จุดเริ่มต้น

การเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิความหลากหลายทางเพศเริ่มปรากฏอย่างเป็นทางการในปี 1924 เมื่อเฮนรี เกอร์เบอร์ (Henry Gerber) ก่อตั้งมูลนิธิ Society for Human Rights ขึ้นที่สหรัฐอเมริกา ถือเป็นองค์กรแรกที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสิทธิเกย์

หลังจากนั้น ในช่วงปี 1960 ฮาร์วีย์ มิลค์ (Harvey Milk) เริ่มเป็นที่รู้จักทั่วอเมริกาในฐานะนักสิทธิ เขาอยู่ในยุคบุกเบิก และเป็นกำลังสำคัญที่ได้ขับเคลื่อนให้ซานฟรานซิสโกเป็นเมืองแห่งสีสันของชาว LGBTQ+ จนก่อกำเนิด San Francisco Pride ขึ้นในเดือนมิถุนายน ปี 1970

แรกเริ่มเดิมที ผู้สนับสนุนที่เข้าร่วมเดินพาเหรดยังคงจำกัดอยู่แต่ในกลุ่ม LGBTQ+ แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป นอกจากจะมีจำนวนคนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนแตะหลักแสนแล้ว ผู้ที่ร่วมแต่งกายเดินอย่างภูมิใจก็มีชายหญิงคู่รักมาร่วมด้วยจำนวนมาก หลังจากเว้นการจัดงานไปเมื่อปีที่ผ่านมา ในปี 2021 นี้ เมืองซานฟรานซิสโกจะกลับมาจัดงานอีกครั้งโดยเลี่ยงการสัมผัสและงดขบวนพาเหรด โดยจัดเป็นเทศกาลฉายภาพยนตร์ LGBTQ+ และมีพื้นที่ให้นั่งอย่างเว้นระยะห่างอย่างห่วงๆ 

ที่มา: sfexaminer.com

ที่มา: Gabrielle Lurie, Special To The Chronicle

ที่มา: Gabrielle Lurie, Special To The Chronicle

ธงสีรุ้ง

ธงสีรุ้งที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม LGBTQ+ ออกแบบโดยศิลปินและนักสิทธิชื่อดังนามว่า กิลเบิร์ต เบเกอร์ (Gilbert Baker) กิลเบิร์ตเป็นเพื่อนสนิทของฮาร์วีย์ ที่ได้ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่ในฐานะนักสิทธิที่สื่อสารผ่านงานศิลปะ เขาออกแบบธงไว้ในปี 1978 นัยของการถือธงหมายถึงการประกาศอิสรภาพ การมีอาณาจักรเป็นของตนเอง และการที่กลุ่มความหลากหลายทางเพศสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

แรกเริ่มเดิมที ธงมี 8 สี ในปีต่อๆ มา เนื่องจากผ้าสีชมพูและฟ้าขาดตลาด นอกจากมีราคาแพงมาก ก็หาไม่ได้เลยในหลายพื้นที่ กิลเบิร์ตจึงปรับแบบให้เหลือ 6 สี เพื่อให้ทุกคนสามารถผลิตธงของตัวเองได้ จนกลายเป็นแบบที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน 

กิลเบิร์ตถือเป็นผู้บุกเบิกแฟชั่น Pride โดยเป็นตัวตั้งตัวตีนำเอาธงมาดัดแปลงเป็นโบว์ เสื้อผ้า เครื่องประดับ เขาถือว่างานออกแบบนี้เป็นของสาธารณะ ใครจะหยิบยืมไปใช้ก็ได้ไม่ว่ากัน ด้วยแนวคิดที่ตั้งใจให้แฟชั่นเป็นมากกว่าเครื่องสวมใส่ ทำให้คนทั่วโลกหยิบธงไปสร้างสรรค์ได้อย่างเสรี

กิลเบิร์ต เบเกอร์ ในงาน San Francisco Pride ครั้งสุดท้าย ก่อนเขาจะเสียชีวิต ที่มา: CNN

กิลเบิร์ต เบเกอร์จากงาน 27th Annual Night Of A Thousand Gowns ปี 2013 ถ่ายโดย Astrid Stawiarz

ในปี 2003 Pride Parade ที่รัฐฟลอริดาจัดทำธง 8 แถบตามรูปแบบดั้งเดิมของกิลเบิร์ต มีความยาวถึง 8,000 ฟุต ถือเป็นธง Pride ที่ยาวที่สุดในโลก ที่มา: Getty Images

ธงสีรุ้ง 6 สีแบบที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

แฟชั่น Pride นอกอเมริกา

เมื่อมีการโบกธงเพื่อประกาศอาณาเขตความหลากหลายทางเพศในช่วงปี 1970 แล้ว หลังจากนั้นเป็นต้นมา ‘แฟชั่น Pride’ ก็ค่อยๆ เติบโตเบ่งบานอย่างสวยงามรอบโลก ทั้งในเวทีการประกวดและขบวนพาเหรด

Pride Parade Milan ที่มา: Eugenio Marongiu

Pride Parade Paris ที่มา: Albi

Phuket Pride ที่มา: GoThaiBeFree.com

Tokyo Rainbow Pride ที่มา: TokyoFashion.com

São Paulo Gay Pride Parade ที่มา: The Guardian

เมื่อหันมามองฝั่งแบรนด์เนมสายสตรีทแวร์ ก็พบว่าปีนี้มีดีไซน์เก๋ๆ ที่สวมใส่ได้ในชีวิตประจำวัน และยังนำรายได้ส่วนหนึ่งไปสมทบทุนให้องค์กรที่ต่อสู้ด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศอีกด้วย

เสื้อกันหนาวและหมวกจาก Ralph Lauren สหรัฐอเมริกา

เสื้อยืดสีรุ้งจาก Versace โดย Donnatella อิตาลี

Converse สหรัฐอเมริกา

Cos อังกฤษ

Pride กับโควิด

ช่วงโควิดระบาดนี้ สำหรับประเทศที่ได้รับวัคซีนเพียงพอแล้ว ก็สามารถกลับไปจัดกิจกรรมได้ตามปกติ อย่างที่รัฐแอตแลนตา ซึ่งจัดให้มีการวิ่งมาราธอนการกุศลเพื่อสมทบทุนให้องค์กรด้านสิทธิ LGBTQ+ หรือที่โตเกียวก็กลับมาจัดงาน Tokyo Rainbow Pride ตามปกติในปีนี้ ภายใต้นโยบายสวมหน้ากากและเว้นระยะห่าง ที่ฮ่องกง หน่วยงาน Hongkong Pride Parade ซึ่งมีสมาชิกกว่า 12,000 คน ยืนยันว่าจะกลับมาจัดแน่นอนในเดือนนี้ 

ภาพงาน Tokyo Rainbow Pride 2019 จากเฟสบุ๊ก Tokyo Rainbow Pride

ในส่วนของประเทศไทย ด้วยสถานการณ์โควิดและวัคซีนที่ยังไม่ทั่วถึง ทำให้ยังไม่สามารถจัดกิจกรรมใดๆ ได้ The Momentum ขอเสนอ 5 แนวทางสำหรับ Pride Month ที่อยู่บ้านก็ฟินได้ และได้ประกาศจุดยืนของเราให้โลกรู้ด้วย

ภาพงาน Bangkok Pride Parade ที่มา: Phnompenh Post

1. สวมชุด Pride แบบที่ชอบ ถ่ายรูปแล้วโพสต์ลงโซเชียล หรือใช้กรอบภาพโปรไฟล์เพื่อสนับสนุน Pride Month

2. ติดริบบิ้นแถบสีรุ้งที่เสื้อตอนออกจากบ้าน 

3. เปิดดูรายการทั้งจากอินเทอร์เน็ตและช่องสตรีมมิงที่มีเนื้อหาสนับสนุนความหลากหลายทางเพศ รู้หรือไม่! ยอดวิวที่คนทางบ้านรับชมวิดีโอเหล่านี้ ระบบจะบันทึกไว้เป็นสถิติ และทำให้ผู้ผลิตมีกำลังใจทำเนื้อหาดีๆ มาขับเคลื่อนประเด็นสิทธิมากขึ้น 

4. หากใครเชื่อว่าต้องเป็น LGBTQ+ เท่านั้นถึงจะสนับสนุน Pride Month ได้ ลองเปลี่ยนความคิดดู และส่งต่อความคิดนี้ให้คนรอบข้างเข้าใจว่า ‘แท้จริงแล้ว Pride Month เป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียมที่มนุษย์พึงมีเสมอกัน และใครๆ ก็ร่วมรณรงค์ได้’

5. แชร์-ส่งต่อเนื้อหาเด็ดๆ โดนๆ ที่เกี่ยวกับ Pride Month ทุกช่องทางที่ทำได้ ถึงแม้จะอยู่ในช่วงโควิด โทรศัพท์ในมือเราก็มีพลังมากกว่าที่คิด ลองคิดว่าหากคุณส่งต่อข้อความดีๆ ให้เพื่อนที่เป็น LGBTQ+ ได้รับรู้ถึงกำลังใจจากเรา โลกจะน่าอยู่ขึ้นอีกเป็นกอง 

แล้ววันนี้คุณหันไปยิ้มให้เพื่อน LGBTQ+ ของคุณหรือยัง

 

อ้างอิง

https://www.artsy.net/article/artsy-editorial-rainbow-flag-universal-symbol-gay-rights

https://www.bustle.com/style/pride-collection-2021-clothing-shoes

https://www.cnet.com/how-to/pride-month-2021-lgbtq-parades-events-and-activities-this-june/

https://wwd.com/fashion-news/fashion-features/pride-month-2021-how-fashion-beauty-brands-giving-back-1234834390/

https://edition.cnn.com/style/article/pride-rainbow-flag-design-history/index.html

https://www.theguardian.com/world/gallery/2018/jun/04/sao-paulos-gay-pride-parade-in-pictures

https://www.gothaibefree.com/phuket-pride/

https://www.history.com/topics/gay-rights/history-of-gay-rights

https://www.misterbandb.com/gay-events/japan/tokyo/gay-pride

https://www.phnompenhpost.com/

https://www.pbs.org/wgbh/americanexperience/features/stonewall-milestones-american-gay-rights-movement/

http://pictures-by-albi.com/portfolio/gay-pride-in-paris-by-albi/

https://www.thestar.com/news/gta/2016/06/28/lgbt-night-march-decries-prides-corporate-sponsorship.html

https://www.sfexaminer.com/news/for-the-first-time-in-decades-san-francisco-pride-is-officially-cancelled/

https://sites.google.com/site/kruratchanatsilp/lakhr-nxk-lakhr-ni

https://www.vogue.fr/fashion/article/pride-month-6-fashion-labels-showing-support-lgbtq-plus-community

http://wehoville.com/2013/05/24/l-a-pride-how-the-nations-first-pride-parade-got-its-start/

Tags: , , , ,