คุณเรียกหัวหน้าคุณว่าอย่างไร เรียกว่า ท่านเรียกว่า คุณหรือเรียกว่า นาย’ 

เอาเข้าจริงในวงการราชการ ในองค์กรธุรกิจใหญ่ๆ คำว่า นายอาจใช้กันแพร่หลายที่สุด คนทำงานใกล้ชิดอธิบดี เรียกหัวหน้าว่า นายคนทำงานใกล้ชิดรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี ก็เรียกหัวหน้าว่า นายเช่นเดียวกับบรรดาองค์กรธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร ธุรกิจขายไก่ขายหมู ธุรกิจพลังงาน นักธุรกิจที่รวยติด 10 อันดับแรก ล้วนได้รับการเรียกขานจากพนักงานในองค์กรว่า นายทั้งสิ้น

หากจะซับซ้อนหน่อยก็เป็นได้ว่าบางองค์กรอาจมี นายหลายคน อาจเป็นได้ทั้ง นายหญิงซึ่งหมายถึงบอสที่เป็นผู้หญิงหรือภรรยาของบอส นายน้อยอาจหมายถึงลูกบอส หลานบอส หรือวงศาคณาญาติบอสที่อยู่ในระดับบริหาร 

คำถามก็คือแล้วทำไมต้อง นายอันที่จริงเด็กรุ่นใหม่ตั้งคำถามกับเรื่องนี้พอสมควร เพราะคำสั้นๆ คำนี้อาจมีที่มาถึงการแบ่งชนชั้น แบ่งต่ำแบ่งสูง หรือในแง่หนึ่งบางคนอาจรู้สึกว่า คิดมาก คิดเล็กคิดน้อยเกินไป เพราะหากแปลเป็นภาษาอังกฤษ นายอาจหมายถึง Boss ถึงแปลว่า เจ้านายตามปกติ

แล้วจริงๆ เราควร คิดเล็กคิดน้อยกับเรื่องนี้มากแค่ไหน?

1.เรื่องของ ‘ไพร่’ และ ‘นาย’ 

อันที่จริงเรื่องที่จะเป็นปัญหาคือ เจ้านายในภาษาไทย ไม่ได้หมายถึง Boss เท่านั้น แต่ถ้าย้อนกลับไปยังประวัติศาสตร์ เจ้านาย อาจหมายถึง เจ้าที่เป็นเชื้อพระวงศ์ เป็นเชื้อสายกษัตริย์ เป็นเจ้าขุนมูลนาย และพาเราย้อนยุคกลับไป 100-200 ปี

ทั้งอาจทำให้คนรู้สึกว่านี่คือสังคมที่แบ่งแยกชนชั้น กล่าวคือพนักงานมีสถานะเป็นไพร่ขณะที่เจ้านายมีลักษณะเป็นเสมือน เจ้า’ 

ขณะเดียวกัน คนเป็น นาย(บางคน) ก็รู้สึกภูมิใจ ยืดได้ว่ามีสถานะเป็นนาย เปรียบเสมือนเจ้า เป็นเชื้อพระวงศ์ในอดีต ขณะที่คนเป็นลูกน้องอาจไม่ได้รู้สึกอะไร แต่ก็มีสถานะเป็น ไพร่โดยไม่รู้ตัว

ด้วยเหตุนี้แนวคิดแบบ คนเท่ากันจึงไม่เชื่อ และไม่อินกับการเรียกหัวหน้าว่า นายนัก 

2.เรื่องของ ‘บอส’ 

ในต่างประเทศ สถานที่ทำงานรุ่นใหม่มักเรียกชื่อจริงแทนตำแหน่งด้วยภาษา ไม่ได้มีชนชั้น ไม่ได้มีลำดับขั้น การเรียกชื่อจึงเปรียบเสมือนเป็นการให้เกียรติในเบื้องแรกแล้ว

กระนั้นเองก็มีบางที่ที่อาจใช้ มิสเตอร์หรือ มิสนำหน้า เพื่อบ่งบอกการให้เกียรติอีกระดับมากกว่าเรียกชื่อเฉยๆ และบางที่อาจใช้คำว่า บอส เป็นการให้เกียรติได้เช่นกัน 

อย่างไรก็ตามบอสก็ไม่เท่ากับคำว่า เจ้านายหรือ นายแบบไทยๆ เพราะหัวหน้าก็คือหัวหน้า ไม่ได้มีสถานะทางสังคม หรือทางวัฒนธรรมแบบที่สังคมไทยคุ้นชิน

3.หัวหน้า’ หรือ ‘ท่านหัวหน้า’

ในวัฒนธรรมผู้พิพากษา มักเรียกผู้พิพากษาว่า ท่าน ถือเป็นการให้เกียรติขั้นสูงสุด เพราะถือเป็นตำแหน่งที่ได้รับโปรดเกล้าฯ โดยพระมหากษัตริย์ โดยก่อนหน้านี้ถึงกับเรียกว่า ใต้เท้าแต่ ณ ขณะนี้ลดหลั่นลงมาเหลือเพียงคำว่า ท่าน

ถึงขั้นว่าเวลาสอบเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา บรรดาผู้ที่เข้าสอบทั้งหลายเรียกชื่อเล่นของการสอบนี้ว่า สอบท่านย่อจากการสอบผู้พิพากษา

ถึงกระนั้นเอง ตำแหน่งโปรดเกล้าฯ โดยพระมหากษัตริย์ไม่ได้มีเพียงผู้พิพากษาเพียงตำแหน่งเดียว หากอัยการก็ได้รับโปรดเกล้าฯ เช่นกัน เช่นเดียวกับตำแหน่งระดับซี 10 ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นรองปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ตรวจราชการกระทรวง ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ที่ปรึกษาฯ ในระดับราชการซึ่งล้วนเป็นตำแหน่งโปรดเกล้าฯ ก็ไม่ได้เคร่งครัดในการเรียกคนเหล่านี้ว่า ท่าน’ 

เมื่อปี 2558 เคยมีเรื่องเล่าขานในวงการผู้พิพากษาว่า ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดมุกดาหารในขณะนั้น ได้ส่งหนังสือไปถึงผู้พิพากษาทุกคน รวมถึงผู้อำนวยการ และข้าราชการศาลยุติธรรม โดยระบุว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดได้เรียกตนเองว่า “หัวหน้า” โดยพูดประโยคว่า “หัวหน้า หัวหน้า หัวหน้าไม่ไปไหนหรือ” ซึ่งคำว่า หัวหน้าถือเป็นคำเรียกที่ไม่เหมาะสมกับตุลาการและยังคลาดเคลื่อน เพราะลูกน้องโจรก็เรียกหัวหน้าโจรว่า หัวหน้าและวิทยุโฆษณาขายสินค้า นาย ก.ก็เรียก นาย ข.ว่า หัวหน้า

ด้วยเหตุนี้ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดมุกดาหารจึงเห็นว่า ผู้พิพากษาเป็นตำแหน่งที่แตกต่างจากตำแหน่งทั่วไปและคำที่ชาวบ้านเรียกขานทั่วไป เพื่อให้เกียรติกับสถาบันตุลาการจึงควรเป็นคำว่า ท่านหรือ ท่านหัวหน้ามากกว่าหัวหน้าเพียงอย่างเดียว ขณะเดียวกันยังได้แนบหนังสือ สมบัติผู้ดีประกอบไปด้วย

เรื่องดังกล่าว เมื่อออกสู่สาธารณชนได้กลายเป็นเรื่องเล่าขานถึงความ เยอะของผู้พิพากษาคนดังกล่าว ในบรรดาคนทั่วไปก็สะท้อนให้เห็นความมากเรื่องของวงการนี้ได้เป็นอย่างดี

4.แล้วควรเรียก ‘หัวหน้า’ ว่าอย่างไร

จริงๆ เรื่องนี้ขึ้นกับการตกลงร่วมกัน บางที่อาจมีข้อตกลงกลางร่วมกันว่าให้เรียกว่า นายและทุกคนก็เรียกว่า นาย ซึ่งอาจเป็นวัฒนธรรมองค์กร หากไม่ติดอะไร คุณก็อยู่ในสภาพนั้นได้ แต่ในหลายองค์กรก็ถูกเปลี่ยนให้เป็นทางการน้อยลง อาจเปลี่ยนเป็น บอส’ ‘หัวหน้า’ ‘คุณอาจเปลี่ยนเป็น พี่หรือบางองค์กร อาจยังคงความเป็นเจ้าขุนมูลนายในขั้นกว่าด้วยการต้องเรียก ท่าน

กรณีขององค์กรรุ่นใหม่ อาจตกลงกันได้ด้วยการเรียกคำอื่นแทนคำว่า นาย แต่หากเปลี่ยนไม่ได้ จัดการไม่ได้ ก็อาจต้องเป็นด้วยการรับสภาพองค์กรแบบไทยๆ แบบที่มีการแบ่งนายลูกน้องกันต่อไป ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะรับได้หรือไม่

แต่การยอมเรียก นายแล้วทำงานตามปกติ มี Career Path ที่ชัดเจน ไม่ต้องประจบใครเพื่อขึ้นเป็นใหญ่ แบบสังคมอุปถัมภ์ แบบระบอบอำนาจนิยม ก็ย่อมเป็นเรื่องที่ดีกว่า ถูกต้องกว่า

ถึงที่สุด อาจไม่ได้ดั่งใจทั้งหมด ก็ต้องชั่งน้ำหนักว่าจะ ได้หรือ เสียมากกว่ากัน

https://prachatai.com/journal/2015/04/59012

Tags: , ,