หมายเหตุ: ซีรีส์นี้มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน อนึ่ง ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาถ่ายทอดเรื่องราวในแง่ลามกอนาจาร แต่ต้องการสะท้อนปรากฏการณ์เชิงสังคมและวัฒนธรรมที่อยู่ภายใต้ความวาบหวิว

 

ยังมีเรื่องที่เราเข้าใจผิดกันอีกสารพัดสารเพ เรื่องที่เราไม่เคยรู้มาก่อนอีกมากมายเกี่ยวกับหนัง AV ที่คุณๆ อาจจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี (ไม่ใช่ผมแน่นอน เพราะปกติดูแต่ Ben 10)

หลังจากที่บทความก่อนหน้านี้ ‘นัทโตะ’ และ The Momentum ได้นำเสนอเรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์ และที่มาของวงการ AV ไปแล้ว คราวนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องราวของ AV แบบ Unseen Uncensor และ Uncut เบื้องลึกในวงการแบบกว้างๆ กันบ้าง เรียกได้ว่าเอาให้จุใจแบบจัดเต็มกันไปข้างหนึ่งเลย

รับรองว่าคุณจะหาอ่านที่ไหนไม่ได้อีกแน่นอน นอกจากที่ The Momentum ที่นี่ และที่เดียว

1. ภาพลักษณ์ที่คนนอกมองนักแสดง AV

ในอดีต โอกาสที่นักแสดง AV จะมารับงานบันเทิง โฆษณา หรือแม้แต่ออกหนังสือเป็นของตัวเองเป็นไปได้ยากมาก แต่ก็ไม่สามารถสรุปได้เต็มร้อยว่าในอดีตดารา AV ถูกจำกัดพื้นที่สื่อ เพราะนักแสดงก็อาจจะเป็นฝ่ายไม่อยากเปิดเผยตัวเนื่องจากไม่อยากเป็นที่รู้จัก เรียกว่าอยากได้เงินมากกว่าอยากดัง แต่ปัจจุบันคนนอกวงการก็เริ่มมีท่าทีที่เปลี่ยนไปต่อนักแสดง AV (นับเฉพาะชาวญี่ปุ่น)

โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ค่ายผลิต Adult Content 3 ค่ายยักษ์ใหญ่ ประกอบด้วยบริษัทผลิตเซ็กซ์ทอย และค่ายผู้ผลิตหนัง AV ได้สร้างความฮือฮาด้วยการออกบูทจัดหางานที่มหาวิทยาลัยวาเซดะ (Waseda University) ซึ่งมีชื่อเสียงในระดับเดียวกันกับจุฬาฯ หรือธรรมศาสตร์ของบ้านเรา แม้ว่าการออกบูทรูปแบบนี้อาจไม่ใช่ครั้งแรก แต่ก็ถือเป็นครั้งแรกที่มีการรวมตัวกันประกาศว่าเป็นงานที่ถูกกฎหมาย นอกจากนี้ระยะหลังๆ เราจะได้เห็นดารา AV อย่าง Sora Aoi มาเป็นคอลัมนิสต์ประจำสื่อบางหัวมากขึ้นด้วยเช่นกัน

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่นักแสดง AV ได้รับการยอมรับมากขึ้น จะหมายความว่าอคติของคนทั่วไปจะจางหายไป ถึงอย่างไรก็ตามทัศนคติต่อนักแสดงที่เปิดกว้างมากขึ้นก็ทำให้มีนักแสดงหน้าใหม่ผันตัวเข้ามาสู่วงการนี้มากขึ้นเช่นกัน ถึงขนาดที่มีคำเปรียบเปรยที่ว่า

“ทุกๆ 28 คนในห้องเรียน จะมีผู้หญิง 1 คนที่ทำงานในอุตสาหกรรม Adult Content”

มีทฤษฎีที่ว่ากันว่าผู้ชายเราจะรู้สึกอิจฉา
เมื่อได้เห็นใครที่ดูดีกว่าตัวเองจะรู้สึกไม่ชอบ

2. ความสัมพันธ์ต้องห้ามของนักแสดงชายและหญิง

หลังต้องผจญวิกฤตการณ์ลดค่าใช้จ่ายในช่วงปี 2000-2010 การทำงานของทีมถ่ายทำจึงเริ่มเข้มงวดมากขึ้น ทุกอย่างถูกตีกรอบด้วยเวลาและงบประมาณที่จำกัด บรรยากาศการถ่ายทำที่เคยผ่อนคลายและเป็นกันเองกลับตึงเครียด ไม่เว้นแม้แต่นักแสดงที่พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย ว่ากันว่าแต่เดิมนักแสดงชายและหญิงจะใช้ห้องพักนักแสดงร่วมกัน ทั้งคู่จะได้ทำความรู้จัก ละลายพฤติกรรมก่อนทำการเข้าฉาก บางรายที่แอบปิ๊งกันก็เริ่มติดต่อและสานความสัมพันธ์หลังถ่ายทำการ ‘ยิ้ม’ ร่วมกันเสร็จ ก่อนจะกลายเป็นความรักที่เกิดขึ้นในกองถ่าย

เรื่องดังกล่าวจึงถือเป็นบทเรียนและความผิดพลาดที่จะไม่มีวันเกิดขึ้นอีกเด็ดขาด เพราะเมื่อเริ่มเลยเถิดสานความสัมพันธ์เมื่อใด วงการ AV จะขาดความเป็นมืออาชีพโดยสิ้นเชิง นักแสดงส่วนใหญ่มักเกิดอาการหึงหวง หากเขาของเธอ และเธอของเขาต้องไปเข้าฉากยิ้มร่วมกับเพื่อนร่วมวงการคนอื่น ในปัจจุบันวงการ AV จึงผุดนโยบายตัดไฟแต่ต้นลมด้วยการแยกห้องพักนักแสดงชายหญิงออกจากกัน ทั้งคู่ไม่สามารถแลกช่องทางติดต่อกันได้เลย จะได้เจอกันก็ต่อเมื่อเข้าฉากเท่านั้น และกลายเป็นกฎเหล็กซึ่งเป็นที่รู้กันในวงการว่า

‘หากนักแสดง AV คู่ใดคบกัน ทั้งคู่จะถูกแบนจากวงการ และถูกเลิกจ้างโดยต้นสังกัดทันที!’

3. พระเอก AV ไม่ได้หน้าแย่เสมอไป

สิ่งหนึ่งที่เราเชื่อว่าคนที่เคยดูหนัง AV อาจจะเห็นพ้องตรงกันคือพระเอก AV ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้หล่อทุกคนนี่นา บางคนนอกจากจะไม่หล่อ หุ่นก็อาจจะพังด้วยซ้ำ

มีทฤษฎีที่ว่ากันว่าผู้ชายเราจะรู้สึกอิจฉา เมื่อได้เห็นใครที่ดูดีกว่าตัวเองจะรู้สึกไม่ชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนุ่มๆ ที่ต้องเข้าฉากกับสาวๆ สุดเซ็กซี นอกจากนี้การที่บางครั้งพระเอก AV ดูหล่อเกินไป หุ่นดีเกินไป ก็อาจจะทำให้ผู้ชายส่วนใหญ่ที่ดูหนังไม่อิน และเข้าไม่ถึง เป็นนัยว่าเรื่องแบบนี้อาจเกิดขึ้นกับตัวเองได้ยาก หากไม่ได้มีหน้าตาเป็นอาวุธ หรือหุ่นที่กำยำ

แต่ถามว่าพระเอก AV จำเป็นต้องหน้าตาแย่ทุกคนไหม มันก็ไม่ถึงขนาดนั้น เพราะพระเอก AV บางคนก็มีพร้อมทั้งหน้าตา และหุ่นที่เพอร์เฟกต์เช่นกัน ที่สำคัญในวงการ AV ก็ยังมีแนวหนังประเภทหนึ่งสำหรับรองรับสาวๆ ที่ชื่นชอบนักแสดงหน้าตาดีโดยเฉพาะ ‘Silk Labo’ ข้อสมมติฐานดังกล่าวจึงไม่อาจสรุปได้ว่า พระเอก AV ต้องหน้าแย่หุ่นพังเสมอไป

ทุกๆ 28 คนในห้องเรียนจะมีผู้หญิง 1 คนที่ทำงานในอุตสาหกรรม Adult Content

4. ใบโพยค่าตัวนักแสดงที่หลายคนเข้าใจผิด

ถ้าจำกันได้ ไม่กี่ปีที่ผ่านมามีใบโพยลักษณะคล้ายเช็กลิสต์กิจกรรมเข้าจังหวะต่างๆ เช่น Carpark มีราคาเท่านี้ หรือไม่ก็โหลดแผ่นซีดีมีราคาเท่านั้น ถูกแชร์ว่อนสังคมออนไลน์ด้วยความเข้าใจผิดว่า ใบดังกล่าวเป็นชอยส์เลือกออปชันการทำงานของนักแสดง AV

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ใบดังกล่าวคือเมนูที่ใช้กันในร้าน Image Club ดีๆ นี่เองครับ เพราะสำหรับกองถ่ายหนัง AV ผู้กำกับ ค่ายหนัง โมเดลลิง และนักแสดงจะต้องทำการตกลงรายละเอียดในการถ่ายทำทุกๆ ครั้งก่อนเริ่มถ่ายทำจริง เพราะหากมาตกลงรายละเอียด กรรมวิธีต่างๆ หน้ากล้องก็คงเสียเวลาน่าดู

นอกจากนี้นักแสดง AV ก็ไม่ได้เป็นกันได้ง่ายๆ อย่างที่หนุ่มๆ ไทยหลายคนอาจจะเคยเข้าใจกันผิดๆ และพร้อมจะแพ็กกระเป๋าบินลัดฟ้าไปแคสติ้งที่ญี่ปุ่น เพราะการทำงานที่ญี่ปุ่นทั่วไปจำเป็นจะต้องมี Work Permit หรือใบอนุญาตในการทำงาน ทำให้นักแสดงผิวสีหรือผู้หญิงต่างชาติที่เคยเห็นในตอนพิเศษของ AV ส่วนใหญ่มักจะเป็นพลเมืองประเทศญี่ปุ่นที่ได้รับการรับรองสถานะจากการแต่งงานกับสาวญี่ปุ่น หรือนักแสดงลูกครึ่งอีกด้วย (มีบ้างที่ไปถ่ายต่างประเทศและแคสติ้งหานักแสดงท้องถิ่นเลย แต่ ปัจจุบันวิธีนี้ใช้กันน้อยลงมากแล้ว)

…ติดตามอ่านได้ในตอนต่อไป… ได้ที่ “ญี่ปุ่นหลังม่านเซ็นเซอร์: 7 เรื่องในวงการ AV ที่คุณอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน ตอนที่ 2”

FACT BOX:

นัตโตะ เจ้าของบริษัทประสานงานธุรกิจไทยญี่ปุ่น JTbiz ผู้พัฒนา J-Doradic ดิกชันนารีไทย-ญี่ปุ่นที่ใหญ่ที่สุดในไทย และ เจ้าของร้านราเมง โยเนดะ & ไทโชวเคน (อารีน่าเทน ทองหล่อ 10) มีความสนใจธุรกิจบันเทิงในเชิงวัฒนธรรมเป็นพิเศษ เนื่องจากย่านโฮริโนะอุจิ (Horinouchi) เมืองคะวะซะกิ (Kawasaki) ที่เขาเคยใช้ชีวิตอยู่ เป็นเมืองที่เฟื่องฟูด้านธุรกิจบันเทิงเป็นอันดับ 2 รองลงมาจากโยชิวะระ (Yoshiwara) ในโตเกียว