จากกรณีเมื่อเช้านี้ (4 สิงหาคม 2566) ที่ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ใช้อำนาจเลื่อนระเบียบวาระการพิจารณาโหวตนายกรัฐมนตรี และการอภิปรายการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ 272 ที่ว่าด้วยการยกเลิกให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มีสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกนายกรัฐมนตรีออกไป และปิดประชุมโดยฉับพลัน

สิ่งที่เกิดขึ้นสร้างความสงสัยและเกิดคำถามว่า เป็นเกมการเมืองรูปแบบหนึ่งหรือไม่ ที่มักถูกใช้เพื่อให้องค์ประชุมไม่ครบ และไม่สามารถพิจารณาหรือโหวตญัตติใดๆ ต่อได้ เมื่อการประชุมรัฐสภาที่ถูกเลื่อนออกออกไปเรื่อยๆ เช่นนี้ ประเทศต้องสูญเสียงบประมาณแผ่นดินในการจัดการประชุมสภามากน้อยแค่ไหน?

The Momentum ชวนดูตัวเลขซึ่งเป็นจำนวนเงินที่เสียไปโดยเปล่า เพื่อมาดูกันว่าการเลื่อนการประชุมในแต่ละครั้ง คนไทยต้องเงินไปเป็นจำนวนเท่าใด

หากลองคำนวณง่ายๆ จากเงินเดือนประจำตำแหน่งจะได้รายจ่ายเฉพาะค่าเงินเดือนของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด ดังนี้

• ประธานสภาผู้แทนราษฎร – เงินประจำตำแหน่ง 125,590 บาท

• รองประธานสภาผู้แทนราษฎร – เงินเดือนประจำตำแหน่ง 115,740 บาท (ซึ่งมีทั้งหมด 2 คน จะคิดเป็น 231,480 บาท)

• สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร – เงินเดือน 113,560 บาท (ซึ่งมีทั้งหมด 497 คน คิดเป็น 56,439,320 บาท)

• ประธานวุฒิสภา – เงินเดือนประจำตำแหน่ง 119,920 บาท

• รองประธานวุฒิสภา – เงินเดือนประจำตำแหน่ง 115,740 บาท (ซึ่งมีทั้งหมด 2 คน คิดเป็น 231,480 บาท)

• สมาชิกวุฒิสภา113,560 บาท (ซึ่งมีทั้งหมด 247 คน คิดเป็น 28,049,320 บาท)

รวมทั้งหมดเป็นเงินรวม 85,197,110 บาท

หากคิดโดยเฉลี่ยออกมาเป็นรายวัน เฉพาะวันนี้ งบประมาณจะเสียเปล่ากันไปถึง 2,839,904 บาท โดยที่ยังไม่รวมค่าเดินทาง ค่าสถานที่ ค่าอาหาร ฯลฯ มากไปถึงค่าเสียเวลาและโอกาสของคนทั้งประเทศ

“ถามว่า ส.ส. เขามารออะไรกัน มารอ ส.ว. ครับตอนนี้ แล้วมากันกี่ท่านครับตอนนี้ ว้าย 49 ท่าน”

ประโยคข้างต้นจาก วิโรจน์ ลักขณาอดิศร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จากพรรคก้าวไกล ที่แพร่หลายอย่างมากในสื่อออนไลน์นี้ อาจมองได้ว่าเป็นการล้อเลียนเสียดสีที่เหล่า ส.ว.ที่จงใจไม่เข้าประชุมเพื่อที่จะได้เลี่ยงโหวตญัตติที่อาจส่งผลเสียกับเหล่าพวกพ้องของตนเอง ซ้ำยังประวิงเวลาไปเรื่อยๆ หากแต่ถ้าให้มองลึกขึ้นผ่านจำนวนตัวเลขที่เสียไปทั้งหมดนี้

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเป็นค่าเสียเวลาและโอกาสของคนที่เสียภาษีในประเทศนี้อย่างมากจริงๆ

Tags: