สหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN รายงานว่า พันธุ์ไม้พื้นถิ่นของยุโรปกว่าครึ่งกำลังเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ โดยบางส่วนนั้นเป็นพันธุ์ไม้โบราณที่เกิดในทวีปยุโรปตั้งแต่ก่อนยุคน้ำแข็ง แต่เมื่อการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ครั้งที่ 6 เกิดขึ้น (การสูญพันธุ์ในยุคโฮโมเซเปียนส์ครองโลก) ไม้ยืนต้นยุโรปกลับถูกคุกคามมากกว่าสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก ผึ้ง และผีเสื้อเสียอีก
ในความเป็นจริงแล้ว ต้นไม้เป็นหนึ่งในกลุ่มที่เสี่ยงสูญพันธุ์มากที่สุด โดยถูกประเมินไว้ในบัญชีแดงของ IUCN ซึ่งความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ของกลุ่มสปีชีส์นี้สูงกว่าหอยน้ำจืดและพืชใบ
โดยมีพืชทั้งหมด 454 สปีชีส์ในทวีปยุโรป ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่า 42% ของพืชสปีชีส์ท้องถิ่นกำลังถูกคุกคามไปทั่วทั้งทวีป ส่วนพืชพื้นถิ่นที่พบเฉพาะในยุโรป พบว่า 58% เสี่ยงสูญพันธุ์ ขณะที่ 15% เชื่อว่าใกล้สูญพันธ์อย่างมาก
สิ่งที่แย่ที่สุดคือเราทำได้เพียงรับรู้ว่ามันเกิดขึ้น และบัญชีแดงของ IUCN ที่เผยแพร่ล่าสุดนี้ทำให้เห็นว่า เราสร้างผลกระทบให้โลกมากขนาดไหน
“รายงานนี้แสดงให้เห็นสถานการณ์ของพืชหลายๆ สปีชีส์ที่เรามองข้ามไป ซึ่งล้วนแต่เป็นกระดูกสันหลังของระบบนิเวศของทวีปยุโรปและสร้างโลกที่ดีให้กับเรา” ลุค บาส ผู้อำนวยการสำนักงาน IUCN แห่งยุโรปกล่าว
เมื่อไม่นานมานี้ มีความชัดเจนแล้วว่า พืชและต้นไม้จำนวนมากกำลังเผชิญกับอนาคตที่ไม่แน่นอน เฉพาะในช่วงไม่กี่ปีมานี้ มีพืชที่เรารู้จักสูญพันธุ์มากขึ้นถึง 4 เท่า นับตั้งแต่มีการบันทึกในศตวรรษที่ 18
การศึกษาที่เผยแพร่เมื่อเดือนมิถุนายนปีนี้ พบว่า ตั้งแต่ปี 1900 มีพืชหายไปเฉลี่ย 3 สปีชีส์ต่อปี ซึ่งเร็วกว่าที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ และจำนวนนี้ก็มากเป็นสองเท่าของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และนก รวมกัน
ทั้งนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการตัดไม้ทำลายป่าและการพัฒนาเมือง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ การทำฟาร์มปศุสัตว์ การใช้ประโยชน์จากที่ดิน และไฟป่า
ที่มา
https://www.bbc.com/news/science-environment-49838650
ภาพ : BORJA SUAREZ/REUTERS
Tags: ต้นไม้, พันธุ์พืช, พืชยุโรป