หมายเหตุ: ซีรีส์นี้มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน อนึ่ง ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาถ่ายทอดเรื่องราวในแง่ลามกอนาจาร แต่ต้องการสะท้อนปรากฏการณ์เชิงสังคมและวัฒนธรรมที่อยู่ภายใต้ความวาบหวิว

หลังจากที่ทำคุณอารมณ์ค้างจากเรื่องราวประวัติความเป็นมาของอุตสาหกรรม AV ใน ‘ญี่ปุ่นหลังม่านเซ็นเซอร์: ความเป็นมาอุตสาหกรรม AV หนังผู้ใหญ่ที่เราไม่เคยดูจนจบเสียที: ตอนที่ 1’ https://themomentum.co/momentum-special-report-av-history1 ที่ฉายภาพถึงการถือกำเนิดหนัง AV ในประเทศญี่ปุ่น

คราวนี้เราจะพาคุณไปร่วมค้นหาเรื่องราวความเป็นมาของอุตสาหกรรมหนัง AV กันต่อ โดยในตอนนี้จะเน้นไปที่กระบวนการพัฒนา และการปรับตัวของอุตสาหกรรม AV เพื่อให้อยู่รอดในโลกยุคไฮเทค

ขอเตือนว่าอย่าเพิ่งกด Skip ถ้าหากคุณไม่อยากพลาดทีเด็ด!

90s – 00s
รสนิยมที่หลากหลายกับแนวหนัง AV ที่แตกแขนง

หลังจากที่ธุรกิจ AV เริ่มอยู่ตัว ค่ายผู้ผลิตหลายๆ รายเริ่มผลิตหนังที่มีการแสดงแบบสอดใส่จริงๆ ออกมาให้มีแนวทางที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม

ในช่วงนี้จะมีหนัง AV แนวที่เรียกกันว่า ‘ฮะเมะโดริ’ (Hamedori) และ นัมปะ (Nampa) ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก หนังแนว  ‘ฮะเมะโดริ’ (Hamedori) เป็นหนังที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการถ่ายทำ เพราะใช้ตากล้องและนักแสดงชายเป็นคนคนเดียวกัน เพื่อใช้มุมกล้องแทนสายตาของผู้ชม เป็นเทคนิคที่เพิ่มอารมณ์ร่วมราวกับว่าผู้ชมกำลังเล่นบทบาทนักแสดงนำ โดยเจ้าพ่อ ‘ฮะเมะโดริ’ (Hamedori) ผู้ที่ทำให้หนังแนวนี้เป็นที่โด่งดังแพร่หลายคือ ผู้กำกับเอวีชื่อดังอย่าง Company Matsuo

ส่วนหนังแนวนัมปะ (Nampa) คือหนังแนวออกล่าไล่จีบผู้หญิงตามท้องถนนเพื่อพาไปสำเร็จความใคร่ โดยเจ้าพ่อนักแสดงหนังแนวนัมปะที่โด่งดังในยุคนี้ คือ Hiroshi Shimabukuro หนุ่มอารมณ์ดีที่ชอบเมืองไทย (ภายหลังมาหากินด้วยการเปิดร้านเลาจน์คาราโอเกะญี่ปุ่นชื่อ Vanilla ที่สุขุมวิท 33) หนังแนวนี้ยังก่อให้เกิดหนังแสดงชายดังๆรุ่นหลังตามมาอีกมากมายเช่น ชิมิ เคน (Shimi Ken)

ขณะเดียวกันก็เริ่มมีการเปิดโอกาสให้นักแสดงหญิงที่มีอายุเยอะ (แนว Milf อายุ 30-40 ปี) ได้มีพื้นที่ในวงการ AV มากขึ้น จากเดิมนักแสดงหญิงที่จะเล่น AV ได้มักจะดู เด็กๆ ใสๆ แบบสาวญี่ปุ่นยุค 80’s โดยผู้กำกับที่ถือเป็นคนปลุกปั้นแนว Milf ให้โด่งดังคือ โกโร่ ทาเมเกะ (Goro Tameike)

เราจึงได้เห็นถึงรสนิยมทางเพศที่หลากหลายของคนในยุคนี้ผ่านแนวของหนัง AV ประเภทต่างๆ ทั้ง กามวิตถาร SM เลสเบี้ยน หน้าอกเล็ก อกใหญ่ คอสเพลย์ หลั่งใน หรือ บุคคะเกะ (Bukkake)

2000 – 2010
‘อินเทอร์เน็ต’ ศัตรูตัวฉกาจของวงการ AV

ในยุค 2000 กองเซ็นเซอร์ได้มีการปรับระเบียบของหนังเอวีให้ยืดหยุ่นมากขึ้น โดยอนุญาตให้มีการเซ็นเซอร์ได้บางลง และ อนุญาตให้การโชว์ขนลับ หรือ ทวารเป็นเรื่องถูกต้อง จนหลายๆ ค่ายเริ่มทำหนังแบบเซ็นเซอร์บางออกมาสู่ตลาดมากมาย

ที่เราได้เห็นกันบ่อยๆ คือพวกหนังประเภทที่พาดหัว Girigiri mosaic หรือ Max mosaic ที่จะเซ็นเซอร์เฉพาะจุดที่ห้ามโชว์ออกมา เช่น อวัยวะเพศ เท่านั้น (แต่เบื้องหลังการทำนั้นแสนสาหัสเพราะต้องใช้คนและเวลาเยอะมาก ทำให้บริษัทญี่ปุ่นนั้นต้องส่งไฟล์ต้นฉบับออกไปตัดต่อในประเทศที่ค่าแรงงานถูก)

ดูเหมือนว่าทิศทางและสินค้านั้นดูน่าสนใจขึ้นก็จริง แต่หลังการเข้ามาของ DVD และอินเทอร์เน็ต ธุรกิจ AV ที่เคยได้รับความนิยมถึงขีดสุดก็ต้องปรับตัวกันอย่างหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมาถึงของอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ผู้คนหนีไปดูหนังผู้ใหญ่ออนไลน์กันมากขึ้น (เว็บต่างประเทศ) เมื่อหาดูได้ฟรี ยอดขายก็ตกลง การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่จึงเกิดขึ้น

ผู้ประกอบการหลายรายจำเป็นจะต้องผ่าตัดกระบวนการทำงานครั้งยิ่งใหญ่ โดยเริ่มจากการลดต้นทุนกระบวนการผลิตและการจัดจ้าง มีข้อมูลว่าช่วงยุค 80s-90s หนัง AV เรื่องหนึ่งใช้งบประมาณในการถ่ายทำต่อวันสูงถึง 3,000,000 เยน! (หรือประมาณ 1,000,000 บาท)

แม้นักแสดงจะได้รับค่าตัวน้อยลง แต่ในเรื่องแย่ๆ ก็ยังมีข้อดี ในอดีตกระบวนการถ่ายทำส่วนใหญ่จะยืดเยื้อโดยใช้เวลาในการถ่ายทำราว 2-3 วัน แต่เมื่อการลดต้นทุนเป็นสิ่งที่ต้องทำ หนัง AV ในยุคนี้กว่า 80% จึงต้องถ่ายทำให้จบภายในวันเดียว เพราะหากยืดเยื้อ นายทุนจะต้องเสียเงินเพิ่มขึ้น ทั้งค่าเช่าสตูดิโอ ค่าแรงทีมงาน หรือค่าคิวนักแสดง เมื่อเป็นเช่นนี้ รูปแบบในการทำงานของกองถ่าย AV จึงเป็นระบบระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนขึ้น ส่งผลให้ทีมถ่ายทำ AV ในยุคนี้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น

Photo: Wikimedia Commons

2010 – NOW
อยากขยับเข้าไปให้ใกล้เธอ…กำเนิด Touch Marketing

นับตั้งแต่เกิดการปรับตัวครั้งใหญ่ จนแล้วจนรอดสถานการณ์ความซบเซาของอุตสาหกรรม AV ก็ยังไม่กระเตื้องเท่าที่ควร(ถึงแม้จะมีบางค่ายที่พยายามดึงอดีตคนมีชื่อเสียงเข้ามาเล่นบ้าง ) ประกอบกับผู้ชายญี่ปุ่นยุคใหม่ส่วนใหญ่จะให้ความสนใจเรื่องเทรนด์การดูแลตัวเองเป็นหลัก หรือไม่ก็รักอนิเมะมากกว่า AV เมื่อเป็นเช่นนี้ค่ายหนัง AV จึงเริ่มขยับตัวครั้งใหญ่ด้วยการผุดไอเดีย ‘ลดช่องว่างระหว่างคนดู และนักแสดง’ และ ‘ปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของนักแสดง’ ส่งผลให้ผู้ชมใกล้ชิดกับนักแสดงได้มากขึ้น อีกทั้งยังทำให้นักแสดงกลายเป็นที่รู้จักของคนดู จนเกิดเป็นการตลาดแบบสัมผัส หรือ Touch Marketing

Touch Marketing เป็นกลยุทธ์ที่ผู้จัดจำหน่ายร่วมมือกับทางค่ายหนัง จัดงานอีเวนต์เปิดตัวหนัง AV โดยจะนำนักแสดง AV มาตั้งโต๊ะแจกลายเซ็น และ Hi-Touch สำหรับผู้ที่มาร่วมงาน และซื้อแผ่น AV เท่านั้น

นอกจากนี้นักแสดงส่วนใหญ่ก็หันมาเล่นโซเชียลมีเดียมากขึ้นทั้งทวิตเตอร์ และเฟสบุ๊ก ซึ่งแน่นอนว่าได้ผล เพราะนักแสดง AV หลายรายเริ่มมีฐานแฟนคลับประจำของตัวเองมากขึ้น!

ขณะเดียวกัน นักแสดง AV หลายคนก็เริ่มหันไปรับงานต่างประเทศ มีการเปลี่ยนภาพลักษณ์ให้นักแสดงเหล่านี้กลายเป็นกลุ่มศิลปินไอดอลเพื่อให้พวกเธอเป็น ‘เอนเตอร์เทนเนอร์’ มากกว่า ‘นักแสดงหนังโป๊’ โดยจะรวมตัวกันทำกิจกรรมในรูปแบบวงดนตรีสาว ( เช่น Ebisu mascats) รับงานทั้งถ่ายหนัง ถ่ายโฆษณา ถ่ายแบบ งานอีเวนต์ เหมือนที่เราได้เห็น โซระ อาโออิ (Sora Aoi) เข้ามารับงานที่ไทยอยู่เป็นประจำ เพราะลำพังการคาดหวังยอดขายจากในประเทศเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอเหมือนที่ผ่านมา

หนัง AV เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนประเทศญี่ปุ่น

มีข้อมูลที่น่าสนใจระบุไว้ว่าธุรกิจ Adult Content หรือหมวดธุรกิจที่เจาะตลาดสำหรับผู้ใหญ่ทั้งหลายในประเทศญี่ปุ่น ไล่ตั้งแต่ Sextoy,อาหารเสริมสำหรับคุณผู้ชาย,สถานบันเทิงกลางคืน รวมไปถึงหนัง AV มีอัตราส่วนทางเศรษฐกิจเทียบได้เท่ากับ 1 ใน 10 ของ GDP ที่ขับเคลื่อนประเทศญี่ปุ่นอยู่ โดยเฉพาะในปี 2014 ที่ภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นอยู่ในช่วงซบเซา แต่วงการ AV กลับมีรายได้สะพัดสูงถึง 70,000 กว่าล้านเยน หรือประมาณ 20,000 ล้านบาท (อ้างอิงจากผลสำรวจ Yano Research Institute Ltd.)

นับเป็นเม็ดเงินที่ถือว่ามากพอสมควรเมื่อเทียบกับความนิยมในวงการ AV ที่เริ่มถดถอย (ตัวเลขเงินสะพัดตกลงทุกปี) แม้ปัจจุบันสถานการณ์ของอุตสาหกรรมหนัง AV จะไม่สู้ดีสักเท่าไหร่ แต่ตัวเลขข้างต้นก็น่าจะมีน้ำหนักพอที่จะตอบคำถามได้ว่า ทำไมหนัง AV ถึงอยู่คู่กับประเทศญี่ปุ่นมาช้านาน แม้ว่ามันจะไม่ได้อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ Cool Japan ซึ่งเป็นนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลญี่ปุ่นก็ตามที

Photo: Apalog

FACT BOX:

นัตโตะ เจ้าของบริษัทประสานงานธุรกิจไทยญี่ปุ่น JTbiz ผู้พัฒนา J-Doradic ดิกชันนารีไทย-ญี่ปุ่นที่ใหญ่ที่สุดในไทย และ เจ้าของร้านราเมง โยเนดะ & ไทโชวเคน (อารีน่าเทน ทองหล่อ 10) มีความสนใจธุรกิจบันเทิงในเชิงวัฒนธรรมเป็นพิเศษ เนื่องจากย่านโฮริโนะอุจิ (Horinouchi) เมืองคะวะซะกิ (Kawasaki) ที่เขาเคยใช้ชีวิตอยู่ เป็นเมืองที่เฟื่องฟูด้านธุรกิจบันเทิงเป็นอันดับ 2 รองลงมาจากโยชิวะระ (Yoshiwara) ในโตเกียว​

Bukake (บุคะเกะ) การพ่นน้ำรักไปที่ใบหน้าของนักแสดงหญิง ซึ่งเป็นรสนิยมทางเพศแบบหนึ่งของผู้ชายญี่ปุ่น โดยในช่วงยุค 80s มีหนัง AV แนวบุคะเกะออกมาเป็นจำนวนมาก

Hi-Touch การแตะมือนักแสดงหรือศิลปิน ซึ่งเป็นธรรมเนียมนิยมในงานเปิดตัวผลงานใหม่ของศิลปิน