เราคงไม่ต้องบอกว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้ง มลพิษ PM 2.5 หรือปัญหาขยะ เป็นปัญหาที่หนักหนาสาหัสขนาดไหน ซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ล้วนแต่เกิดจากวิถีการใช้ชีวิตของมนุษย์อย่างเราๆทั้งนั้น จนกลายเป็นปัญหาที่กระทบต่อการใช้ชีวิต กระทบต่อสุขภาพ และความเป็นอยู่โดยรวมของเรากันเอง อีกทั้งยังส่งผลเสียต่อระบบนิเวศน์ และสภาพแวดล้อมของโลก จนสถานการณ์เลวร้ายขึ้นทุกวัน แต่ปัญหาดังกล่าวคงไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยเพียงองค์กรใดองค์กรหนึ่ง หากแต่ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนรวมถึงเราทุกคนในสังคม ที่จะช่วยแก้ไขปัญหา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตอย่างระมัดระวัง และคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้นนั่นเอง

ด้วยการตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โตโยต้า อีกหนึ่งองค์กรที่มุ่งมั่น และตั้งใจรณรงค์ให้เกิดการปลูกจิตสำนึกที่ดี ต่อการดูแลสิ่งแวดล้อมรอบตัว ชุมชน และในภาพรวมของสังคมมาโดยตลอด จึงได้จับมือร่วมกันกับ สวทช. ที่มีวิสัยทัศน์ ต้องการเปลี่ยนให้โลกใบนี้กลับมาเป็นโลกสีเขียวที่น่าอยู่เหมือนเดิมเช่นกัน แต่การแก้ไขปัญหาดังกล่าวอาจเป็นไปได้ยากหากไม่ได้เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ใกล้ตัวเราเองเสียก่อน  โดยได้มีการรณรงค์ให้เริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมง่ายๆในชีวิตประจำวัน  เช่น การลดใช้ภาชนะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เปลี่ยนมาเป็นภาชนะที่สามารถใช้ซ้ำได้ เพื่อลดการทิ้งขยะพลาสติก ต้นตอของปัญหาขยะที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันของเรานั่นเอง เหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของการผลักดันให้เกิด ‘กิจกรรมลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า’  เมื่อปลายปี 2562 ที่ผ่านมา ซึ่งทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนโลกนี้ให้ดีขึ้น และยังได้ช่วยกันรณรงค์ผ่านสื่อโซเชียล ด้วยการแชร์วิธีเปลี่ยนโลกแบบฉบับของตัวเอง และทุกการเปลี่ยนแปลง จะเปลี่ยนเป็นเงิน 1 บาท เพื่อนำไปใช้สนับสนุนการคิดค้นนวัตกรรม สำหรับแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชนและสังคม ร่วมกับ สวทช. ต่อไปนั่นเอง

(วิดีโอผลตอบรับความสำเร็จของโครงการ ลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า)

(ตัวอย่างจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม ‘ลดเปลี่ยนโลก กับโตโยต้า’)

จากการลดขยะ สู่การต่อยอดนวัตกรรม    

ภายหลังจากกิจกรรมรณรงค์ ‘ลดเปลี่ยนโลก กับโตโยต้า’ ซึ่งได้กระแสตอบรับอย่างดี และในปี 2563 นี้เอง เพื่อให้เจตนารมณ์ได้ต่อยอดสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โตโยต้า จึงไม่รอช้าที่จะเดินหน้าสานต่อเจตนารมณ์ดีๆนี้ ให้เกิดขึ้นได้จริง ด้วยการสนับสนุนทุน 1 ล้านบาท จากทุกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโครงการ “ลดเปลี่ยนโลก กับโตโยต้า” เมื่อปี 2562 ในการสนับสนุนการพัฒนาไอเดียสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ของเยาวชนในโครงการ ‘นวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลก’ ที่โตโยต้า ได้จับมือร่วมกันกับ สวทช. และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ในการจัดประกวดเพื่อให้เยาวชนได้นำเสนอไอเดียนวัตกรรมที่สร้างสรรค์และหลากหลาย และเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้จริงในชุมชนของตนเอง จนได้หนึ่งในไอเดียที่มีความน่าสนใจในการต่อยอดเพื่อให้เป็นนวัตกรรมที่จะช่วยลดมลภาวะเพื่อชุมชน และสร้างเมืองสีเขียวให้เกิดขึ้นได้จริง

(ทีมผู้ชนะเลิศวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎ์ธานี ได้แก่ นายภานุรุจ นิลรัตน์ และ นายสิทธิพร จันทานิตย์ )

(ภาพนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เครื่องเก็บขยะในทะเลโดยใช้เทคโนโลยีนาโน)

ต้นแบบ ‘เครื่องเก็บขยะนาโน’ จากฝีมือเยาวชน วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎ์ธานี

             สำหรับไอเดียของเยาวชนจาก วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎ์ธานี ผู้ที่ฝ่าฝันเอาชนะสิ่งประดิษฐ์ชิ้นอื่นที่ส่งเข้าประกวดมามากว่า 200 ผลงาน จนได้เป็นผลงานชนะเลิศ และเป็นนวัตกรรมต้นแบบที่มีชื่อว่า ‘เครื่องเก็บขยะในทะเลโดยใช้เทคโนโลยีนาโน’  ซึ่งที่มาของเจ้านวัตกรรมชิ้นนี้มาจากปัญหาขยะพลาสติกบนท้องทะเลของเรานั่นเอง  ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ของสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย เห็นได้จากอันดับสถิติ ที่สูงถึงอันดับ 6 ของโลก ซึ่งรวมๆแล้วปัญหานี้มักจะมีแหล่งที่มาจาก ชุมชน สถานที่ท่องเที่ยว ท่าเรือต่างๆ และมีกิจกรรมที่มักจะหลงเหลือขยะพลาสติกเอาไว้บนชายฝั่ง และทำให้น้ำทะเลซัดเอาขยะเหล่านี้ลงไปสร้างเป็นมลภาวะต่อสัตว์น้ำและทำลายระบบนิเวศน์ในที่สุด

การสร้างสรรค์นวัตกรรมเครื่องเก็บขยะบนท้องทะเลชิ้นนี้ น้องๆเยาวชน วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎ์ธานี ออกแบบให้มีลักษณะเป็นทุ่นลอยน้ำระดับผิวทะเล มีวงจรมอเตอร์สำหรับดูดน้ำเพื่อช่วยเป็นแรงดึงขยะขึ้นมาสู่สายพานลำเลียง และเก็บไว้ที่ตัวกักเก็บขยะที่มีความจุไม่ต่ำกว่า 50 กิโลกรัม อีกทั้งยังติดตั้งระบบ GPS บอกพิกัดแก่ผู้ใช้งานให้ทราบว่าเครื่องทำงานอยู่ตรงส่วนไหน และเมื่อขยะใกล้เต็มจะมีระบบส่งสัญญาณกลับมาหาผู้ใช้ให้นำเครื่องกลับมาเปลี่ยนตัวกักเก็บอีกที

เป็นมิตรกับโลกและสิ่งแวดล้อม

ความพิเศษของนวัตกรรมชิ้นนี้นอกเหนือจากการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพแล้ว ยังมีไฮไลท์อยู่ที่เทคโนโลยีชิ้นส่วนวัสดุ ที่มีส่วนประกอบทำมาจากธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย

  • แผงพลังงานโซล่าเซลล์ ที่ติดอยู่ด้านบนตัวถัง ตัวแผงจะรับพลังงานจากแสงอาทิตย์มากักเก็บไว้ แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานบริสุทธิ์สำหรับขับเคลื่อนการทำงาน
  • ทุ่นไฟเบอร์กักเก็บขยะ ไม่ต้องกังวลเลยว่าเจ้าสิ่งประดิษฐ์นี้จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เพราะตัวถังที่มองดูด้วยตาเปล่าถึงจะคล้ายพลาสติก แต่ความจริงแล้วทำมาจากใยของผักตบชวา ซึ่งสามารถย่อยสลายได้
  • สารเคลือบผิวอนุภาคนาโน (Nanoparticle Surface Coating) สารชนิดนี้เมื่อเคลือบจะไม่ระเหยในอากาศ ทำให้ไม่เป็นมลพิษ อีกทั้งยังป้องกันการขึ้นสนิมจากเกลือของทะเล

สุดท้ายเจ้าต้นแบบนวัตกรรมชิ้นนี้ ทาง สวทช. จะนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ ร่วมมือกับเยาวชนผู้ชนะเลิศ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎ์ธานี เพื่อเพิ่มเติมใส่ลงไปให้การทำงานของเครื่องเก็บขยะ ทรงประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นเพิ่มความจุตัวถังให้มีปริมาณกักเก็บมากยิ่งขึ้น และลงไปใช้ยังพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดสุราษฎ์ธานีต่อไป  นับว่าเป็นนวัตกรรมความสำเร็จอันเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคหลากหลายภาคส่วน ที่หวังอยากให้ธรรมชาติของโลกใบนี้เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง

แต่อย่างไรก็ตาม ต่อให้เราสามารถพัฒนาเทคโนโลยีดูแลสิ่งแวดล้อม หรือแก้ไขปัญหามลภาวะให้มากล้ำได้เพียงใด ก็คงดูเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะตราบใดที่มนุษย์อย่างเรายังคงเป็นตัวการสำคัญที่ทำลายสิ่งแวดล้อมเสียเอง และปัญหาจะยิ่งเลวร้ายมากขึ้นไปอีกหากตัวเราเองไม่ ‘หยุด!’  หยุดดำเนินชีวิตอย่างไร้ความรับผิดชอบ และเริ่ม ‘เปลี่ยน!’ เปลี่ยนพฤติกรรมมักง่าย ที่คอยทำลายสิ่งแวดล้อมไปทีละน้อย เพราะท้ายที่สุดแล้วเราคงไม่อยากให้อนาคตของลูกหลานในวันข้างหน้า ปราศจากเมืองสีเขียวอันอุดมสมบูรณ์อีกต่อไป

มาร่วมมือกัน ‘#ให้มันเปลี่ยนที่รุ่นของเรา’ เพื่อโลกสวยงามในวันข้างหน้ากันเถอะครับ

Fact Box

  • เดิมทีแล้วโครงการ ลดเปลี่ยนโลก กับโตโยต้า และ โครงการ เยาวชนลดเปลี่ยนโลก จาก สวทช. แต่เดิมทั้งสองโครงการนี้ยังไม่ได้ถูกนำมารวมกัน แต่ด้วยวิสัยทัศน์จากทาง โตโยต้า และ สวทช. ที่มีเป้าหมายเดียวกันคือ ต้องการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้กลับมาสะอาดงดงาม โดยเริ่มจากจุดเล็กๆที่ตัวเราเอง รวมไปถึงต่อยอดพื้นที่ประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมจากฝีมือเยาวชน ทำให้สุดท้ายแล้วทั้งสองโครงการนี้เกิดการร่วมมือผลักดันกันให้เกิดขึ้นจริงได้ในที่สุด
Tags: , ,