สำหรับบางคน ชีวิตในศตวรรษที่ 21 นั้นมีหลายทางเลือกที่ชวนสับสน เชื่อไหมว่าเดี๋ยวนี้มีบริการให้คำปรึกษา ชี้แนวทางอาชีพในอนาคต ระบุทักษะและบุคลิกภาพที่โดดเด่นของเรา แต่ไม่ใช่ด้วยการทำแบบทดสอบ
ขอเพียงลายฝ่ามือและลายนิ้วมือทั้งสิบ ถ้าเป็นเด็กก็ขอลายฝ่าเท้าและนิ้วเท้าไปด้วยเลย
อันที่จริง ศูนย์วิเคราะห์ศักยภาพปัญญธารา (Panyatara Potential Analysis Centre หรือ P-PAC) เปิดดำเนินการมานานกว่า 10 ปีแล้ว พวกเขาบอกว่าศาสตร์ ‘ลายผิววิทยา’ (dermatoglyphics) ที่ศูนย์ฯ นำมาประยุกต์ใช้นั้น ต่างจากการดูลายมือแบบโหราศาสตร์ เพราะลายผิววิทยา คือ ‘วิทยาศาสตร์เชิงสถิติ’ ของการศึกษาลายผิวหรือลายที่มีเส้นนูน-ต่ำอยู่ตามมือและเท้า “ซึ่งก่อกำเนิดในช่วงเวลาไล่เลี่ยกับเซลล์สมอง”
จึงมากับมอตโตของ P-PAC ที่ว่า “ถอดรหัสสมอง เพื่อค้นหาศักยภาพในตัวคุณ”
เราได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณอมรรัตน์ ประทุมมา ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์ศักยภาพปัญญธารา ซึ่งตั้งอยู่ในอาคารปัญจภูมิ 1 ถนนสาทรใต้ ใจกลางเมือง ซึ่งให้ข้อมูลว่า P-PAC เป็นศาสตร์ลายผิววิ
และเมื่อทีมงานจากไต้หวันได้เดิ
ใครบ้างที่ใช้บริการ P-PAC
คุณอมรรัตน์ให้ข้อมูลว่า ตั้งแต่ดำเนินการมามากกว่า 10 ปี นับแต่ปลาย พ.ศ. 2550 ศูนย์วิเคราะห์ศักยภาพปัญญธารามีลูกค้ารวมกว่า 38,000 คนแล้ว จากเดิมที่ลูกค้ากลุ่มใหญ่เจาะไปที่องค์กรต่างๆ ปัจจุบันมีลูกค้ากลุ่มที่เป็นพ่อแม่ผู้ปกครองมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นสัดส่วนราว 60-70% อีกส่วน 40% เป็นองค์กรเล็กๆ หรือธุรกิจครอบครัวที่ต้องการระบุทักษะของสมาชิกครอบครัวแต่ละคนว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร
“จุดเด่นของเราคือเรื่องสัมพันธภาพภายในครอบครัว บางคนบอกว่ามันเปลี่ยนชีวิตเขา ทำให้เขาได้รู้จักลูกตัวเอง 14 ปีที่เลี้ยงมา ไม่เคยรู้จักเขาดีขนาดนี้ …มันไม่ใช่แค่ความแม่นยำแล้ว แต่เป็นเรื่องว่าเขานำผลที่ได้ไปทำอะไรกับชีวิตเขาต่างหาก”
“มันไม่เกี่ยวกับว่าลูกจะเรียนอะไร ตรงไม่ตรง แม่นไม่แม่น มันเป็นเรื่องสัมพันธภาพในครอบครัวเขามากกว่า ถ้าเราทำให้ครอบครัวเขาเข้าใจกันได้ นั่นคือเป้าหมายสูงสุดของ P-PAC”
แม้ว่าในแผ่นพับ P-PAC จะระบุว่าประโยชน์ของศาสตร์นี้ยังใช้เพื่อ “วางบุคลากรให้ตรงกับตำแหน่งงาน” สอดคล้องตามที่คุณอมรรัตน์กล่าวว่า “Put the right man on the right job.” แต่คุณอมรรัตน์ให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมายังไม่มีบริษัทไหนใช้เพื่อคัดเลือกผู้สมัครงานหน้าใหม่ เป็นเพียงการนำศาสตร์ลายผิววิทยาไปวิเคราะห์บุคลากรที่อยู่ในองค์กรอยู่แล้วแต่มีปัญหาขัดข้องในการทำงานมากกว่า และการคัดเลือกคนเข้าทำงานยังต้องดูที่วัฒนธรรมองค์กรที่ต่างกันด้วย ซึ่งเป็นเรื่องซับซ้อน
นอกจากการให้บริการที่ศูนย์ P-PAC แล้ว เจ้าหน้าที่ยังให้บริการกับโรงเรียนต่างๆ เพื่อสแกนลายผิวของเด็กๆ เป็นการเข้าไปค้นหาศักยภาพที่ซ่อนอยู่เพื่อชี้แนะแนวทางให้พ่อแม่
“พ่อแม่ส่วนใหญ่ที่มา เขาชอบให้เราบอก ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดีนะ บางคนได้รับผลวิเคราะห์มาว่าลูกเขาเก่งเปียโน ก็เลยจับแยกห้องจากเพื่อนๆ จากเดิมที่เรียนกัน 3 คน แต่น้องเขาเป็นนกกระจอกเทศ (บุคลิกภาพ) เขาต้องการมีกลุ่มสังคม มีเพื่อนช่วยกันทำ เขาเพิ่ง 7 ขวบเอง ก็เลยรู้สึกกดดันแล้วอยากเลิกเรียน เพราะมันไม่สนุกแล้ว เพราะฉะนั้นมันมีปัจจัยอย่างอื่นในความเป็นมนุษย์ มากกว่าสิ่งที่เราบอก อย่าเชื่อเรา 100%”
แม้ว่า P-PAC จะเป็นเรื่องใหม่สำหรับเรา แต่ความจริงแล้วที่นี่ได้รับความนิยมมาก ทุกวันนี้มีลูกค้ามาใช้บริการเฉลี่ยราว 300-400 คนต่อเดือน การขอใช้บริการจะต้องโทรนัดล่วงหน้าเพื่อสแกนลายผิวเป็นรายบุคคล ทั้งนี้จะมีค่าใช้จ่ายต่อคนและต้องรอนัดอีกรอบเพื่อเข้าฟังผลวิเคราะห์ซึ่งผ่านมือและสายตาของ ‘ผู้เชี่ยวชาญ’ ถึง 3 คน และใช้เวลาฟังผล 1 ชั่วโมงเต็ม
ขอมือเธอหน่อย
สำหรับขั้นตอนการสแกนลายผิว เราต้องเริ่มจากการกรอกข้อมูลส่วนตัวซึ่งละเอียดพอสมควร ตั้งแต่ชื่อ-สกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน วันเกิด ฯลฯ
ต่อจากนั้นจึงเป็นการสแกนลายนิ้วมือ ซึ่งไม่ต้องกลัวว่าจะต้องเจอห้องแล็บวิทยาศาสตร์ที่น่าเกรงขาม เพราะเจ้าหน้าที่จะนั่งรอด้วยรอยยิ้มอยู่ที่โต๊ะสำนักงานเรียบง่าย มีคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและเครื่องสแกนลายนิ้วมือเครื่องเล็กๆ เชื่อมกับคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนนี้ใช้เวลา 30-45 นาที เจ้าหน้าที่จะสแกนนิ้วของเราทีละนิ้วอย่างละเอียด หนึ่งนิ้วจะต้องหมุนสลับมุม 3 ด้าน (ซ้าย-กลาง-ขวา) เพื่อให้เก็บรายละเอียดลายนิ้วมือได้ครบถ้วน เนื่องจากต้องนับจำนวนเส้นบนนั้นเพื่อใช้วิเคราะห์ด้วย ทั้งแบบใช้คอมพิวเตอร์นับให้และใช้สายตาของคนไปจิ้มเคอร์เซอร์ในจอเพื่อนับทวนอีกที ป้องกันความผิดพลาด และเจ้าหน้าที่สามคนในสามขั้นตอนจะต้องยืนยันผลการนับเส้นให้ตรงกันด้วย จึงจะเป็นผลที่ใช้ได้
เจ้าหน้าที่สแกนลายนิ้วมือคนนี้จึงต้องทำงานอย่างละเอียดมากๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้วิเคราะห์ขั้นต่อไปสามารถวิเคราะห์ได้อย่างไม่ติดขัด บางครั้งเราจึงอาจต้องสแกนซ้ำนิ้วละ 3 หน หากผลบนจอยังน่ากังขา
เจ้าหน้าที่บอกว่า เนื่องจากผู้เขียนมีลายนิ้วมือที่เส้นละเอียดมาก สุดท้ายจึงยังต้องใช้หมึกทาที่นิ้วแต่ละนิ้ว เพื่อปั๊มลงกระดาษอีกที แต่ละครั้งที่ปั๊มลงไป เขาจะใช้แว่นขยายเล็กๆ ส่องดูเพื่อให้แน่ใจว่าลายเส้นบนนั้นปรากฏชัด
นอกจากจำนวนเส้น เจ้าหน้าที่จะวิเคราะห์ลักษณะของลายเส้นบนนิ้วว่าเป็นแบบไหน เช่น ลักษณะก้นหอย (whorl) ลายมัดหวาย (loop) ลายกระโจม (arch) ฯลฯ ซึ่งเชื้อชาติ พันธุกรรม และสภาพแวดล้อมก็มีผลต่อลวดลายเหล่านี้เช่นกัน
เมื่อพิมพ์ลายนิ้วมือเสร็จจนมือดำไปทั้งฝ่ามือ แต่สามารถล้างออกได้ง่ายมาก เราก็ได้รับใบนัดให้มาฟังผล พร้อมกับแฟ้มเอกสารที่เจ้าหน้าที่กำชับว่าให้ศึกษามาก่อน เพื่อจะได้ฟังผลเข้าใจในคราวเดียว
ภายในแฟ้มมีเอกสารอธิบายทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แจกแจงศักยภาพที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด 10 ด้าน ทฤษฎีพหุปัญญา (ถนัดเรื่องอะไร) และบุคลิกภาพ 5 ประการที่มีนกชนิดต่างๆ เป็นตัวแทน ได้แก่ เหยี่ยว นกยูง นกแก้ว นกกระจอกเทศ และห่านป่า
วิทยาศาสตร์เบื้องหลัง
การวิเคราะห์ลายผิวของ P-PAC นั้น ใช้วิธีเทียบข้อมูลเชิงสถิติ ระหว่างลักษณะลายผิวของคนจำนวนมากที่รวบรวมไว้ในฐานข้อมูล (และปัจจุบัน ข้อมูลที่เก็บใหม่ก็ยังส่งต่อไปที่ไต้หวัน) กับลักษณะต่างๆ ของคนเหล่านั้น
ส่วนการวัดผลสำเร็จในระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมานี้ ใช้วิธีสอบถามความพึงพอใจของผู้ที่เคยใช้บริการ ซึ่งชื่อ ‘ลายผิววิทยา’ หรือ dermatoglyphics นั้นเป็นวิทยาศาสตร์ และเป็นสิ่งที่เอฟบีไอศึกษาอย่างจริงจังเพื่อระบุตัวบุคคล อย่างที่ P-PAC ได้ให้ข้อมูล และนักวิทยาศาสตร์ยังใช้ศึกษาหาความสัมพันธ์เพื่อระบุตัวเด็กที่เป็นโรคพันธุกรรมกลุ่มอาการดาวน์ได้ตั้งแต่อายุยังน้อย
แต่การเชื่อมโยงลายผิวกับความสามารถทางด้านต่างๆ นั้น ยังไม่มีข้อมูลวิจัยที่ระบุได้ชัดเจนว่าทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาและพหุปัญญาของโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นั้นเกี่ยวข้องโดยตรงอย่างไรกับลายผิววิทยา นอกจากข้อมูลในเอกสารประกอบของ P-PAC ที่ระบุว่า “ลายผิวถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่เซลล์สมองของตัวอ่อนเริ่มก่อตัวในครรภ์มารดา”
ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่สนใจศาสตร์นี้ อาจค้นข้อมูลประกอบเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจใช้บริการ
Fact Box
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม:
- เอกสาร P-PAC ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ กับงานถอดรหัสสมอง ค้นหาศักยภาพ
- http://www.p-pac.com/
- https://www.prachachat.net/education/news-224082
- https://en.wikipedia.org/wiki/Dermatoglyphics
- https://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-2650589/Could-fingerprint-reveal-perfect-job-Scientists-create-scanner-claim-matches-finger-shapes-careers.html
- https://www.encyclopedia.com/science/encyclopedias-almanacs-transcripts-and-maps/jaquin-noel-1894-1974
- https://enricheducation.wordpress.com/2012/09/07/the-non-science-called-dmit/
- https://www.quora.com/How-reliable-is-Dermatoglyphics-Multiple-Intelligence-Analysis-DMIA