ทินเดอร์ พลัส (Tinder Plus) เป็นบริการแบบพรีเมียมของทินเดอร์ เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนมีนาคม 2015 บริการนี้ให้ผู้ใช้ปัด (swipe) และอนุญาตให้เปลี่ยนตำแหน่งที่อยู่ ยกเลิกการปัดก่อนหน้านี้ และใช้ Super Like ได้อย่างไม่จำกัด
ในสหรัฐอเมริกา ค่าสมาชิกของทินเดอร์ พลัส อยู่ที่ 9.99 เหรียญสหรัฐต่อเดือนสำหรับคนที่อายุน้อยกว่า 30 ปี และ 19.99 เหรียญสหรัฐต่อเดือนสำหรับผู้ที่อายุ 30 ปีขึ้นไป ด้วยเหตุผลที่ว่าคนที่อายุมากกว่าหาเงินมาจ่ายได้มากกว่า แต่ไม่ได้บอกตรงๆ ว่าคนกลุ่มนี้ยังสิ้นหวังกว่านิดหน่อยด้วย
แน่นอนว่า คนที่อายุมากกว่า 30 ปีไม่ชอบนโยบายนี้ เมื่อวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมา ศาลอุทธรณ์ของแคลิฟอร์เนียตัดสินว่า ทินเดอร์ พลัส ใช้โมเดลราคาที่เลือกปฏิบัติต่อผู้ใช้บนฐานของการเลือกปฏิบัติที่กำหนดเอง (“arbitrary, class-based generalization”) เกี่ยวกับรายได้ของผู้ใช้ที่มีอายุมากกว่า
การตัดสินครั้งนี้สวนทางกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นในลอสแองเจลิสที่ตัดสินว่านโยบายนี้ของทินเดอร์ไม่ใช่การเลือกปฏิบัติ แต่เป็นผลมาจากงานวิจัยทางการตลาดว่าคนที่อายุน้อยกว่ามีข้อจำกัดทางการเงิน
ไม่ว่างานวิจัยทางการตลาดของทินเดอร์จะแสดงว่าผู้ใช้ที่อายุน้อยกว่าสัมพันธ์กับรายได้ที่น้อยกว่า และมีความสามารถที่จะจ่ายค่าบริการต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่อายุมากกว่า แต่บางคนอาจจะไม่เข้าข่ายนี้ ศาลอุทธรณ์บอกว่า ผู้บริโภคที่อายุมากกว่าจำนวนหนึ่งมีข้อจำกัดทางการเงินมากกว่า และมีความสามารถที่จ่ายน้อยกว่าคนที่เด็กกว่า นโยบายของทินเดอร์ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ยังเขียนว่า “ปัด (swipe) ไปทางซ้าย” และกลับคำพิพากษา (reverse) ซึ่งในทินเดอร์ การปัดไปทางซ้ายหมายถึงการปฏิเสธ
ผู้ยื่นคำร้องต่อศาลในคดีนี้คือ อัลลัน แคนเดอลอร์ และผู้ใช้ชาวแคลิฟอร์เนียที่อายุ 30 ปีขึ้นไปคนอื่นๆ ที่สมัครใช้บริการทินเดอร์ พลัส ทินเดอร์ตอบข้อร้องเรียนของเขาว่า โมเดลราคาของทินเดอร์มองคนหนุ่มสาวว่ามีข้อเสียเปรียบทางเศรษฐกิจ ตามที่ให้ข้อมูลต่อศาล และเพิ่มเติมว่ามีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าคนที่อายุต่ำกว่า 30 ปี ต้องเผชิญกับความท้าทายทางการเงิน แต่ตอนที่ทินเดอร์ พลัส เปิดใช้บริการเมื่อปี 2015 ฌอน แรด ซีอีโอของบริษัทในขณะนั้น มีอายุน้อยกว่า 30 ปี
ทินเดอร์ยังไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็น
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทินเดอร์ถูกร้องเรียนว่าค่าใช้บริการเป็นการเลือกปฏิบัติ เคยมีกรณีที่ชายคนหนึ่งฟ้องร้องทินเดอร์ในปี 2015 ว่าเลือกปฏิบัติต่อลูกค้าบนฐานของอายุและเพศ
ไม่ชัดเจนว่าบริการทินเดอร์ พลัส สร้างรายได้ให้กับทินเดอร์มากแค่ไหน ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2016 เกร็ก บลัทท์ ซีอีโอคนปัจจุบัย บอกกับนักลงทุนว่าบริการนี้เพิ่ม engagement เพราะผู้ใช้ทินเดอร์ พลัส มีแนวโน้มที่จะเป็นลูกค้าที่เข้ามาใช้งานแอปพลิเคชั่นบ่อย ดังนั้นพวกเขาจึงอยู่กับผลิตภัณฑ์นี้ได้นานที่สุด ซึ่งจะส่งผลดีกับสินค้า
ที่มา:
https://qz.com/1193515/california-told-tinder-to-stop-discriminating-against-30-somethings/
https://gizmodo.com/judge-can-t-help-but-make-tinder-joke-while-ruling-app-1822566606
Tags: Tinder, ทินเดอร์, Application