ตอนอยู่มัธยม เรามองว่าคนวัยเลขสองเลขสามโตกว่าเราเหลือเกิน
สายตาที่เด็กมัธยมบางส่วนมีต่อคนวัยนั้นคือ พวกเขาเป็นผู้ใหญ่ที่มีหน้าที่การงาน มีคนรักอบอุ่น มีอิสระในการผจญภัยโลกกว้างอย่างเต็มที่
แต่ตัดมาที่ภาพความเป็นจริง เมื่อเด็กคนนั้นอายุเข้าใกล้เลขสาม เขากลับไม่เห็นตัวเองเป็นแบบที่เคยมองพี่ๆ เขารู้สึกเติบโตขึ้นจากเดิมไม่เท่าไหร่ หนำซ้ำยังหนักหนาถาโถมด้วยเรื่องต่างๆ มากมาย ทั้งขาดความมั่นใจ ไม่พอใจในตัวเอง ไม่ได้ทำงานที่อยากทำ หรือต่อให้ได้งานที่อยากทำมันก็ไม่ได้ดีอย่างใจคิด จากที่เคยมีภาพว่าฉันจะเป็นผู้ใหญ่ที่มีประโยชน์กับโลกใบนี้และคนรอบตัว กลับกลายเป็นว่าแค่ตื่นมาเคลียร์ความรู้สึกของตัวเองและทำสิ่งที่ต้องทำแบบเป็นรูทีนได้ในแต่ละวันก็เก่งมากแล้ว
หากคุณมีอาการเหล่านี้อาจเป็นเพราะว่าคุณตกอยู่ในภาวะ Quarter-life Crisis
ฉันวิกฤตรึยังนะ
แม้อาการแต่ละคนจะไม่ได้เหมือนกันทีเดียว แต่โดยรวมแล้วมักเกี่ยวข้องกับความรู้สึกไม่มั่นคง ไม่แน่นอน และมักตั้งคำถามกับตัวเองวนไป มวลอารมณ์เหล่านี้มักเกิดขึ้นกับประเด็นอาชีพการงาน ความสัมพันธ์ และการเงิน หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง อาการโดยทั่วไปของภาวะนี้คือความรู้สึกไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควรจะเป็นหรืออย่างที่คิดว่าศักยภาพเราน่าจะไปถึงได้
ถึงจะเรียกว่า Quarter แต่ไม่จำเป็นจะต้องเผชิญกับสิ่งนี้เมื่ออายุ 25 เป๊ะๆ มันมักเกิดตั้งแต่ช่วงอายุยี่สิบตอนกลางไปจนถึงสามสิบกว่าๆ หรือพูดง่ายๆ ว่าช่วงวัยที่เข้าใกล้การเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวนั้นเอง
วิกฤตที่ต้องเข้าใจ
งานวิจัยของ Linkedin พบว่า 75% ของคนที่อายุ 25-33 เผชิญ Quarter-life Crisis โดยสาเหตุที่ทำให้พวกเขากังวลใจมากที่สุดคือการหางานที่ตัวเองหลงใหลใฝ่ฝันถึง 61% การหาคู่ชีวิต 47% และการจัดการด้านการเงิน 22%
สอดคล้องกับ The Guardian ที่รายงานว่า มีชาวมิลเลนเนียลกว่า 86% ได้รับผลจากวิกฤตนี้
เหตุที่ชาวมิลเลนเนียลต้องพบเจอกับภาวะนี้อย่างหนักหน่วงนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าเป็นเพราะว่าคนกลุ่มนี้มีทางเลือก มีโอกาสมาก มีการสนับสนุนมาก (แต่มักไม่ค่อยมีอิสระ) ทุกอย่างจึงดูเหมือนเป็นไปได้ทั้งนั้น
แต่เมื่อเชื่อว่าทุกอย่างเป็นไปได้ การกดดันตัวเองเพื่อไปถึงความเป็นไปได้จึงมีมากขึ้นตามไปด้วย ยังไม่นับรวมการมาถึงของโซเชียลมีเดียที่คนไม่น้อยเลือกฉายภาพในทางที่อยากให้คนอื่นเห็นว่าเขาเป็น และเมื่อเราเอาตัวเราไปเทียบก็จะเห็นว่าชีวิตฉันยังไปไม่ถึงไหน ความท้อใจจึงตามมา
ไม่ใช่แค่นี้ การศึกษาหลายชิ้นยังระบุอีกว่าสไตล์การเลี้ยงลูกของพ่อแม่ที่มีลูกเล็กในช่วงยุค 90 มีแนวโน้มที่จะทำทุกอย่างให้ลูก โดยเฉพาะหากเกี่ยวข้องกับความสำเร็จของลูก นี่ส่งผลให้เส้นแบ่งระหว่างการสนับสนุนที่เหมาะสมกับการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งแบบมากเกินไปนั้นไม่ชัดเจน คนที่เติบโตมาจากการเลี้ยงดูในลักษณะนี้จึงมีความวิตกกังวล เครียด เห็นคุณค่าในตัวเองต่ำ ความปรารถนาดีของพ่อแม่ที่จะช่วยเหลือตลอดเวลาอาจกลายเป็นขัดขวางโอกาสที่จะเติบโตและโอกาสในการเรียนรู้ผ่านความล้มเหลว
ระยะทั้งสี่ของ Quarter-life Crisis
Dr. Oliver Robinson จากมหาวิทยาลัย Greenwich ใน London ทำการศึกษาเรื่องนี้พบว่า ภาวะวิกฤตนี้จะอยู่กับชาว Quarter-Life เฉลี่ยที่ 2 ปี โดยแบ่งระยะของวิกฤตนี้ได้เป็น 4 ขั้น
- ติดกับดักด้านการงาน ไม่ก็ด้านความสัมพันธ์ หรืออาจเป็นทั้งสองด้าน
- เริ่มรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้
- การเริ่มสร้างชีวิตใหม่
- มุ่งมันและสัญญากับตัวเองจะทำอะไรใหม่ๆ ที่สะท้อนความสนใจ และสิ่งที่ตัวเองให้คุณค่า
เพราะฉะนั้นถึงอาการโดยรวมจะฟังดูอึมครึม แต่หลายๆ คนพอพ้นวิกฤตนี้ไปก็มักจะนำตัวเองไปสู่ก้าวใหม่ๆ ของชีวิตได้
ก้าวข้าม Crisis
คำแนะนำในการผ่านวิกฤต Quarter Life Crisis ของแต่ละสำนักมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันไป แต่โดยรวมประเด็นหลักอยู่ที่การหยุดสาเหตุที่ทำให้ตัวเองรู้สึกแย่ การเข้าใจและเห็นคุณค่าตัวเอง การวางแผนชีวิตและการไปต่อ
- เคลียร์ความรู้สึกแย่ๆ ออกไป
ถ้าหนึ่งในสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกแย่คือการเปรียบเทียบชีวิตตัวเองกับคนทั้งใกล้ทั้งไกลตัวที่มีรุ่นราวคราวเดียวกันคุณต้องพักก่อน เราต่างเดินทางมาบนเส้นทางที่ต่างกัน การที่เราไม่ประสบความสำเร็จในแบบที่คนอื่นเป็นคือเรื่องปกติมาก เป้าหมายชีวิตเขา ไม่ใช่เป้าหมายเราสักหน่อย การตั้งความหวังกับตัวเองมากๆ เฆี่ยนตีจิตใจตัวเองว่าไม่เป็นดังหวังก็ไม่มีประโยชน์ พยายามเข้าใจและรู้ว่าตัวเองทำอะไรอยู่ก็พอแล้ว
นอกจากพยายามจัดการกับความรู้สึกด้วยตัวเองแล้ว ให้หาคนที่เราไว้ใจได้พูดคุยกับสิ่งที่เราเผชิญ จะเป็นเพื่อนสนิท แฟน คนที่บ้านก็ได้ หรือมืออาชีพอย่างนักจิตวิทยาก็เป็นทางเลือกที่ดีเสมอ การพูดคุยเป็นวิธีการปลดปล่อยความรู้สึกอึมครึมที่เกาะกุมเราอยู่อีกทางหนึ่ง
- เข้าใจคุณค่าและค้นหาตัวเอง
กลับมาทบทวนดูอีกครั้งว่าคุณเป็นคนแบบไหน คุณค่าของคุณคืออะไร มีจุดแข็ง จุดอ่อนยังไง อาจใช้แบบทดสอบ เช่น เรื่องลักษณ์ (Enneagram) หรือ Personality Test ต่างๆ มาเป็นตัวช่วยให้เห็นตัวเองชัดขึ้น ผลจากแบบทดสอบไม่ใช่การตีกรอบชีวิตหรือการนำคุณไปอยู่ในแพทเทิร์นสำเร็จรูปของคำตอบแบบใดแบบหนึ่ง แต่มันอาจจะเป็นตัวช่วยไกด์หรือช่วยเป็นแผนคร่าวๆ ได้ว่าคุณจะไปทางไหนต่อดี
- ไปสู่สิ่งที่อยากเป็น
อาจเริ่มจากการคิดแบบสบายๆ ระหว่างอาบน้ำ ก่อนนอน ตอนออกกำลัง หรือเวลาไหนๆ ก็ได้ที่รู้สึกผ่อนคลายว่าคุณอยากเห็นตัวเองยังไงในอนาคต มีความสุขกับอะไร ตื่นเต้นและสนุกกับอะไรอยู่บ้าง พอเริ่มเห็นภาพสิ่งที่คุณอยาก ให้ลองเอาคุณค่าและจุดแข็งของตัวเองมาใส่กับความฝันทั้งหลายที่คุณวาดไว้ แล้วคุณอาจเห็นตัวเองชัดขึ้นไปอีก
พอเริ่มมีภาพลางๆ ว่าจากนี้คุณอยากเห็นตัวเองเป็นแบบไหนหรืออยากให้ความสำคัญกับตัวเองด้านอะไรมากที่สุดก็ได้เวลารีเสิร์ชจริงจังแล้วว่ามีอะไรจะพาคุณไปสู่สิ่งเหล่านั้นได้บ้าง ทั้งการเสิร์ชหาจากอินเทอร์เน็ต หรือการพูดคุยกับคนที่อยู่ในแวดวงนั้นๆ ก็ล้วนแต่เป็นตัวช่วยได้ทั้งหมด
แน่นอนว่าการอยากเปลี่ยนชีวิตด้วยตัวคนเดียวไม่ใช่เรื่องง่าย การมีผู้สนับสนุนที่ดีจึงเป็นเรื่องจำเป็น
ผู้สนับสนุนที่จะช่วยผ่านวิกฤตนี้มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นที่ปรึกษาในฐานะผู้มีประสบการณ์หรือมีความเชี่ยวชาญในด้านที่คุณสนใจ หรือเป็นผู้สนับสนุนที่เป็นเหมือนเพื่อนร่วมทางเดินเคียงข้างสู่จุดหมายไปกับคุณ ไปจนถึงผู้สนับสนุนที่คุณพร้อมหันไปหาได้เสมอเมื่อต้องการการซัพพอร์ตทางจิตใจ
เมื่อมีเป้าหมายและได้การสนับสนุนที่พร้อมแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือการลงมือทำ ไม่ต้องเข้มงวดหรือยึดติดกับรูปแบบในการไปถึงเป้าหมายมาก เพราะระหว่างทางที่คุณจะไปถึงเป้าหมายมันคือการเรียนรู้ มันคือชีวิต ตราบใดที่เห็นคุณค่าตัวเองชัดเจน มีผู้สนับสนุนที่เหมาะสม และหมั่นกลับมาทบทวนดูแลทั้งร่างกายและจิตใจตัวเองสม่ำเสมอ การผ่านวิกฤตก็ไม่ใช่เรื่องยาก เช่นเดียวกับการไปสู่เป้าหมายที่ตัวเองอยากไป
The Supporter
ต่อให้หนึ่งในตัวบ่งชี้ว่าคุณกำลังอยู่ในวิกฤตนี้คือเรื่องงาน แต่บริษัทและที่ทำงานบางแห่งก็เข้าใจปัญหาเหล่านี้และหันมาเป็นผู้สนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ผ่านวิกฤตของช่วงวัยนี้ไปได้ อย่าง Unilever Life ที่เป็นเหมือน Entrepreneurial LIFE Platform ที่อยากเข้ามาสนับสนุนคนรุ่นใหม่ในทุกมิติของชีวิต เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นคนที่มีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งยังออกแบบรูปแบบการทำงานให้ตอบโจทย์ของคนสมัยนี้
Unilever Life เป็นส่วนหนึ่งของ Unilever ที่มีเจตนารมณ์มุ่งมั่นสรรสร้างสินค้าอุปโภคบริโภคที่ส่งเสริมการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนและเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนไทยมายาวนาน
เพราะเข้าใจว่าเป้าหมายของทุกคนมีค่า Unilever Life จึงตั้งใจเป็นผู้สนับสนุนให้ทุกคนมีชีวิตดีอย่างยั่งยืนผ่านการเปลี่ยนตัวเองใน 3 ด้าน ได้แก่
- เปลี่ยนเพื่อเป็นคนที่เก่งขึ้น (Transforming You) ผ่านองค์ความรู้ของห้องเรียนภายใต้ชื่อ Unilever Life Learning Studio
- เปลี่ยนเพื่อเป็นคนที่สุขภาพดีขึ้นทั้งภายนอกและภายใน (Transforming Wellness) ผ่านผลิตภัณฑ์คุณภาพอย่าง aviance และ beyonde ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงทั้งกายใจ
- เปลี่ยนเพื่อความสำเร็จ มีอิสระในการใช้ชีวิต (Transforming Future) ผ่าน Life Max Plan การทำธุรกิจแบบ Entrepreneurial LIFE Platform ที่ออกแบบมาให้ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่โดยเฉพาะ เพียงใช้ชีวิตตามไลฟ์สไตล์ และแบ่งปันกับเพื่อนๆ ก็สามารถมีรายได้ที่ทำให้เราใช้ชีวิตแบบที่ต้องการได้ไปในตัว
เหมือนที่มีคนศึกษาไว้ว่า คนที่เจอ Quarter-Life Crisis มีมากมาย แต่ถ้าทำความเข้าใจ หาหนทางที่ใช่ ตั้งเป้ารับมือและพร้อมจะเปลี่ยนแปลงโดยมีคนคอยซัพพอร์ตเคียงข้าง การก้าวผ่านวิกฤตนี้คงไม่ยากจนเกินไปสำหรับวัย Quarter ทุกคน
อ้างอิง
https://www.theguardian.com/society/2011/may/05/quarterlife-crisis-young-insecure-depressed
https://www.huffpost.com/entry/how-to-get-over-your-quarter-life-crisis_b_6715888
Fact Box
สามารถติดตามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.unileverlife.com/ หรือ https://www.facebook.com/Unileverlifebiz