การเลื่อนฟีดบนโซเชียลมีเดียไปได้เรื่อยๆ แบบไม่มีที่สิ้นสุด การเล่นวิดีโอแบบอัตโนมัติ และให้รางวัลสะสมแต้มเมื่อเล่นโซเชียลมีเดียเยอะๆ ฟีเจอร์เหล่านี้ทำให้คนเสพติดโซเชียลมีเดีย จอช ฮาวลีย์ สมาชิกวุฒิสภาวัย 39 ปีจากพรรครีพับลิกัน ผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดในสภาคองเกรส จึงเสนอร่างกฎหมายให้บริษัทโซเชียลมีเดียต้องสร้างฟีเจอร์ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถจำกัดเวลาในการอยู่หน้าจอได้

ร่างกฎหมายนี้ชื่อว่า ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการลดการเสพติดเทคโนโลยีโซเชียลมีเดีย (Social Media Addiction Reduction Technology) ที่เสนอสู่สภาเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ถ้ากฎหมายนี้ผ่าน ฟีเจอร์ที่ทำให้วิดีโอเล่นเองอัตโนมัติของยูทูบ สแนปแช็ต อินสตาแกรม หรือแถบนิวส์ฟีดของเฟซบุ๊กที่เลื่อนไปได้เรื่อยๆ จะเข้าข่ายผิดกฎหมาย แต่ก็มีข้อยกเว้นให้กับแพลตฟอร์มบริการสตรีมมิ่งเพลง โดยกฎหมายนี้เสนอให้จำกัดระยะเวลาในการเลื่อนแถบเนื้อหาไว้ไม่เกิน 3 นาที ถ้าผู้ใช้ไม่ต้องการมากกว่านั้น

นอกจากนี้ ยังให้อำนาจกับคณะกรรมการการค้าของรัฐบาลกลางหรือ FTC ลงโทษบริษัทที่ไม่ปฏิบัติตามด้วย โดย FTC กระทรวงสาธารณสุข และสวัสดิการสังคม จะมีอำนาจในการเขียนระเบียบใหม่เพื่อกำกับดูแลและออกแบบยุทธวิธี

ฮาวลีย์บอกว่าบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ใช้โมเดลทางธุรกิจที่ทำให้คนเสพติด นวัตกรรมต่างๆ ที่ใช้ ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น แต่เพื่อดึงดูดความสนใจ โดยใช้กลวิธีทางจิตวิทยาที่ทำให้คนไม่เบี่ยงเบนความสนใจ

เขายังบอกอีกว่า รัฐบาลควรมีอำนาจในการตรวจสอบทวิตเตอร์จากอคติทางการเมือง และเสนอกฎหมายเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็ก เมื่อเดือนพฤษภาคม และแก้ปัญหาติดเกม

ในการรับฟังความคิดเห็น ฮาวลีย์ได้ฟังความเห็นจาก ทริสตัน แฮร์ริส ผู้เชี่ยวชาญด้านการจูงใจด้วยเทคโนโลยี อดีตนักออกแบบของกูเกิลอธิบายว่า แพลตฟอร์มต่างๆ สร้างผลิตภัณฑ์ที่ทำให้คนใช้เวลาบนเว็บไซต์ของตัวเองนานๆ ได้อย่างไร เขาเปรียบเทียบว่า การที่ฟีดเนื้อหาบนโซเชียลมีเดียต่างๆ ไหลไปเรื่อยๆ ได้อย่างไม่จำกัด ก็เหมือนกับแก้วไวน์รั่วที่ไวน์ถูกเติมลงไปเรื่อยๆ โดยที่ผู้ดื่มไม่รู้ว่าดื่มไปเท่าไหร่แล้ว

ส่วนสมาคมอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นสมาคมการค้าที่มีตัวแทนจากบริษัทต่างๆ เป็นสมาชิกออกแถลงการณ์ระบุว่า แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ได้ลงทุนและมีส่วนร่วมในโครงการและความร่วมมือต่างๆ เพื่อส่งเสริมประสบการณ์ออนไลน์ที่ดี เครื่องมือในการช่วยให้ผู้ใช้สามารถกำหนดเวลาของตัวเองก็มีอยู่แล้ว

 

ที่มา:

Tags: ,