ธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่สุดแตกออกมาและมีก้อนน้ำแข็งลอยลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกตั้งแต่ปี 2003 ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เพิ่งพบว่ามันขึ้นในบริเวณที่ไม่มีธารน้ำแข็ง

“เรารู้ว่ามีปัญหาใหญ่มากที่ธารน้ำแข็งแตกเร็วขึ้น แต่ตอนนี้มีอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญมากคือ มวลน้ำแข็งขนาดใหญ่กำลังละลาย กลายเป็นแม่น้ำไหลลงสู่ทะเล” ไมเคิล เบวิส หัวหน้าคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอกล่าว

เขายังบอกอีกด้วยว่า “สิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือปรับตัวและบรรเทาสภาวะโลกร้อน ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นอีก เรากำลังติดตามดูแผ่นน้ำแข็งมาถึงจุดเปลี่ยนสำคัญ (tipping point)”

ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มเร็วขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต เมื่อถึงจุดเปลี่ยนสำคัญ คำถามที่ตามมาคือ มันจะร้ายแรงมากแค่ไหน

งานวิจัยนี้ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมของนาซ่าที่ชื่อเกรซ (Grace) และสถานีจีพีเอสที่ติดตั้งทั่วเกาะกรีนแลนด์เพราะวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงของมวลน้ำแข็ง ข้อมูลแสดงให้เห็นว่า น้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์หายไปประมาณ 28,000 ล้านตันต่อปี ระหว่างปี 2002 ถึง 2016 ซึ่งมากพอที่จะทำระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 0.03 นิ้วต่อปี ถ้าแผ่นน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์ละลายหมด ระดับน้ำทะเลของโลกจะเพิ่มขึ้น 7 เมตร ทำให้พื้นที่ชายฝั่งทั้งหมดจมน้ำ

อัตราการหายไปของแผ่นน้ำแข็งในกรีนแลนด์ไม่เคยมีถึง 4 เท่ามาก่อน เมื่อเทียบระหว่างปี 2013 กับ 2003 นักวิจัยกล่าวว่าเป็นเพราะระดับอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกจาการกระทำของมนุษย์ และปรากฏการณ์ North Atlantic Oscillation ซึ่งเป็นสภาพอากาศช่วงเวลาหนึ่งที่นำอากาศอุ่นขึ้นมายังกรีนแลนด์

นอกจากนี้ธารน้ำแข็งบริเวณตะวันออกเฉียงใต้และตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะกรีนแลนด์จะถูกนักวิทยาศาสตร์ติดตามดูในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระดับน้ำทะเลของโลกสูงขึ้นแล้ว การศึกษาครั้งนี้ยังพบว่าทุ่งน้ำแข็งบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ยังก่อให้เกิดน้ำที่ละลายจากน้ำแข็งขนาดใหญ่อย่างที่ไม่เคยคาดคิด เพราะแทบไม่มีธารน้ำแข็งเลย  ระบบจีพีเอสติดตามน้ำแข็งรอบเกาะกรีนแลนด์ แต่มีเครือข่ายน้อยบริเวณตะวันตกเฉียงใต้

เนื่องจากดาวเทียมหยุดส่งข้อมูลในปี 2016 จึงยังไม่แน่ชัดว่าการละลายที่เริ่มในปี 2013 หยุดหรือยัง

ที่มา:

https://www.theguardian.com/world/2019/jan/21/greenland-ice-melting-faster-than-scientists-previously-thought-study

https://www.bbc.com/news/science-environment-46960842

https://edition.cnn.com/2019/01/21/health/greenland-ice-melt-study-intl/index.html

Tags: ,