วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน .. ๒๔๕๗  ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร  เลื่อนตำแหน่งเป็นพระเทพโมลี  ครั้งถึงพ.. ๒๔๕๘ พรรษาที่ ๓๙ ปลายปี  ถูกถอดยศออกจากตำแหน่งพระเทพโมลี จะเล่าเรื่องการถูกถอดไว้ให้ลูกศิษย์ฟังนิดหน่อยพอกันสงสัย  คือในสมัยนั้นเพิ่งเกิดมหาสงครามในประเทศยุโรปใหม่ๆ  อัตตโนได้คิดแต่งหนังสือแทนจดหมายเหตุ  ชี้โทษแห่งทุวิชชาขึ้นเรื่องหนึ่ง  ให้ชื่อว่าธรรมวิจยานุศาสน์”  แจกในงานศพ ... หญิงดวงใจ  ปราโมช อยุธยา  ในพระบรมวงศ์เธอ  กรมขุนวรจักรธรานุภาพ  แต่หนังสือนั้น  ขัดข้องต่อรัฐประศาสโนบายของประเทศ  เป็นเหตุไม่ต้องด้วยพระราชนิยม  เมื่อทราบจึงมีพระบรมราชโองการ  รับสั่งให้ถอดจากสมณศักดิ์  ให้นำตัวไปกักไว้ที่วัดบวรวิหาร – -”  

เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องใหญ่มากเมื่อ 105 ปีที่แล้ว  และผู้ที่เขียนเล่าไว้ใช้คำแทนตัวเองว่าอัตตโน” (แปลว่า ตัวเอง) ก็คือพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท  จันทร์) ผู้เป็นเจ้าของเรื่อง

สำหรับคนอีสานแล้ว  นับถือท่านเป็นบูรพาจารย์อันดับหนึ่งและถือได้ว่าท่านเป็นสามัญชนคนอีสานคนแรกๆ ที่สร้างการยอมรับนับถือในทางสติปัญญาให้เกิดมีขึ้นกับคนภาคกลางโดยเฉพาะชนชั้นปกครอง  และเพราะความปราดเปรื่องของท่านนี้เองที่ทำให้จังหวัดอุบลราชธานีที่เป็นบ้านเกิดของท่านถูกให้สมญานามว่าเมืองนักปราชญ์” 

….

เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น  เราต้องทำความเข้าใจว่าการปฏิรูปการปกครองประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ในช่วงแรกเริ่มนั้น  ระบบราชการที่จะเป็นกลไกในการทำงานยังไม่เข้มแข็งพอ  แต่จำต้องมีการเลิกทาสไปเสียก่อน  จึงทำให้รัฐขาดตัวเชื่อมระหว่างชนชั้นนำกับราษฎร  ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการเลือกสรรแนวความคิดทางพุทธศาสนาบางประการมาเป็นศีลธรรมของชาติเพื่อเป็นตัวเชื่อมและเพื่อควบคุมคนในสังคมไปในตัว  โดยมีฐานพระธรรมยุตินิกายซึ่งพระราชบิดาของพระองค์ (รัชกาลที่ 4) ได้ทรงก่อตั้งและวางรากฐานไว้  

สายชล  สัตยานุรักษ์  ได้วิเคราะห์ไว้ว่า  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อธรรมยุตินิกายเป็นนิกายใหม่ทางศาสนาที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน  ยังไม่มีพระภิกษุสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ที่ยึดมั่นและสืบทอดจารีตประเพณีขององค์กรสงฆ์มาอย่างยาวนาน  จึงเปิดโอกาสให้แก่การตีความพุทธศาสนาใหม่ตลอดจนการเพิ่มเติมหลักคำสอนหรือหลักปฏิบัติใหม่ๆ เข้าไป  เพื่อทำให้พุทธศาสนาเอื้อประโยชน์ต่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างเต็มที่ตามพระราชประสงค์  

โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาวชิรญาณวโรรส รับเป็นผู้สนองพระบรมราโชบายนี้ด้วยการทำให้พระสงฆ์ทั่วประเทศเข้ามาอยู่ในระบบการปกครองและระบบการศึกษาที่พระองค์ทรงจัดตั้งขึ้นใหม่

และพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท  จันทร์) ถือเป็นแม่ทัพเอกในการกระจายอุดมการณ์ ชาติ ศาสนา  พระมหากษัตริย์ (ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ทั้งในภาคอีสานและภาคเหนือผ่านคำเทศนาและการจัดการศึกษาผ่านคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกายอย่างมีประสิทธิภาพ

แล้วอยู่ๆ  ในรัชสมัยของพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่ 6) ท่านก็โดนถอดยศ แต่คนที่เขียนประวัติท่านส่วนใหญ่เท่าที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาไม่ค่อยมีใครลงรายละเอียดว่าเพราะอะไร  อย่างมากก็แค่กล่าวถึงเพียงสั้นๆ ว่าถูกถอดยศและไม่นานก็ทรงคืนให้

ก็มีแต่ท่านนี้เองที่เขียนไว้ค่อนข้างละเอียด  แต่ก็เพียงให้ข้อมูลรายละเอียดข้อเขียนของตัวท่านเองที่ทำให้เกิดปัญหาเพราะขัดข้องต่อรัฐประศาสโนบายของประเทศ  เป็นเหตุไม่ต้องด้วยพระราชนิยม  โดยไม่ได้ให้รายละเอียดว่า รัฐประศาสโนบายของประเทศ แลพระราชนิยม นั้นเป็นอย่างไร

เมื่อสืบค้นดูเราจะพบความจริงบางอย่าง  กล่าวคือรัชกาลที่ 6 ก็มีการสืบทอดนโยบายเกี่ยวกับพุทธศาสนาเพื่อสร้างความมั่นคงแก่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตามแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวางรากฐานเอาไว้ 

จะเห็นได้จากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเทศนาให้คนยึดมั่นในชาติอยู่เสมอ  เช่นว่า 

ท่านทั้งหลายควรถือชาติเป็นสำคัญควรช่วยกันอุดหนุนชาติของตนไว้เพื่อความเป็นไทยสมชื่อ  ไม่ควรรักชีวิตของตนยิ่งกว่ารักชาติ”  

อีกทั้งพระบรมราโชบายในขณะนั้นก็ยังเน้นให้ประเทศสยามเป็นชาตินักรบ  ซึ่งนี่เองเป็นเหตุให้ประวัติศาสตร์ชาติไทยเน้นแต่ความเก่งกล้าสามารถของกษัตริย์นักรบจนไม่เห็นรายละเอียดของราษฎร  ดังจะเห็นได้จากทรงประกาศเข้าร่วมสงครามโลก ครั้งที่

แต่เพื่อให้การตัดสินพระทัยในครั้งนี้ได้รับการยอมรับและมีความชอบธรรมก็ทรงใช้หลักคิดจากพระธรรมเทศนาของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  (ซึ่งพระองค์ได้ทรงสถาปนาให้ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชา) ในเรื่องมงคลวิเสสกถา ว่า 

สมเด็จพระมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้ามาทรงตัดพระราชไมตรีและประกาศทำสงครามกับกรุงเยอร์มนีและกรุงออสเตรียกับฮุงการีในนามของกรุงสยาม  ทรงพร่าสันติภาพเสียก็เพื่อจะทรงอุปถัมภ์ธรรมในรวางมิตร เมื่อคำนึงถึงธรรมภาษิตว่าอังคํ ธนัญ์ ชีวิตัญ์จาปิ สัพ์พํ อัป์เปว  ชเห  ธัม์มนุส์สรัน์ ที่แปลว่าเมื่อรลึกถึงธรรม  ถึงคราวเข้า  ทรัพย์อวยวะ  แม้ชีวิตรก็ควรสละเสียทั้งนั้น”  เปนอันห้ามรัฐประศาสนนัยโดยประการอื่น 

จากนั้นก็ทรงโปรดให้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นเล่มแล้วแจกจ่ายออกไป  และในช่วงเดียวกันนั้น  พระธรรมเทศนาที่สำคัญของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  อย่างอนุศาสนี(ซึ่งต่อมาได้รับตีพิมพ์เป็นพระนิพนธ์) ที่สายชล  สัตยานุรักษ์  ศึกษาไว้อย่างดีและสรุปเนื้อหาสำคัญไว้ดังนี้  

“…คำว่า  “อนุศาสนี”  หมายถึงคำสั่งสอน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสั่งสอนที่ต้องยกขึ้นสอนกันซ้ำๆ ซากๆ เพราะเป็นเรื่องสำคัญทรงสอนข้าแผ่นดินหรือ ราษฎร  ถึงสิ่งที่ควรกระทำและควรละเว้นในฐานะที่เป็นพลเมืองดีของชาติในระบอบทุนนิยม  เช่น  ไม่เป็นหัวไม้ทำร้ายร่างกายหรือทำลายชีวิตผู้อื่น  ไม่ขโมยทรัพย์ของผู้อื่น  ทำงานเพื่อเลี้ยงตนเอง  ไม่เกาะผู้อื่นกินเช่นขอทาน  ขยันทำงานเพื่อแสวงหาทรัพย์  รู้จักรักษาและจับจ่ายทรัพย์  เลี้ยงดูคู่สามีภรรยาและบุตรตลอดจนบิดามารดา   เจือจานญาติมิตรผู้ขาดแคลนตลอดจนคนอนาถา  ออกทรัพย์เสียอากรเป็นราชพลีสำหรับบำรุงแผ่นดิน  ออกเงินหรือเรี่ยไรในการงานอันเป็นประโยชน์ต่อแผ่นดิน  เช่น  ซื้อเรือรบ  สร้างโรงเรียน  โรงพยาบาล  ถนน  สะพาน  ทำนุบำรุงลูกให้มีร่างกายล่ำสันแข็งแรง  โดยไม่เป็นโรคหรือพิการ  หากเป็นผู้ชายจะได้รับราชการทหารแล้วออกมาเป็นพลเมืองผู้สามารถ  หากเป็นผู้หญิงจะได้เป็นมารดาของบุตรที่แข็งแรง  และเป็นชาวเมืองผู้สามารถเช่นเดียวกัน  เคารพนับถือและซื่อสัตย์ในสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินของตน  โดยนับถือตลอดจนถึงราชสกุลนับถือเจ้าหน้าที่ราชการผู้เป็นใหญ่เหนือตนขึ้นไปตามควรแก่ฐานะ

และเทศนาหรือพระนิพนธ์สองบทนี้คือ มงคลวิเสสกถา และ อนุศาสนี ของพระสังฆราชาพระองค์นี้ได้เป็นศูนย์กลางของหลักพุทธศาสนาของไทยที่ใช้ในการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษามาตราบเท่าทุกวันนี้

แล้วหนังสือธรรมวิจยานุศาสน์”  ของพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ มีอะไรที่ขัดต่อรัฐประศาสโนบายของประเทศ  จนเป็นเหตุให้ไม่ต้องด้วยพระราชนิยมกระนั้นหรือ  ถึงขั้นมีพระบรมราชโองการรับสั่งให้ถอดจากสมณศักดิ์และให้นำตัวไปกักไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหารซึ่งไม่ใช่ที่ท่านอยู่เป็นแรมปี

ลองมาดูเนื้อหาส่วนนี้ของธรรมวิจยานุศาสน์”  กันว่าเป็นอย่างไร  

สุวิชาโน  ภวํ  โหติ   ทุวิชาโน  ปราภโว  ธมฺมกาโม  ภวํ  โหติ   ธมฺมเทสฺสี  ปราภโว   บัดนี้  จัดแสดงพระธรรมเทศนา  ในพุทธภาษิตคาถาซึ่งมีมาในปราภวสูตรสมเด็จพระผู้มีพระภาคบรมศาสดาผู้พิเศษในพิธีเทศนา  จึงได้แสดงเป็นพุทธนิพนธคาถาในปราภวสูตรในคาถาที่แรกดังได้ยกอุเทศขึ้นในเบื้องต้นว่าสุวิชาโน  ภวํ  โหติความรู้ดี  ย่อมเป็นเข็มทิศชี้ทางให้เกิดความเจริญ  “ทุวิชาโน  ปราภโว”  ความรู้ชั่ว  ย่อมเป็นเข็มทิศชี้ทางให้เกิดความเสื่อมทราม  “ธมฺมกาโม  ภวํ  โหติความรักใคร่ชอบใจในธรรม  ย่อมเป็นเข็มทิศชี้ทางให้เกิดความเจริญ  “ธมฺมเทสฺสี ปราภโวความเกลียดชังธรรมย่อมเป็นเข็มทิศชี้ทางให้เกิดความเสื่อมทราม ดังนี้

“…ในข้อที่ ซึ่งว่า  ทุวิชาโน  ปราภโว  วิชาชั่วเป็นสะพานแห่งความเสื่อมทราม  ดังนี้นั้น  อธิบายว่าวิชาใดที่สัมปยุตด้วยความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  เป็นมูล  คือเมื่อเล่าเรียนศึกษา  ก็เพ่งแต่จะให้ร้ายแก่ผู้อื่นเอาเปรียบเอาดีแต่ส่วนตัว  ดังวิชาฉ้อโกง  ฉกลักปล้นสะดมเขา  คือเพ่งความเสียหายให้แก่เขา  เอาความได้ความดีไว้ส่วนตัว  วิชาชั่วเหล่านั้น  บางสิ่งก็เป็นของจำเป็นจะต้องเล่าเรียน  บางสิ่งก็ไม่จำเป็นจะต้องเล่าเรียน  ดังวิชาทหาร  วิชาฝึกหัดยิงปืนให้แม่นยำเป็นต้น  ก็ชื่อว่า ทุวิชา  เป็นวิชาชั่วโดยแท้  เพราะขาดเมตตา  กรุณา  แก่ฝ่ายหนึ่ง  วิชาทำปืน  ทำดาบ  สรรพอาวุธยุทธภัณฑ์ทั้งปวง  ดังเรือรบต่าง   เรือเหาะ  เรือใต้น้ำ  ลูกแตกลูกตอร์ปิโด  เป็นต้น  ต้องนับว่าเป็นวิชาชั่ว  เป็นสะพานแห่งความเสื่อมทราม  ความฉิบหายโดยแท้  แต่ว่าวิชาเหล่านี้ถึงรู้ว่าเป็นวิชาชั่วก็จำเป็นจะต้องเรียนให้รู้ให้ฉลาด  แต่พึงเข้าใจว่าเป็นวิชาชั่ว  เป็นสะพานแห่งความเสื่อมทราม  มีตัวอย่างดังจะชี้ให้เห็นที่เกิดมหาสงครามขึ้นในประเทศยุโรปในพุทธศก ๒๔๕๗  ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมมาปรากฏในสมัยนี้พากันได้รับความพินาศฉิบหายใหญ่  คือมนุษย์ด้วยกัน  ควรรักกัน  ควรป้องกันรักษาซึ่งกันและกัน  จึงจะชอบ  จึงจะนับว่าเป็นชาติศิวิไลฯ

ความจริงเหตุที่จะบังเกิดขึ้น  ตามข่าวก็ไม่ใหญ่โตสักปานใด  ได้ความว่า  คนชาติเซอร์เวีย  ได้ปลงพระชนม์ชีพรัชทายาท   ทั้งพระราชา  ของประเทศออสเตรีย  ในเวลาเมื่อเสด็จประพาสประเทศเซอร์เวีย  โดยวิสัยของพวกอันธพาลเป็นเหตุ  สองประเทศจึงได้เป็นปากเป็นเสียงกันขึ้น  แลหารือไปยังมหาประเทศให้ช่วยระงับเหตุ  ข้างฝ่ายรัสเซียก็เข้ากับเซอร์เวีย  ข้างฝ่ายเยอรมันก็เข้ากับออสเตรีย  ข้างฝ่ายอังกฤษ  ฝรั่งเศส  เข้าฝ่ายรัสเซีย  เมื่อถืออำนาจเข้าหากันทั้ง ฝ่ายเช่นนั้น  ต่างฝ่ายก็มิได้ตั้งใจจะระงับเหตุ  มุ่งแต่จะวางอำนาจ  จนถึงพร้อมกันประกาศสงครามเข้าสัมประหารชิงชัยซึ่งกันและกัน  ลุกลามไปทั่วทั้งโลก  ล้มตายกันด้วยอาวุธศาสตราก็นับไม่ถ้วน  ล้มตายเสียด้วยอดอาหารหรือเกิดโรคต่าง เพราะกลิ่นไอโสโครกก็นับไม่ถ้วน  มิได้จะตายแต่พลรบอย่างเดียว  คนแก่และผู้หญิงและเด็กที่อพยพยกครอบครัวหนีข้าศึกไปไม่มีอาหารจะเลี้ยงกัน  ตายเสียก็มากนับไม่ถ้วน   คนตายระหว่างมหาสงครามคราวนี้  ไม่ต้องนับด้วยล้าน เห็นจะต้องนับด้วยโกฏิ  น่าสลดสังเวช  จะต้องพลัดพรากจากกันในระหว่างสามีภรรยาบุตรนัดดา  จะต้องเป็นหม้ายเป็นกำพร้า  ไม่มีผู้พาทำมาหากิน  จะต้องอยากจนต่อไปอีกจะพรรณนาไม่มีที่สิ้นสุด  ชักมาชี้แจงเพียงเล็กน้อยเพื่อจะให้เห็นอำนาจของวิชาชั่ว  ย่อมให้โทษร้ายแรงถึงอย่างนี้  

คือต่างฝ่ายต่างก็ถือว่าตนเป็นเจ้าของวิชา  เรือเหาะข้าก็ทำได้  เรือดำน้ำข้าก็ทำได้  เรือรบข้าก็มาก  ลูกแตกลูกระเบิดข้าก็ทำได้  ค่าที่ต่างฝ่ายต่างอวดวิชาของตน  จึงมีความกล้าหาญเข้าสู้รบชิงชัยกันและกัน  ปราศจากเมตตาปรานีแลเห็นกันเป็นเนื้อเป็นปลาไปหมดทีเดียว  คือวิชาชั่วเป็นเหตุแห่งความฉิบหาย  จะมากหรือน้อยให้ดูกำหนดตามกำลังของวิชา ดังวิชาทำหอกทำดาบแหลนหลาวเป็นต้น  ประโยคที่ทำก็ไม่ใหญ่โตนัก  ผลแห่งความฉิบหายที่ได้จากอาวุธศาสตราเหล่านั้น  ก็ไม่มากสักปานใด  ถ้าวิชามีประโยคใหญ่ดังวิชาทำลูกแตกลูกระเบิดเป็นต้น  ผลแห่งความฉิบหายที่จะได้  ก็เป็นของใหญ่ดังปรากฏอยู่ในสมัยทุกวันนี้  พึงเข้าใจว่า  วิชาที่สัมปยุตด้วยโลภะ  โทสะ  โมหะ  อิจฉา  พยาบาท  ชื่อว่า  “ทุวิชา”  สมด้วยพุทธภาษิตว่า   “ทุวิชาโน  ปราภโว”  วิชาชั่วเป็นสะพานแห่งความเสื่อม  ความฉิบหายดังนี้

นี่ก็เท่ากับว่าธรรมวิจยานุศาสน์ขัดแย้งกับอนุศาสนีและมงคลวิเสสกถาของพระสังฆราชา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 6 ได้ใช้เป็นหลักการอ้างอิงในการทำให้ประเทศเป็นประเทศแห่งนักรบและความชอบธรรมในการเข้าร่วมสงครามนั่นเอง  ซึ่งพระอุบาลีคุณูปมาจารย์วิเคราะห์การสงคราม  การซื้ออาวุธยุทธภัณฑ์นั้นว่าเป็น ทุวิชชา คือ วิชาชั่ว 

เราไม่อาจรู้เบื้องหลังความคิดของท่านพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท  จันทร์) ในการต่อต้านอำนาจรัฐด้วยการอธิบายคำสอนในพุทธศาสนา (ท่านยกเอาพุทธภาษิต) แตกต่างจากกระแสหลักของพุทธศาสนาไทย (สยาม) ซึ่งนำโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ซึ่งยกเอาธรรมภาษิต) จนต้องถูกถอดยศและกักบริเวณ 

แต่การวิพากษ์วิจารณ์สังคมการเมืองระดับโลกก็เกิดมีให้เห็นโดยพระและถือว่านี่เป็นการนำหลักพุทธศาสนามารับใช้มิติการเมืองระดับโลกโดยมุ่งที่สันติภาพ

และตามที่ท่านบันทึกไว้ว่า  เมื่อพรรษาที่ ๔๐ ตรงกับวันที่ มกราคม .. ๒๔๕๙  ทรงพระราชทานอภัยให้อัตตโนพ้นจากโทษ  แล้วทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานตำแหน่งสมณศักดิ์ ให้เป็นพระธรรมธีรราชมหามุนี  มีตำแหน่งเสมอกับพระราชาคณะชั้นเทพ” 

แต่ความจริงคือแม้จะได้สมณศักดิ์สูงขึ้น 1 ขั้น  แต่สถานะและอำนาจนั้นกลับต่ำกว่าเป็นจริง 1 ขั้น  นี่หมายความว่าหลังพ้นโทษแล้วท่านไม่ได้มีอำนาจตามตำแหน่งนั่นเอง 

และภายหลังเหตุการณ์นั้น  ก็เป็นจุดเปลี่ยนของชีวิต  ที่ทำให้ท่านมุ่งมาทางวิปัสสนาธุระ  และกลายเป็นที่ยอมรับนับถือให้เป็นครูบาใหญ่ของพระวิปัสสนาหรือพระป่าสายอีสานมาตั้งแต่นั้น  

Tags: