่นกัน

นักวิจัยเรียกร้องให้คำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ผ่านมามาตรฐานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีอยู่ครอบคลุมเฉพาะผลิตภัณฑ์ความปลอดภัยของตัววัดความร้อน ไฟฟ้า แสง แต่ไม่เฉพาะเจาะจงไปว่าวัตถุดิบควรถูกตรวจสอบหาผลกระทบจากการก่อพิษอย่างไร

.

.

ที่มา:

Tags: , ,