ทิวทัศน์กรุงเทพบริเวณอารีย์ เมื่อปี 2530 ตึกที่เด่นสุดคือ สำนักงานใหญ่ของธนาคารกสิกรไทย ที่มา : www.chillpainai.com

ทำความรู้จัก อารีย์

            ‘ซอยอารีย์’ เกิดขึ้นเมื่อใด?

จากหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน จุดกำเนิดที่แน่ชัดของซอยอารีย์และชุมชนรายรอบยังคงเป็นปริศนา เท่าที่มีการสืบค้น แผนที่ในปี 2467 ระบุว่าพื้นที่บริเวณนี้คือผืนดินสำหรับทำการเพาะปลูก ขณะที่ถนนพหลโยธินในปัจจุบันเป็นเพียงเส้นทางสัญจรไร้นาม และสิ้นสุดลงหลังจากข้ามผ่านคลองสามเสนไปไม่ไกล

30 ปีต่อมา ถนนพหลโยธิน ซอยราชครู (ซอยพหลโยธิน 5) ซอยอารีย์ (ซอยพหลโยธิน 7) และตึกแถวแห่งแรกก็ปรากฏในแผนที่ปี 2498 หลังจากมีการก่อสร้างถนนประชาธิปัตย์จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ก่อสร้างในปี 2484) ไปยังดอนเมืองเมื่อปี 2479 ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็นถนนพหลโยธินในปี 2493 ซึ่งในปีนั้น ถนนสายนี้ก็มุ่งตรงขึ้นเหนือไปถึงจังหวัดลพบุรีเรียบร้อยแล้ว

นอกจากสถานที่ราชการที่สำคัญหลายแห่งอย่างกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมประชาสัมพันธ์ รวมถึงสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ย่านอารีย์มีความคึกคักมากขึ้นคือร้านสหกรณ์พระนคร ซึ่งหลังจากเปิดทำการในปี 2516 ร้านสหกรณ์พระนครก็เป็นเหมือนกับศูนย์การค้าสำหรับการจับจ่ายซื้อหาของข้าราชการและผู้อยู่อาศัยในย่านนี้ ก่อนที่อาคารสำนักงานของภาคเอกชนจะผุดขึ้นตามมาในช่วงทศวรรษ 2520-2530 ซึ่งนำพาผู้คนวัยทำงานอีกมากมายหลากหลายเข้ามาในพื้นที่

ในเวลาต่อมา การเปิดให้บริการของระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ส่วนในเมือง) ในปี 2536 และโดยเฉพาะอย่างยิ่งรถไฟฟ้าบีทีเอสที่เปิดให้บริการในปี 2542 ก็แทบจะทำให้อุปสรรคของการเชื่อมต่อระหว่างย่านอารีย์กับบุคคลภายนอกหมดสิ้นไป ขณะเดียวกัน วิลล่า มาร์เก็ต อารีย์ ที่เกิดขึ้นในปี 2549 ก็ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางขนาดย่อยของย่าน ซึ่งช่วยส่งเสริมความเป็นเมืองของย่านให้เข้มข้นยิ่งขึ้น

เก่าร่วมกับ ใหม่สู่ส่วนผสมอันลงตัว

 ‘อารีย์’ คือผลิตผลของ ‘ถนน’ ที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีถนนเจริญกรุงซึ่งเริ่มก่อสร้างในปี 2404 เป็นถนนเส้นแรกของกรุงเทพฯ ก่อนที่ถนนจะขยายตัวมากขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งติดตามมาด้วยการขยายตัวของชุมชนเมืองทอดยาวขึ้นสู่พื้นที่ทางตอนเหนือ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

            ด้วยเหตุนี้ บ้านเรือนในย่านนี้จึงเต็มเปี่ยมไปด้วยความขรึมขลัง ซึ่งตามติดสืบเนื่องมากับการลงหลักปักฐานของชนชั้นสูงและข้าราชการที่โยกย้ายตามการขยายตัวของเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘ซอยราชครู’ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของกลุ่มชนชั้นนำที่มีบทบาทในช่วงหลังปี 2490 และจากการที่อารีย์เป็น ‘เมืองราชการ’ ที่มีข้าราชการและผู้คนอยู่อาศัย รวมถึงคนที่มาทำงานเป็นจำนวนมาก ธุรกิจและร้านค้าต่างๆจึงค่อยๆเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการคนในชุมชนนั้นตามมาด้วย ยกตัวอย่างจุดเล็กๆที่น่าสนใจอย่าง ทางข้ามรั้วริมกำแพงกระทรวงการคลัง ทางสัญจรของข้ารายการไปยังตลาดนัดซอยพิบูลย์วัฒนา 5 หรือที่เรียกกันว่า ‘ตลาดนัดหลังกระทรงการคลัง’ ก็เป็นแหล่งขายอาหาร เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ราคาถูก ก็เกิดขึ้นเพื่อรองรับข้าราชการและคนที่ทำงานบริเวณนี้โดยเฉพาะ

อารีย์เริ่มเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนในช่วงปลายทศวรรษ 2540 หลังจากบรรดานักสร้างสรรค์ลงมือสรรค์สร้างสถานที่และบรรยากาศในแบบที่พวกเขาพึงพอใจ ซึ่งในเวลาต่อมา สิ่งเหล่านี้ก็ดึงดูดผู้คนมากมายให้เดินทางมาที่นี่ จึงไม่น่าแปลกใจที่สิ่งเหล่านี้ทำให้ย่านอารีย์ที่เป็นย่านที่มีกลิ่นไอสุนทรีภาพแบบเมืองเก่าที่ค่อยๆถูกแต่งเติมด้วยบรรยากาศที่สนุกสนาน อย่างสร้างสรรค์ แต่ในขณะเดียวกัน ความครื้นเครงที่ถูกเติมเข้ามาก็ไม่ได้ทำให้ย่านนี้มีบรรยากาศที่เปลี่ยนไป เพราะความใส่ใจของเหล่าบรรดานักสร้างสรรค์ที่เข้ามานั้นเห็นคุณค่าของเมือง จึงสร้างสรรค์สิ่งต่างๆออกมาอย่างประณีต ใส่ใจชุมชนเป็นหลักและในขณะเดียวกันก็ยังมีสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์อีกด้วย

ช่วง 4 – 5 ปี ที่ผ่านมา ย่านอารีย์ เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งความเจริญเหล่านี้ได้ดึงดูดให้ผู้คนให้ความสนใจย่านนี้มากขึ้น ทำให้ย่านเก่าที่เงียบสงบค่อยๆครื้นเครงขึ้น และด้วยการจัดการที่ให้ความสำคัญกับชุนชน อารีย์จึงกลายเป็นพื้นที่ที่ผสมผสานระหว่างความเก่าและใหม่ไว้อย่างลงตัว พื้นที่ชุมชน บ้าน บางส่วน ได้ปรับเปลี่ยนกลายเป็นร้านอาหาร คาเฟ่ ที่ผสมกลิ่นอายของชุมชนเก่าเข้าไป ยกตัวอย่างเช่น ร้าน ‘อย่างเก่าก่อน’ ร้านอาหารที่จะพาย้อนรอยเมนูเก่าๆในอดีต ที่ซ่อนอยู่ในซอยพหลโยธิน 8 เป็นอีกหนึ่งร้านอาหารที่นำเสนอเมนูอาหารดั้งเดิมง่ายๆ ที่หากินได้ยากในปัจจุบัน แต่ร้านก็ยังมีบรรยากาศที่ร่วมสมัย เป็นกันเอง ถือเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์เฉพาะตัวของร้านในย่านอารีย์

ไม่ใช่แค่ร้านค้า บ้าน ชุมชนเก่าที่ปรับตัวให้เข้ากับการเติบโตของเมืองเพียงอย่างเดียว แต่เมืองหรือธุรกิจใหม่ต่างๆที่ต้องการเข้ามาในย่านนี้ก็ต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับชุมชนเก่าของที่นี่ด้วย ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่น่าสนใจว่า ทั้งสองฝั่งอย่างเมืองเก่า และเมืองใหม่สามารถประนีประนอม สอดประสานกันได้อย่างลงตัว

ถึงแม้ว่าอารีย์จะเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ด้วยการจัดการที่ดี จึงทำให้อารีย์เป็น ย่านที่สามารถเดินเท้าได้ดี อย่างน่าชื่นชม จึงทำให้จุดหมายอย่างอารีย์ เป็นอีกจุดหนึ่งที่เมื่อใครมาแล้ว สามารถเดินเท้าลัดเลาะสัมผัสบรรยากาศความเก่าผสมใหม่ได้อย่างเป็นกันเองและสบายใจ

ทุกวันนี้ อารีย์จึงเป็นย่านที่มีการใช้พื้นที่อย่างผสมผสาน โดยมีทั้งที่อยู่อาศัย พื้นที่เชิงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงาน ร้านค้า ร้านอาหารเก๋ๆ ร้านนั่งดื่มกิน และสถานที่ราชการ และหากได้เดินสำรวจ เราก็จะพบว่าย่านอารีย์มีพื้นที่สาธารณะที่หลากหลาย ซึ่งรังสรรค์ให้เกิดผลงานสร้างสรรค์ชิ้นใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ อารีย์ ยังเป็นย่านที่ไม่เคยหยุดนิ่ง โดยมีกิจกรรมที่แตกต่างหลากหลายในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาใช้พื้นที่และเที่ยวชม

ที่สำคัญคืออารีย์เป็นย่านที่มีศักยภาพการ ‘เดินได้’ ดีเป็นอันดับต้นๆ ของกรุงเทพฯ โดยมีจุดที่มี Good Walk Score สูงสุดถึง 72 จาก 100 คะแนน (อ้างอิงจาก http://uddc.net/en/knowledge) ซึ่งหมายความว่าเราเดินเข้าถึงสถานที่ดึงดูดการเดินทั้งหกประเภทด้วยการเดินได้ดีมาก (good accessible) ได้แก่ ที่ทำงาน สถานศึกษา แหล่งช็อปปิ้ง พื้นที่นันทนาการ สถานที่บริการสาธารณะ ธุรกรรม และระบบขนส่งสาธารณะ

SAVVI ตอบโจทย์ทุกองค์ประกอบของชีวิตเมืองคุณภาพ

ด้วยปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน ‘อารีย์’ จึงไม่ใช่ย่านที่พลุกพล่านวุ่นวาย แต่ก็อุดมไปด้วยสถานที่ซึ่งตอบสนองวิถีชีวิตอันแตกต่างหลากหลายของสังคมเมือง และยังคงความสงบเป็นส่วนตัวในแบบที่ทุกคนใฝ่หา บรรยากาศที่เงียบสงบของย่านนี้จึงมีความคึกคักเรียบหรูหลบซ่อนอยู่ในท่วงทำนองที่เหมาะเจาะลงตัว สอดคล้องกับแนวคิดของ ‘SAVVI’ ที่ตั้งอยู่บนทำเลคุณภาพ ครบครันด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก รายล้อมด้วยร้านค้า ร้านอาหาร สำนักงานธุรกิจ และวิถีชีวิตร่วมสมัยอันมีเสน่ห์เฉพาะตัว ขณะเดียวกันก็ยังคงความเงียบสงบ บรรยากาศที่อบอุ่น และอบอวลไปด้วยความเรียบหรูตามแบบฉบับของย่านอารีย์

‘SAVVI ARI 4’ จะทำให้คุณค้นพบสุนทรียภาพของการใช้ชีวิตที่ประณีตและมีสไตล์บนทำเลใหม่ในย่านอารีย์ ที่รังสรรค์มาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของคนรุ่นใหม่ที่ไม่หยุดนิ่ง พร้อมสัมผัสเสน่ห์ความหรูหราบนทำเลแห่งไลฟ์สไตล์ร่วมสมัยในซอยอารีย์ 4 ที่รายล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกรอบโครงการทั้งร้านค้า ร้านอาหาร คาเฟ่ชิคๆ อาคารสำนักงาน พิเศษสุดเพียง 39 ยูนิต ห้องใหญ่เหมือนอยู่บ้าน สามารถเข้า-ออกได้ทั้งซอยพหลโยธิน 7 และพหลโยธิน 9 ใกล้ทางด่วนพระราม 6 ทางด่วนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและโทลเวย์

สนใจลงทะเบียน

http://www.savvicondo.com/

http://www.savvicondo.com/ari4/

(และสำหรับใครที่ชื่นชอบทำเลใกล้อารีย์ อย่าง ‘พหลโยธิน 2’ ก็สามารถติดตามได้เร็วๆ นี้)

 

อ้างอิง: http://uddc.net/en/knowledge

Tags: , , , ,