คนจำนวนไม่น้อยต้องต่อสู้กับ ‘อัลไซเมอร์’ ทุกข์ทรมานจากการสูญเสียความทรงจำและสูญเสียการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ซึ่งปัจจุบัน ยังหาสาเหตุและวิธีรักษาไม่ได้

แต่ล่าสุด มีการค้นพบความเชื่อมโยงของยีนที่สัมพันธ์กับโรคอัลไซเมอร์ในชาวจีน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ National Academy of Sciences ของสหรัฐอเมริกา

คณะวิจัยซึ่งนำโดย แนนซี อิป ยุคยู (Nancy Ip Yuk-yu) จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮ่องกง ซึ่งจัดทำลำดับของจีโนม (genome sequencing research) จากตัวอย่างยีนกว่า 1,200 ตัวอย่างในเซี่ยงไฮ้ กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการกำหนดการเรียงลำดับของ DNA (DNA sequence) ที่สมบูรณ์

ตัวอย่างทั้งหมดมาจากชาวฮั่นจำนวน 800 คนที่มีอายุระหว่าง 55-90 ที่ไม่มีโรคอื่นๆ นอกจากความผิดปกติในการรับรู้และอัลไซเมอร์ โดยมี 489 คนเป็นโรคอัลไซเมอร์ อีก 260 คนมีความผิดปกติทางการรับรู้ ส่วนที่เหลือแข็งแรงดี
คณะวิจัยใช้เวลา 4 ปี ในการจัดลำดับจีโนมทั้งหมด พบว่า นอกจากยีน APOE แล้ว ยังมียีนเสี่ยงอีก 2 ยีนคือ GCH1 และ KCNJ15

ผู้ที่มียีน KCNJ15 จะเป็นโรคอัลไซเมอร์เร็วกว่าผู้ป่วยโดยเฉลี่ย 2 ปี

ในอนาคตยังต้องศึกษาต่อไปว่า ยีนเหล่านี้นำไปสู่โรคได้อย่างไร เช่นเดียวกับการวิเคราะห์โรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยีนนี้ และจะช่วยให้คณะวิจัยพัฒนาและหาความเสี่ยงประเมินและวินิจฉัยเบื้องต้น เพื่อไม่ให้ผู้ที่มีความเสี่ยงพบแพทย์ช้าจนกระทั่งเกิดภาวะสมองเสื่อม คาดว่าจะใช้เวลาอีก 8 ปี

อิปบอกว่า ในทางทฤษฎี ยิ่งบุคคลนั้นมียีนที่มีความเสี่ยงมาก เขาก็ยิ่งมีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์ ข้อมูลที่มากกว่านี้และการวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับกลไกของโรคจะทำให้ทฤษฎีแม่นยำขึ้น

โรคอัลไซเมอร์เชื่อมโยงกับโรคสมองเสื่อม รายงานของกระทรวงสาธารณสุขฮ่องกงระบุว่า ในปี 2009 มีชาวฮ่องกงมากกว่าหนึ่งแสนคนที่ทุกข์ทรมานจากภาวะสมองเสื่อม งานศึกษาของมหาวิทยาลัย Chinese University เมื่อปี 2012 คาดว่าภายในปี 2039 จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 300,000 คน คิดเป็น 12% ของประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป

ผู้ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์สูญเสียความทรงจำ การพูด และการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายเพราะว่าสมองได้รับบาดเจ็บ ปัจจุบันแพทย์ยังหาวิธีป้องกัน รักษา หรือลดพัฒนาการของโรคไม่ได้ สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะยังไม่สามารถหาสาเหตุของโรคได้

ที่มา:

Tags: , , , ,