องค์การอนามัยโลกเผยพบเชื้อเอชไอวีดื้อยาต้านไวรัสผุดทั่วโลก แอฟริกา-เอเชีย-อเมริกา สาเหตุไม่แน่ชัด คาดเกี่ยวข้องการรักษาหยุดชะงักกะทันหัน ชี้จำนวนเด็กทารกดื้อยาพุ่ง แนะเปลี่ยนยาตัวใหม่หยุดการต้านเชื้อ

ระดับการดื้อยาของไวรัสเอชไอวีในเอเชียและอเมริกากำลังยกระดับมากขึ้น โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขยอมรับไม่ได้อีกต่อไป ซึ่งผลสำรวจจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่าในช่วง 4 ปีที่ผ่านมามี 12 ประเทศในแอฟริกา เอเชีย และอเมริกาที่มีภาวะการดื้อยาต้าน efavirenz และ nevirapine ซึ่งเป็นตัวยาสำคัญในการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี

ปกติแล้วผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความจำเป็นต้องรับการรักษา โดยการใช้ยาต้านเชื้อหรือที่เรียกว่ายาต้านไวรัสเป็นประจำ ก่อนที่องค์การอนามัยโลกจะดำเนินการสำรวจแบบสุ่มใน 18 ประเทศในปี 2014 – 2018 และตรวจสอบพบว่ามากกว่า 10% ของผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อใน 12 ประเทศ ไวรัสได้พัฒนาจนมีอาการดื้อยาสูงกว่าเกณฑ์ จนทำให้การให้ยาชนิดเดียวกันนี้อาจจะไม่ปลอดภัยอีกต่อไปสำหรับประชากรที่เหลือ เพราะการต่อต้านอาจจะเพิ่มขึ้น

สำหรับรายละเอียดของงานสำรวจ พบว่าผู้หญิงมีอัตราการของการดื้อยาอยู่ที่ 12%  มากกว่าผู้ชายที่อยู่ที่ระดับ 8% รวมถึงในพื้นที่แอฟริกามีจำนวนเด็กทารกที่ติดเชื้อมากขึ้นในระดับสูงและทารกครึ่งหนึ่งที่ติดเชื้อเอชไอวีติดเชื้อที่แข็งแกร่งกว่าที่ผ่านมา

ส่วนสาเหตุของการดื้อยานั้น Silvia Bertagnolio แพทย์โรคติดเชื้อของ WHO ผู้เขียนรายงานกล่าวว่า ยังคงยากที่จะพิสูจน์ให้แน่ชัด แต่คาดว่าอาจจะเกิดจากการหยุดชะงักของการรักษา อาทิเช่น เมื่อผู้หญิงใช้ยาต้านไวรัสระหว่างตั้งครรภ์และหยุดใช้เมื่อคลอด ทำให้โอกาสที่ผู้หยุดการรักษากะทันหันมีโอกาสดื้อยามากถึง 21%

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกแนะนำให้เปลี่ยนมาใช้ยา Dolutegravir ซึ่งมีประสิทธิภาพและได้รับยอมรับในฐานะยาต้านเอชไอวีที่ดีกว่ายาอื่นๆ และมีโอกาสที่การดื้อยาจะถูกต้านทานด้วยยาชนิดนี้ โดยผู้เชี่ยวชาญแนะต้องระวังในการรักษาและแพร่กระจาย เพื่อไม่ให้กลับมาเผชิญหน้ากับการดื้อยาหลังการแนะนำให้เปลี่ยนตัวยารักษาทั่วโลก

ที่มา: www.nature.com/articles/d41586-019-02316-x

ภาพ: GETTYIMAGES

Tags: , ,