นอกจากรักแล้ว ขอให้ดูไลฟ์สไตล์
02.34
จากสถิติ หนึ่งในเหตุผลของปัญหาการหย่าร้างนั้นคือเรื่องเงินทอง ตอนที่เราอายุไม่มากเรื่องชู้สาวอาจจะเป็นสาเหตุหลักของการเลิกรา แต่เมื่อเราอายุมากขึ้น ปัญหาทางการเงินจะขึ้นมาแทนที
โดยธรรมชาติของคนไทยแล้ว ตั้งแต่เริ่มคุยกันจนถึงก่อนแต่งงานส่วนมากมักจะไม่มีใครที่คุยเรื่องการเงินเลย เพราะจะรู้สึกว่าละลาบละล้วงหรือเป็นการกดดันกัน ทั้งที่จริงแล้วเป็นสิ่งที่ต้องมองและพิจารณาตั้งแต่ก่อนแต่ง ทั้งเรื่องลักษณะนิสัย ทัศนคติในเรื่องของการใช้จ่าย และรูปแบบไลฟ์สไตล์ว่าเรากับเค้านั้นมีสิ่งเหล่านี้ตรงกันมั้ย ถ้าไม่ตรงกันก็จะเกิดปัญหาขึ้นได้
อย่างเคสของโค้ชหนุ่มคือมีคู่รักคู่หนึ่งซึ่งมีไลฟ์สไตล์แตกต่างกันมาก ผู้ชายเป็นคนประหยัดสุดๆ ซีเรียสเรื่องการใช้จ่ายมาก ในขณะที่ผู้หญิงนั้นเป้นคนแต่งตัว ใช้จ่ายเงินเต็มที่ วันหนึ่งสองคนนี้ก็นัดโค้ชไปปรึกษาทางการเงิน ผู้ชายมาก่อนก็เล่าถึงแพลนในอนาคตว่าจะแต่งงาน ปีนี้ผมกับแฟนมีโบนัสเท่านี้ก็จะเก็บไปแต่งงานหมดเลย น่าจะพอสำหรับค่าใช้จ่าย สักพักผู้หญิงตามมา ปรากฏว่าผู้หญิงมีเซอร์ไพรส์ อย่างแรกคือได้โบนัสมากกว่าที่คิด และอย่างที่สองคือโบนัสที่ได้มาเธอเอาไปจองรถหมดแล้ว ผู้ชายก็โกรธเลย ตะโกนเสียงดัง และจบด้วยการขอเลิกกัน ถือเป็นเคสหนึ่งที่แรงมาก
The Money Talk
09.44
เมื่อเราจะแต่งงาน มั่นใจแล้วว่าคนนี้ใช่ คนส่วนมากก็จะยังไม่คุยเรื่องการเงินหลังแต่งอยู่ดี คือแบ่งกันแค่คร่าวๆ ว่าเราจะจ่ายอะไร เธอจะจ่ายอะไร แต่ความจริงมันมีสิ่งที่ลึกกว่านั้น คือการแต่งงานกันนั้นมันไม่ใช่เรื่องของคนสองคน มันยังมีครอบครัวที่อยู่เบื้องหลังอีก เพราะฉะนั้นก่อนแต่งงานควรจะจัดการมานั่งคุย money talk กัน ซึ่งเรื่องที่ควรจะคุยได้แก่
1. สภาวะทางการเงินของครอบครัวแต่ละฝ่าย คนไทยอาจจะตะขิดตะขวงใจนิดนึง เพราะมันรู้สึกเหมือนถูกตรวจสอบ แต่ก็ต้องคุยกันเพื่อให้เข้าใจ ครอบครัวแต่ละฝั่งมีหนี้เท่าไหร่ ต้องส่งเงินให้พ่อแม่มั้ย เห็นกันก่อนเลยว่ารายได้ของครอบครัวจะต้องจัดสรรไปแค่ไหนและทางไหนบาง ซึ่งหากไม่ได้คุยกันตรงนี้ ถ้าเงินมันมีพอก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าไม่พอเมื่อไหร่มันจะเป็นปัญหา
2. แต่ละคนมีหนี้สินแค่ไหน ควรสื่อสารกันให้หมด ไม่ควรมีเรื่องให้เซอร์ไพรส์หลังแต่งงาน หรือมีความผิดพลาดอะไรที่ทำให้เป็นหนี้ก็ควรจะบอกกันจะได้วางแผนขัดเจนว่าจะจัดสรรหนี้ตรงนี้อย่างไร เป้นการสร้างความเข้าอกเข้าใจ
3. รายได้ เล่าให้ฟังกันว่ามีรายได้ฝ่ายละกี่ช่องทาง ทำอะไรอยู่บ้าง ได้เดือนละเท่าไหร่ เป็นเรื่องที่น่าจะคุยกันได้
4. เป้าหมายในชีวิต เป็นเรื่องที่โค้ชหนุ่มคุยกันในครอบครัวทุกปี อย่างตอนนี้เรามีบ้านหลังเล็กๆ เท่านี้ก่อนนะ แต่ถ้าลูกโตขึ้นเราจะซื้อบ้านที่ใหญ่ขึ้น แล้วปีนี้จะมีรายได้เท่านี้ เราจะโปัหนี้บ้านให้หมดเลยมั้ย ฯลฯ ก็เป็นเรื่องที่ควรจะคุยกันเพราะมันมีจุดละเอียดอ่อนที่จะเป็นปัญหาได้เยอะมาก และอีกมุมหนึ่งก็เป็นส่วนที่ทำให้เกิดความรับผิดชอบร่วมกัน หลายครอบครัวผลักภาระไปให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนแบกรับความเครียดไว้ เพราะฉะนั้นการพูดคุยกันน่าจะดีที่สุด
ซึ่ง money talk ทั้งสี่ข้อนี้เป้นสิ่งที่ควรจะคุยกันตั้งแต่ก่อนแต่ง และหลังแต่งก็ควรจะคุยกันให้เป็นประจำเช่นกัน อย่างมีฝ่ายหนึ่งอยากที่จะลาออกจากงานไปหาความท้าทางใหม่ มันก็ต้องกลับมามองเรื่องภาระทางการเงิน มาเจรจากัน
จำเป็นมั้ยที่ต้องให้แม่บ้านเป็นคนเก็บเงิน
17.11
จริงๆ แล้วการเก็บเงินของครอบครัวนั้นมันมีหลายสูตร แม่บ้านดูแลทุกอย่างก็มี เพราะผู้หญิงจะดูแลละเอียด แต่บางบ้านก็ใช้วิธีจัดสรรให้ชัดเจนว่ารายจ่ายตรงไหนเป็นของใคร ผู้ชายดูแลบ้านและรถ ผู้หญิงดูแลจิปาถะไป ทั้งสองคนต่างมีรายได้ก็แยกกระเป๋าดูแลกันไปก็มี ทั้งนี้ก็วางอยู่บนพื้นฐานของการให้เกียรติซึ่งกันและกัน
อย่างของโค้ชหนุ่มนั้นก่อนแต่งงานคุยกันไว้เลยว่าในเมื่อทุกเรื่องของชีวิตมีเรื่องการเงินมาเกี่ยวข้อง หลายๆ เรื่องจึงยกอำนาจในการตัดสินใจให้กันและกันไป ถ้าเป็นเรื่องเล็กๆ จุกจิกในบ้านโค้ชก็จะให้แฟนตัดสินใจไปเลย แต่ถ้าเป็นเรื่องใหญ่ๆ เดี๋ยวโค้ชหนุ่มจัดการเอง
การจัดการเงินแบบอยู่คนเดียวกับแบบมีชีวิตคู่
19.44
ทั้งสองแบบนี้มีความแตกต่างกันมาก ตอนเราหาเองมันตัดสินใจได้หมด เมื่อแต่งงานแล้วก็ใช่ว่าจะตัดสินใจไม่ได้ แต่มันจะเพิ่มความคิดที่นึกถึงครอบครัวก่อน อย่างถ้ามีลูกความคิดในการใช้จ่ายเพื่อลูกก็จะตรงกัน แต่เวลาใช้จ่ายให้ตัวเองจะเริ่มมีปัญหาเล็กๆ อย่างผู้ชายที่ยังอยากได้อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ ส่วนผู้หญิงก็ยังอยากได้เสื้อผ้า กระเป๋า เพราะฉะนั้นก็ควรจะมีเงินส่วนหนึ่งที่กันไว้ใช้จ่ายเพื่อตัวเอง และแต่ละฝ่ายก็ควรจะต้องเคารพในการตัดสินใจของกันและกัน ถ้าเราสามารถทำตามแผนการเงินข้างต้นที่เคยตกลงกันไว้ได้หมดแล้ว การใช้จ่ายตรงนี้ก็คงไม่มีปัญหาอะไร
Tags: การแต่งงาน, married, ความรัก, money, LOVE, การเงิน, การลงทุน, THE MONEY COACH, จักร์พงษ์ เมษพันธุ์