เป็นที่รู้กันว่าการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวนั้น เป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดฝุ่นควันพิษ ดังนั้นหลายประเทศ จึงมีการรณรงค์ให้ประชาชน (โดยเฉพาะในเขตในเมืองใหญ่) มาใช้ขนส่งสาธารณะแทนรถส่วนตัว ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดมลภาวะในอากาศแล้ว ยังเป็นการลดปัญหาการจราจรติดขัดในภาพรวมอีกด้วย

ในประเทศไทยเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน กทม. แม้ว่าจะมีระบบขนส่งสาธารณะที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับ 10 กว่าปีที่ผ่านมา อันเป็นผลจากการมีรถไฟฟ้าใต้ดินและบนดิน แต่ปัญหามลพิษรวมถึงการจราจรที่ติดขัด กลับไม่ได้ลดน้อยลง ซ้ำยังดูเหมือนว่าจะรุนแรงมากขึ้นๆ ซึ่งหมายความว่าคนส่วนใหญ่ยังเลือกที่จะใช้การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว

แน่นอนว่าการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนนั้นสะดวกสบาย และยังจำเป็นสำหรับบางครอบครัว เช่นครอบครัวที่มีเด็กเล็กหรือผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ทำการค้าขาย

สำหรับคนที่ทำงานประจำ การเดินทางไปทำงานเป็นรายจ่ายประจำที่สำคัญที่เลี่ยงได้ยาก สำหรับคนที่เลือกจะเดินทางด้วยรถสาธารณะแล้ว ก็เป็นที่น่าคิดว่า รายจ่ายในการใช้รถสาธารณะของไทยเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับคนทำงานในประเทศอื่นๆ ที่ใช้การขนส่งแบบสาธารณะเช่นกัน

จากการสำรวจข้อมูลของเว็บไซต์ Priceoftravel ที่ได้ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับค่าเดินทางโดยขนส่งสาธารณะในเมืองใหญ่ในรูปแบบต่างๆ 80 ประเทศ (เลือกมาทำการวิเคราะห์ 40 ประเทศ) พบว่า ค่าโดยสารขนส่งสาธารณะในเมืองใหญ่ของประเทศไทย (ซึ่งใช้ราคาเฉลี่ยของการเดินทางโดยรถไฟฟ้า BTS เป็นตัวแทน) อยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก โดยอยู่ลำดับที่ 31 จาก 40 ประเทศ ในขณะที่ประเทศที่มีค่าโดยสารโดยขนส่งสาธารณะในระดับสูงได้แก่ประเทศในทวีปยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย

ประเทศค่าเดินทางขนส่งสาธารณะต่อเที่ยว (USD)รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (USD)ประเทศค่าเดินทางขนส่งสาธารณะต่อเที่ยว (USD)รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (USD)
1Denmark9.933,28521Croatia1.49993
2Sweden6.202,78322UAE1.432,560
3Norway4.783,48323Taiwan1.411,288
4Switzerland3.565,96924New Zealand1.382,802
5United States3.304,83225Brazil1.18569
6Finland3.212,77126Czech Republic1.171,314
7Netherlands3.152,94327South Korea1.162,499
8Germany3.002,47228Turkey1.10463
9Australia2.633,87729Singapore1.082,946
10Belgium2.532,40930Chile0.99840
11Austria2.472,28531Thailand0.98784
12Japan2.162,89332China0.881,237
13United Kingdom2.083,01533Russia0.87980
14Canada2.042,93334Poland0.871,102
15France2.022,17835Colombia0.48324
16Spain1.951,54136South Africa0.451,351
17Portugal1.781,00037Malaysia0.441,027
18Ireland1.672,79638Hong Kong0.372,439
19Italy1.671,57939India0.29507
20Hungary1.5884740Mexico0.27622
ตารางที่1: ค่าเดินทางเฉลี่ยโดยขนส่งสาธารณะต่อ 1 เที่ยว ในเมืองใหญ่ของประเทศต่างๆ
Source: www.priceoftravel.com, www.numbeo.com, คำนวณค่าเฉลี่ยโดยผู้เขียน

แต่การดูค่าโดยสารเพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถวิเคราะห์ถึงผลกระทบด้านค่าครองชีพได้ชัดเจนนัก จึงควรดูค่าโดยสารเปรียบเทียบกับรายได้เฉลี่ยประประชากรในประเทศนั้นๆ

จากการประมาณการค่าใช้จ่ายในการเดินทางเฉลี่ยใน 1 เดือน โดยใช้การเดินทาง 2 ครั้งใน 1 วัน (ไป-กลับ) และจำนวนวันเดินทาง คือวันทำงานใน 1 เดือน ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 22 วัน และนำตัวเลขที่ได้จากการคำนวนดังกล่าว มาเปรียบเทียบกับรายได้เฉลี่ยใน 1 เดือน (หลังหักภาษี) ของประชากร จากฐานข้อมูลของ Numbeo ที่ทำการสำรวจข้อมูลเรื่องรายได้และค่าครองชีพของประชากรในประเทศต่างๆทั่วโลก จะพบว่าค่าใช้จ่ายค่าเดินทางต่อรายได้ของประชากรในเมืองใหญ่ของไทยอยู่ที่ 5.47% อยู่ในอันดับ 11 จากกลุ่มตัวอย่าง 40 ประเทศ ถือว่าอยู่ในอันดับค่อนข้างสูง ไล่เลี่ยกับประเทศในทวีปยุโรปอย่างสเปน (5.55%) และเยอรมนี (5.34%) และสูงกว่าหลายๆ ประเทศในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นไต้หวัน (4.80%), ญี่ปุ่น (3.28%), จีน (3.11%) หรือเกาหลีใต้ (2.03%) และสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย (1.89%) ค่อนข้างมาก

ประเทศค่าเดินทางเฉลี่ยต่อเดือน (USD)สัดส่วนค่าใช้จ่ายการเดือนทางต่อรายได้ประเทศค่าเดินทางเฉลี่ยต่อเดือน (USD)สัดส่วนค่าใช้จ่ายการเดือนทางต่อรายได้
1Denmark436.7013.29%21Czech Republic51.483.92%
2Turkey48.4010.45%22Russia38.283.91%
3Sweden272.589.80%23Poland38.283.47%
4Brazil51.709.08%24Japan94.823.28%
5Hungary69.528.21%25China38.503.11%
6Portugal78.327.83%26Canada89.763.06%
7Croatia65.566.60%27United Kingdom91.523.04%
8Colombia21.126.52%28United States145.203.01%
9Norway210.106.03%29Australia115.722.98%
10Spain85.585.55%30Ireland73.482.63%
11Thailand42.905.47%31Switzerland156.422.62%
12Germany132.005.34%32India12.762.52%
13Chile43.565.18%33UAE62.922.46%
14Finland141.025.09%34New Zealand60.722.17%
15Taiwan61.824.80%35South Korea50.822.03%
16Austria108.684.76%36Mexico11.881.91%
17Netherlands138.604.71%37Malaysia19.361.89%
18Italy73.484.65%38Singapore47.521.61%
19Belgium111.324.62%39South Africa19.801.47%
20France88.884.08%40Hong Kong16.280.67%
ตารางที่ 2: ค่าเดินทางเฉลี่ยโดยขนส่งสาธารณะใน 1 เดือน เทียบกับรายได้ของประชากรในเมืองใหญ่ของประเทศต่างๆ
Source: www.priceoftravel.com, www.numbeo.com, คำนวณค่าเฉลี่ยและอัตราส่วนโดยผู้เขียน
Note: รายได้หลังหักภาษี, ค่าเดินทางใน 1 เดือนคิดจาก 1 วันเดินทางไป-กลับ และใน 1 เดือน เดินทาง 22 วันทำการ

นอกจากการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะแล้ว อีกวิธีที่เป็นทางเลือกของคนไม่ใช้รถยนต์ส่วนตัวคือการเดินทางโดยรถแท็กซี่สาธารณะ

จากการสำรวจของเว็บไซต์ Priceoftravel พบว่า ค่าเดินทางโดยเฉลี่ยของรถแท็กซี่ ต่อ 3 กิโลเมตร ในเมืองใหญ่ของประเทศต่างๆ นั้น ในภาพรวมจะไม่ได้ต่างจากข้อมูลจากการสำรวจการเดินทางโดยขนส่งสาธารณะมากนัก และประเทศที่มีอัตราค่าแท็กซี่สูง คือประเทศในทวีปยุโรป แต่ที่ต่างกันบ้างคือ กลุ่มประเทศที่อัตราค่าโดยสารแท็กซี่โดยเฉลี่ยสูงที่สุด คือกลุ่มประเทศที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์และฝรั่งเศส ตามมาด้วยประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียอย่างฟินแลนด์และนอร์เวย์

ในขณะที่ค่าโดยสารแท็กซี่ของประเทศไทยนั้น อยู่ในระดับค่อนข้างถูก คืออยู่ที่ 35 จาก 39 ประเทศ โดยมีราคาไล่เลี่ยกับของประเทศจีน

ประเทศค่าโดยสารแท็กซี่เฉลี่ยต่อ 3 กม. (USD)รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (USD)ประเทศค่าโดยสารแท็กซี่เฉลี่ยต่อ 3 กม. (USD)รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (USD)
1Switzerland21.655,96921Russia5.28980.17
2France14.052,17822Hungary5.27846.98
3Finland14.052,77123Taiwan5.151,287.79
4Norway13.553,48324Czech Republic4.781,314.18
5United Kingdom12.993,01525Croatia4.77992.99
6Germany11.802,47226Hong Kong4.652,438.64
7Denmark11.253,28527Singapore4.532,946.37
8Austria11.242,28528Poland4.151,102.31
9Australia10.983,87729South Korea4.062,498.87
10Japan10.442,89330Chile3.98840.20
11Netherlands10.392,94331Brazil3.81569.23
12Belgium10.122,40932Turkey3.26463.18
13Sweden9.882,78333UAE2.762,559.89
14United States9.254,83234China2.431,237.34
15New Zealand9.232,80235Thailand2.35783.83
16Italy9.161,57936South Africa2.091,351.03
17Ireland8.992,79637Malaysia1.881,026.84
18Canada7.782,93338Mexico1.13621.72
19Spain6.751,54139India1.04506.82
20Portugal5.621,00040ColombiaNo data324.11
ตารางที่ 3: ค่าเดินทางเฉลี่ยโดยแท็กซี่ต่อ 3 กิโลเมตร ในเมืองใหญ่ของประเทศต่างๆ
Source: www.priceoftravel.com, www.numbeo.com, คำนวณค่าเฉลี่ยโดยผู้เขียน
Note: รายได้หลังหักภาษี, ค่าโดยสารรวมระยะเวลารถติด

และเมื่อประมาณการค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของการเดินทางโดยแท็กซี่ใน 1 เดือน โดยใช้ค่าการเดินทางเฉลี่ยต่อวันคือ 10 กิโลเมตร (ไป-กลับ) และจำนวนวันเดินทาง คือจำนวนวันทำงานใน 1 เดือน ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 22 วัน แล้วนำไปเทียบกับรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า อัตราค่าเดินทางโดยรถแท็กซี่ ของไทยคิดเป็น 22% ของรายได้ อยู่ในอันดับ 27 จากกลุ่มตัวอย่าง 39 ประเทศ โดยอยู่ในระดับใกล้เคียงกับประเทศออสเตรเลีย (21%) โดยต่ำกว่าประเทศในเอเชียอย่างไต้หวัน (29%) และญี่ปุ่น (26%) แต่ก็ยังสูงกว่าประเทศจีน (14%) และมาเลเซีย (13%)

ประเทศค่าเดินทางโดยแท็กซี่เฉลี่ยต่อเดือน (USD)สัดส่วนค่าใช้จ่ายการเดือนทางต่อรายได้ประเทศค่าเดินทางโดยแท็กซี่เฉลี่ยต่อเดือน (USD)สัดส่วนค่าใช้จ่ายการเดือนทางต่อรายได้
1Turkey239.0752%21Japan765.6026%
2Brazil279.4049%22Sweden724.1726%
3France1,029.9747%23Netherlands761.9326%
4Hungary386.1046%24Denmark825.0025%
5Italy671.7343%25New Zealand676.5024%
6Portugal411.7741%26Ireland659.2724%
7Russia386.8339%27Thailand172.3322%
8Finland1,029.9737%28Australia804.8321%
9Austria823.9036%29Canada570.5319%
10Croatia349.4335%30India75.9015%
11Germany864.9735%31China177.8314%
12Chile291.8735%32United States678.3314%
13Spain494.6332%33Hong Kong341.0014%
14United Kingdom952.2332%34Malaysia137.5013%
15Belgium741.7731%35Mexico82.5013%
16Taiwan377.6729%36South Korea297.3712%
17Norway993.3029%37South Africa153.2711%
18Poland303.9728%38Singapore332.2011%
19Czech Republic350.1727%39UAE202.408%
20Switzerland1,587.6727%40ColombiaNo dataNo data
ตารางที่ 4: ค่าเดินทางเฉลี่ยโดยรถแท็กซี่ใน 1 เดือน เทียบกับรายได้ของประชากรในเมืองใหญ่ของประเทศต่างๆ
Note: รายได้หลังหักภาษี, ค่าเดินทางใน 1 เดือนคิดจาก 1 วันเดินทางไปกลับประมาณวันละ 10 กิโลเมตร และใน 1 เดือน เดินทาง 22 วันทำการ

ข้อมูลข้างต้นนี้ แม้เป็นข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ แต่ก็น่าจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่น่าจะมีประโยชน์เพื่อใช้ประกอบกับการรณรงค์ให้คนในเมืองใหญ่ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว เพื่อลดปัญหามลภาวะ ซึ่งหากพิจารณาเฉพาะระบบขนส่งสาธารณะในตารางที่ 1 และ 2 (ไม่รวมแท็กซี่ ในตารางที่ 3 และ 4 ที่คนส่วนใหญ่ไม่สามารถจะโดยสารได้ทุกวัน) พบว่าค่าใช้จ่ายการเดินทางโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะต่อรายได้ของไทยอยู่ในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับหลายประเทศในเอเชียด้วยกัน

สิ่งที่สำคัญคือ หากมีระบบขนส่งสาธารณะที่ครอบคลุมและมีราคาค่าโดยสารที่เหมาะสม น่าจะจูงใจให้คนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนรุ่นใหม่หันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้นในอนาคต

Tags: , , , , , , ,