เพียงแค่ดีดนิ้วครั้งเดียว ชาวเซิร์บผู้อพยพไปตั้งรกรากในสหรัฐอเมริกาก็สามารถเปิดการแสดงผลงานของเขา ในค่ำวันหนึ่งของปี 1891 – ลูกไฟสีแดงฉายแสงวาบในมือของเขาทันที นั่นเป็นการแสดงการจุดหลอดไฟไร้สาย ที่ทำให้ผู้ชมภายในสำนักงานของเขาบนถนนเซาธ์ ฟิฟธ์ อเวนิวตะลึงงันราวกับได้ชมมายากล
ใช่แล้ว เขาคือนักมายากลแห่งกระแสไฟฟ้า ผู้มีนามว่า นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla)
มันคือช่วงเวลาแห่งสงคราม ที่เทสลาต้องลงสนามประลองฝีมือกับโธมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) นักประดิษฐ์มีชื่อเสียงอีกคนผู้มีนิสัยฉลาดแกมโกง และกล้าได้กล้าเสีย ไม่ว่าจะด้วยความเต็มใจหรือไม่ก็ตาม
สำหรับชาวอเมริกันแล้ว เทสลาไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์หน้าใหม่ หากเป็นนักทฤษฎีและนักประดิษฐ์ที่อาภัพ ความคิดของเขาแม้จะ ‘สุดยอด’ แต่ดูเหมือนจะไร้ประโยชน์อย่างมาก ในขณะที่เอดิสันวัดมูลค่าของการประดิษฐ์แต่ละสิ่งเป็นเงินดอลลาร์เข้าธุรกิจของตน
ตรงข้ามกับเทสลาที่ไม่สนใจเรื่องเงินทอง หากแต่เป้าหมายของการประดิษฐ์คิดค้นของเขานั้นอยู่เหนือการใช้พลังธรรมชาติสำหรับความต้องการของมนุษย์
สงครามกระแสไฟฟ้า เทสลาจะต้องมีชัยเหนือเอดิสัน แต่ก็นั่นละ ในชีวิตของเขามักจะฉายแววผู้แพ้อยู่บ่อยครั้ง
นิโคลา เทสลาสนใจเรื่องของพลังกระแสไฟฟ้าที่ลึกลับมาตั้งแต่วัยเด็ก ลูกชายของครอบครัวชาวเซิร์บซึ่งถือกำเนิดในหมู่บ้านสมิลยานของโครเอเชียโปรดปรานนักกับการเฝ้าดูแสงแปลบปลาบของสายฟ้าแลบ “บางครั้งผมรู้สึกคล้ายอากาศรอบตัวเต็มไปด้วยลิ้นไฟ” เทสลาย้อนรำลึกถึงอดีตลงในบันทึกส่วนตัวในเวลาต่อมา
บ่อยครั้งที่ปรากฏการณ์เหล่านี้มักจะสัมผัสกับภาพจำของเขา เทสลาสามารถมองเห็นช่องว่างหรือสิ่งต่างๆ ในดวงตาของเขาได้อย่างชัดเจน จนเขาเองแทบไม่รู้ว่าจะแยกความฝันและความจริงออกจากกันอย่างไร เมื่อเวลาผ่านไปเขาจึงค่อยๆ เรียนรู้ที่จะควบคุมแรงบันดาลใจภาพเหล่านั้น เขาเดินทางไปยังเมืองและประเทศแปลกหน้า สนทนากับผู้คนด้วยจิตวิญญาณ และทำความรู้จักเพื่อนใหม่
กระทั่งอายุได้ 17 ปี เทสลาก็เริ่มจัดการกับสิ่งประดิษฐ์อย่างจริงจัง จินตนาการของเขาสะท้อนให้เห็นตัวเขาเองว่า เขาไม่ต้องการรูปแบบ ภาพวาด หรือการทดลองเพื่อพัฒนาอุปกรณ์ หากแต่ทำตามกระบวนการสร้างทั้งหมดของการประดิษฐ์ที่มีอยู่ในหัวสมองของเขา ถึงตอนนั้นเขาได้สร้างอุปกรณ์ขึ้น พยายามแก้ไขข้อผิดพลาด แล้วปล่อยให้มันเดินหน้าไปเรื่อยๆ
ปี 1875 เทสลา-หนุ่มวัย 19 ปีได้รับทุนการศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคในเมืองกราซ (ออสเตรีย) เขาร่ำเรียนอย่างคร่ำเคร่ง จากตีสามจนถึงห้าทุ่ม และสอบผ่านเก้าครั้งในปีแรกด้วยคะแนนสูงสุด จนเมื่อเขาเริ่มอ่านหนังสือของวอลแตร์ (Voltaire) เขาจึงตั้งข้อสังเกตถึงความผิดหวังของตนเองว่า ‘สัตว์ประหลาด’ ที่เขียนหนังสือได้ถึงร้อยเล่มนี้ ยังต้องทรมานตัวเองกับงานหนักได้อย่างไร
ปี 1875 เทสลา-หนุ่มวัย 19 ปีได้รับทุนการศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคในเมืองกราซ (ออสเตรีย) เขาร่ำเรียนอย่างคร่ำเคร่ง จากตีสามจนถึงห้าทุ่ม และสอบผ่านเก้าครั้งในปีแรกด้วยคะแนนสูงสุด จนเมื่อเขาเริ่มอ่านหนังสือของวอลแตร์ (Voltaire) เขาจึงตั้งข้อสังเกตถึงความผิดหวังของตนเองว่า ‘สัตว์ประหลาด’ ที่เขียนหนังสือได้ถึงร้อยเล่มนี้ ยังต้องทรมานตัวเองกับงานหนักได้อย่างไร
แต่ตัวเขาเองก็ต้องทรมานกับบางสิ่ง อย่างเช่น ความรู้สึกรังเกียจไข่มุกและต่างหู ขยะแขยงเส้นผมของคนอื่น หรือรู้สึกรุ่มร้อนเวลาเห็นลูกพีช นอกจากนั้นเขายังทำกิจวัตรบางสิ่งซ้ำซาก อย่างการนับก้าวเวลาเดิน คำนวณพื้นที่สำหรับเก็บจานซุป ถ้วยกาแฟ และเครื่องบริโภค “ถ้าผมไม่ทำอย่างนั้น ผมจะรู้สึกว่ารับประทานอาหารไม่อร่อย” เขาจดไว้ในสมุดบันทึก
และท้ายที่สุด ในเมืองกราซนี่เอง ที่เทสลาได้พบกับพื้นที่การวิจัยลึกลับซึ่งผูกพันเขาไปตลอดชีวิต นั่นคือ ไฟฟ้า สำหรับคนทั่วไปแล้ว ไฟฟ้าในช่วงเวลานั้นยังคงเป็นเสมือนของเหลวลึกลับที่ไหลไปตามเส้นสายราวกับมีเวทมนตร์ เทสลาต้องการที่จะทำความเข้าใจกฎของของเหลวนี้ และเชื่อมั่นโดยสัญชาตญาณว่า อนาคตของระบบที่ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้ในเวลานั้นก็คือ กระแสไฟฟ้าสลับ
แตกต่างจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยแม่เหล็กถาวรและขดลวดหมุนภายในเครื่องกำเนิด ไฟฟ้ากระแสสลับเปลี่ยนแม่เหล็กในศูนย์กลางเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในขดลวดที่ติดตั้งจากภายนอก แต่อุปกรณ์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าทั้งหมดในเวลานั้นได้รับพลังงานผ่านกระแสตรงต่อเนื่องที่ไหลในทิศทางเดียว โดยเฉพาะมอเตอร์ไฟฟ้าที่ทำงานด้วยกระแสไฟฟ้าสลับ นักวิทยาศาสตร์ยุคนั้นยังไม่คิดว่าจะเป็นไปได้
ต้องใช้เวลาถึงเจ็ดปีกว่าที่วิศวกรหนุ่มของบริษัทโทรศัพท์ในบูดาเปสต์จะพัฒนาได้สำเร็จ และมันเกิดขึ้นขณะเดินเล่นในสวนสาธารณะในตอนเย็นวันหนึ่งของปี 1882 ที่จู่ๆ เขารู้สึกคล้าย ‘ฟ้าแลบ’ ผ่านศีรษะ เทสลารีบคว้าแท่งไม้และวาดไดอะแกรมของเครื่องยนต์ใหม่บนพื้นฝุ่น มีขดลวดอยู่ภายนอกซึ่งไหลผ่านกระแสสลับ ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กหมุนขับเคลื่อนใบพัดในเครื่องยนต์ สัปดาห์ต่อมาเขาเร่งพัฒนามอเตอร์ไดนาโมและหม้อแปลง ที่ใช้กระแสไฟฟ้าสลับขึ้นมาจนสำเร็จ
เทสลายังรู้ด้วยว่า กระแสไฟฟ้าสลับมีข้อได้เปรียบกระแสไฟฟ้าตรง เนื่องจากลักษณะทางกายภาพมันสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านสายเคเบิลได้ในระยะทางไกล ในขณะที่กระแสไฟฟ้าตรงสามารถจ่ายกระแสไฟในระยะทางสั้นๆ เท่านั้น
จู่ๆ เขารู้สึกคล้าย ‘ฟ้าแลบ’ ผ่านศีรษะ เทสลารีบคว้าแท่งไม้และวาดไดอะแกรมของเครื่องยนต์ใหม่บนพื้นฝุ่น มีขดลวดอยู่ภายนอกซึ่งไหลผ่านกระแสสลับ ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กหมุนขับเคลื่อนใบพัดในเครื่องยนต์ สัปดาห์ต่อมาเขาเร่งพัฒนามอเตอร์ไดนาโมและหม้อแปลง ที่ใช้กระแสไฟฟ้าสลับขึ้นมาจนสำเร็จ
1884 สองปีถัดมา เขาลาออกจากบริษัทโทรศัพท์ และเดินทางมุ่งหน้าไปยังนิวยอร์กพร้อมจดหมายรับรอง เขาต้องการทำงานกับโธมัส อัลวา เอดิสันผู้ยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้เขาได้ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ
ผู้คิดค้นหลอดไฟได้สร้างโรงไฟฟ้าสาธารณะแห่งแรกของโลกขึ้นที่ใจกลางแมนฮัตตัน แต่ถึงกระนั้น กระแสไฟฟ้าตรงสามารถจ่ายไฟให้แสงสว่างริมถนนภายในระยะไม่กี่ร้อยเมตรเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เอดิสันจึงวางแผนที่จะสร้างเครือข่ายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ครอบคลุมเมือง
จดหมายรับรองของเทสลาทำให้เอดิสันสนใจอยากสัมภาษณ์ แต่การเผชิญหน้ากันครั้งแรกของทั้งสองกลายเป็นเรื่องไม่สบอารมณ์ เมื่อเทสลานำเสนอข้อดีของระบบไฟฟ้าของเขา ทำให้นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันตอบกลับอย่างหัวเสีย ให้เทสลาหยุดพูดเรื่องไร้สาระ “คนที่นี่ชอบระบบกระแสไฟฟ้าตรง และนั่นคือสิ่งที่ผมทำ” แต่เอดิสันก็เห็นแววความสามารถด้านเทคนิคของหนุ่มเซิร์บ จึงรับเขาเข้าทำงาน และสัญญากับเทสลาว่าจะมอบเงินพิเศษให้ 50,000 ดอลลาร์ หากว่าเขาสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของไดนาโมกระแสไฟฟ้าตรงให้ดีขึ้นได้
เทสลารับข้อเสนอ และเขาสามารถปรับเปลี่ยนไดนาโมอย่างที่เจ้านายคาดหวังได้สำเร็จและมีประสิทธิภาพมากขึ้นภายในเวลาไม่ถึงปี
การเผชิญหน้ากันครั้งแรกของทั้งสองกลายเป็นเรื่องไม่สบอารมณ์ เมื่อเทสลานำเสนอข้อดีของระบบไฟฟ้าของเขา ทำให้นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันตอบกลับอย่างหัวเสีย ให้เทสลาหยุดพูดเรื่องไร้สาระ “คนที่นี่ชอบระบบกระแสไฟฟ้าตรง และนั่นคือสิ่งที่ผมทำ”
ทว่าเงินพิเศษที่เคยสัญญากันไว้นั้น กลายเป็นเพียงแค่ลมปาก เอดิสันปฏิเสธที่จะให้ “เทสลา ผมว่าคุณคงไม่เข้าใจอารมณ์ขันของคนอเมริกันแน่เลย” เขาบอก เทสลารู้สึกโกรธ และขอลาออกทันที
ความเก่งกาจสามารถของเทสลาระหว่างทำงานอยู่กับ Edison Electric Light Company เป็นที่รับรู้กันทั่ววงการ หลังจากลาออกมาแล้ว เขา-ในวัย 29 ก็ตอบรับข้อเสนอจากกลุ่มนักลงทุน ในการก่อตั้งบริษัทเป็นของตนเอง และใช้ชื่อบริษัทว่า Tesla Electric Light and Manufacturing Company
ถึงอย่างนั้นมันก็ทำให้เขารู้สึกผิดหวังอีกครั้ง แทนที่เขาจะนำระบบกระแสไฟฟ้าสลับออกสู่ตลาด เจ้าของทุนกู้กลับต้องการให้เขาสร้างนวัตกรรมโคมไฟถนนและโรงงาน เทสลาจำทนยอมทำตาม เขาพัฒนาโคมไฟโค้งแข่งกับคนอื่นจนได้รับสิทธิบัตร แต่แล้วเขากลับถูกกลุ่มนักลงทุนบีบออกจากบริษัท และโกงเงินอีกจนได้
หลังจากนั้นก็เป็นช่วงเวลาของการต่อสู้ ตลอดหนึ่งปีเขาต้องทำงานก่อสร้างถนนเป็นลูกจ้างรายวัน กระทั่งชะตากรรมชีวิตของเขาพลิกเปลี่ยนเมื่อต้นปี 1887 เมื่อหัวหน้าคนงานก่อสร้างรับรู้เรื่องเครื่องยนต์มหัศจรรย์ของเทสลา จึงติดต่อให้เขาได้พบกับอัลเฟรด เค. บราวน์ (Alfred K. Brown) ผู้อำนวยการบริษัทเวสเทิร์น ยูเนียน เทเลกราฟ – บริษัทโทรเลขกำลังสนใจระบบกระแสไฟฟ้าสลับ เพื่อขยายเส้นทางโดยไม่ต้องสิ้นเปลืองงบในการลงทุนมากนัก
ตลอดหนึ่งปีเขาต้องทำงานก่อสร้างถนนเป็นลูกจ้างรายวัน กระทั่งชะตากรรมชีวิตของเขาพลิกเปลี่ยนเมื่อต้นปี 1887 เมื่อหัวหน้าคนงานก่อสร้างรับรู้เรื่องเครื่องยนต์มหัศจรรย์ของเทสลา จึงติดต่อให้เขาได้พบกับอัลเฟรด เค. บราวน์ (Alfred K. Brown) ผู้อำนวยการบริษัทเวสเทิร์น ยูเนียน เทเลกราฟ – บริษัทโทรเลขกำลังสนใจระบบกระแสไฟฟ้าสลับ เพื่อขยายเส้นทางโดยไม่ต้องสิ้นเปลืองงบในการลงทุนมากนัก
พวกเขาไปเช่าห้องปฏิบัติการที่กว้างขวาง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบริษัทของเอดิสันมากนัก และเทสลาสามารถผลักดันระบบกระแสไฟฟ้าสลับไปใช้งานได้จริง สงครามกระแสไฟฟ้าจึงเริ่มต้นขึ้น เทสลาได้รับสิทธิบัตรสำหรับส่วนประกอบของเครื่องยนต์ใหม่ของเขา ได้รับเชิญในการจัดแสดงต่อหน้าผู้ชมที่กระหายอยากรู้อยากเห็น และไม่ช้าก็ได้รับความสนใจจากนักอุตสาหกรรมที่ชื่อ จอร์จ เวสติงเฮาส์ (George Westinghouse)
เวสติงเฮาส์เองก็เป็นวิศวกรและนักประดิษฐ์ ที่เข้าสู่ตลาดไฟฟ้าเมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้า และได้ซื้อสิทธิบัตรไว้หลายฉบับ เขาเชื่อในเศรษฐศาสตร์ของเทคโนโลยีใหม่ แตกต่างจากเอดิสัน เวสติงเฮาส์เสนอขอซื้อสิทธิบัตรจากเทสลา โดยจะจ่ายค่าลิขสิทธิ์จำนวน 2.5 ดอลลาร์สำหรับแต่ละแรงม้าที่ขาย ‘ไฟฟ้าเทสลา’ ได้ และมุ่งเข้าสู่สนามต่อสู้เพื่อกระแสไฟฟ้าสลับ
เหตุเพราะการสูญเสียพลังงานต่ำ เวสติงเฮาส์จึงสามารถสร้างโรงไฟฟ้าที่นอกเมืองได้ นอกจากนั้นสายทองแดงเส้นบางๆ ก็ใช้ได้ผลกว่าระบบกระแสไฟฟ้าตรง ดังนั้นต้นทุนการผลิตจึงต่ำกว่าของคู่แข่ง นั่นเป็นเหตุผลที่เวสติงเฮาส์สามารถขายไฟฟ้าในราคาที่ถูกกว่า และภายในเวลาไม่นานเขาก็มีลูกค้ามากกว่าเอดิสัน
แต่เอดิสันตอบโต้ด้วยการพยายามทำลายชื่อเสียง เขารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติเหตุต่างๆ ที่เกิดจากระบบกระแสไฟฟ้าสลับ จัดทำเป็นแผ่นพับ และไล่จี้นักการเมือง เขาจ้างเด็กนักเรียนให้ล่อแมวและสุนัขไปยังแผ่นโลหะที่วางไว้ในที่สาธารณะ แล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าสลับผ่านแผ่นโลหะ ทำให้แมวและสุนัขถูกไฟฟ้าช็อต จากนั้นเขาก็หันไปตะโกนถามผู้ชม “สิ่งประดิษฐ์แบบนี้คุณจะยอมซื้อไปให้ภรรยาที่คุณรักทำอาหารหรือ”
ในเดือนมกราคม 1889 นิวยอร์กเริ่มบังคับใช้กฎหมาย หลังจากฆาตกรรายหนึ่งถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยเก้าอี้ไฟฟ้า และเอดิสันก็ยื่นข้อเสนอในทันทีให้ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อการนี้ ในเดือนสิงหาคม 1890 มีนักโทษรายแรกที่เสียชีวิตบนเก้าอี้ไฟฟ้า ระบบกระแสไฟฟ้าสลับ เจ้าหน้าที่ต้องสับสวิตช์ถึงสองครั้งกว่านักโทษจะหยุดกระตุก
ถึงกระนั้น การสร้างกระแสโจมตีของเอดิสันก็ไม่บรรลุผลที่ต้องการ ภายในเวลาสองปีเวสติงเฮาส์สามารถสร้างโรงไฟฟ้าได้มากกว่า 30 แห่ง และจ่ายกระแสไฟฟ้าให้เมืองต่างๆ ในอเมริกา 130 เมือง ด้วยระบบกระแสไฟฟ้าสลับของเทสลา
นิโคลา เทสลา อัจฉริยะผู้อาภัพ แม้จะมีชื่อเป็นเจ้าของสิทธิบัตรราว 700 ฉบับ แต่ชีวิตของเขาก็ยังตกอับ ยากจนในบั้นปลาย เขานอนเสียชีวิตอยู่ภายในห้องพักโรงแรมแห่งหนึ่งในนิวยอร์กเมื่อวันที่ 7 มกราคม 1943 ด้วยวัย 86 ปี
อ้างอิง:
- http://www.elektronik-kompendium.de/public/schaerer/stromkrg.htm
- https://de.wordssidekick.com/nikola-tesla-biography-inventions-quotes-8091
หมายเหตุ: ภาพเปิดบทความ ดัดแปลงภาพต้นฉบับจาก wikimedia
Tags: กระแสไฟฟ้า, Nikola Tesla, นิโคลา เทสลา