หากลองสังเกตดีๆ เราจะเห็นว่าสำนวนต่างๆ ในภาษามักจะมาจากสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของคนเรา และเนื่องจากมนุษย์เราเดินทางอยู่เนืองๆ ไม่ว่าจะเพื่อไปมาหาสู่กันหรือแสวงหาสิ่งใหม่ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ยานพาหนะต่างๆ ที่ใช้ในการเดินทางตั้งแต่ยานพาหนะสำหรับเดินทางคนเดียวอย่างจักรยาน ไปจนถึงยานพาหนะสำหรับขนส่งมวลชนอย่างรถไฟและเรือไททานิก จะถูกหยิบมาใช้สร้างสำนวน

ในสัปดาห์นี้ เราไปดูกันว่ามียานพาหนะอะไรบ้างไปโผล่ในสำนวนภาษาอังกฤษ และแต่ละสำนวนนำไปใช้อย่างไรได้บ้าง

 

Throw someone under the bus หักหลังเพื่อน โยนขี้ให้เพื่อน

ตอนรับคำชม

บอกเป็นความดีความชอบทั้งทีม

ถึงคราวรับคำด่า

รีบเซฟตัวเอง

ชี้นิ้วว่าเป็นความผิดเพื่อน

 

 

On your bike! ไปไกลๆ เลย

อะไรนะ

เงินก้อนเดิมที่ติดอยู่ก็ยังไม่คืน

จะขอยืมก้อนใหม่เหรอ

ไปไกลๆ เลย

สำนวนนี้พูดกันในฝั่งบริติช ใช้ในการไล่คนแบบขำๆ เหมือนไล่ให้ขี่จักรยานไปที่อื่น บางครั้งก็จะเขียนให้เก๋ๆ ว่า On yer bike!

 

Jump on the bandwagon ทำตามกระแส

ซื้อบิตคอยน์

เล่นเซิร์ฟสเกต

บูชาพระมหาเทวีเจ้า

ไม่ว่าคนจะเฮละโลไปทำอะไร

ขอเกาะกระแสตามเทรนด์ด้วยคน

Bandwagon คือรถแห่วงดนตรีในการเดินพาเหรดในสมัยก่อน

 

Put the cart before the horse ทำสิ่งที่ควรทำทีหลังก่อน

นี่แกวางแผนทริปต่างประเทศปลายปี

จองตั๋วเครื่องบินและโรงแรมเรียบร้อยแล้วเหรอ

แกไปเอาความมั่นใจมาจากไหน

ว่าถึงตอนนั้นจะได้ฉีดวัคซีนแล้ว

รอฉีดก่อนแล้วค่อยจองดีไหม

อย่าหาทำ เอาเกวียนมาเทียมม้า

สำนวนนี้ว่ากันว่ามีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นอย่างน้อย แปลตรงตัวได้ว่า นำเกวียนมาวางหน้าม้า การเรียงตำแหน่งแบบนี้ผิดจากปกติ เพราะโดยทั่วไปแล้ว เราต้องนำม้ามาเทียมเกวียนจากทางด้านหน้า ม้าจึงจะลากเกวียนไปข้างหน้าได้ สำนวนนี้จึงถูกนำมาใช้ในความหมายว่า ทำอะไรผิดลำดับ หยิบเอาเรื่องที่ควรเก็บไว้ทำทีหลังมาทำก่อน

 

Don’t rock the boat อย่าพูดหรือทำอะไรที่ทำลายความสงบสุข

อยู่บ้านนี้เมืองนี้ต้องไม่หือไม่อือ

เป็นประชาชนเชื่องๆ พยักหน้าหงึกๆ

เห็นปัญหาอะไรในบ้านเมืองก็สงบปากสงบคำไว้

อย่าพูดอะไรที่จะสร้างความไม่สงบสุข

เพราะความสงบสุขสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด

 

When my ship comes in เมื่อถึงคราวรวย

คอยดูเถอะ

มีเงินมีทองเมื่อไหร่

จะไม่รอให้ใครไล่

จะรีบหอบผ้าหอบผ่อนย้ายรกรากไปตั้งถิ่นฐานประเทศอื่น!

 

 

Rearrange the deckchairs on the Titanic ห่วงเรื่องหยุมหยิม

ระบบการศึกษาผุพังถึงแก่น

เนื้อหามากเกินความจำเป็นและไม่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง

คุณภาพการเรียนการสอนยังต้องพัฒนา

โอกาสทางการศึกษายังกระจายไม่เท่าเทียม

แต่ผู้หลักผู้ใหญ่ยังมัวแต่สนใจเรื่องทรงผมกับชุดนักเรียน

เรือจะชนภูเขาน้ำแข็งอยู่แล้ว

ยังมัวแต่นั่งจัดเก้าอี้กันอีก

 

That train has left the station สายไปเสียแล้ว

พรรคร่วมรัฐบาลพรรคหนึ่ง

ออกมาขอโทษประชาชนที่มีส่วนทำให้ร่างรัฐธรรมนูญตกไป

แจงว่าตามเกมการเมืองของคนที่หมายล้มกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ทัน

ขอโทษนะ แต่สายไปเสียแล้ว

เวลาสำหรับการให้อภัยมันล่วงเลยไปแล้ว

 

Paddle your own canoe พึ่งพาตัวเอง

อะไรนะ ฉันควรเลิกบ่นเลิกวิจารณ์รัฐบาล และรู้จักพึ่งพาตัวเองเสียบ้าง

ได้เลยๆ

ต่อไปนี้ถ้าเจอทางเท้าพังๆ

ฉันจะลุกขึ้นมาก่ออิฐถือปูนซ่อมเอง

ถ้ามีฝุ่น PM 2.5

ฉันจะเป็นคนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้คนเลิกใช้รถยนต์ส่วนตัว

ส่วนเรื่องโรคระบาด

ฉันจะนั่งวิจัยวัคซีนและแจกจ่ายเอง

ฉันจะพึ่งพาตัวเองทุกอย่างเลย


Fall off the back of a truck ได้มาโดยไม่ถูกไม่ควร

ชาวเน็ตโวย สรรพากรไทยพฤติกรรมเยี่ยงโจร

สั่งของมาจากเมืองนอก 4 ชิ้น

พอแกะกล่องดูเหลือแค่ 2 ชิ้น

ส่วนอีก 2 ชิ้นที่หายไปดันไปโผล่ขายในเว็บเฉยเลย

แหม ไอ้สองชิ้นที่คุณพี่เอามาขายนี่มาจากไหนเหรอ

รถบรรทุกทำตกแล้วเก็บได้งี้เหรอ

 

บรรณานุกรม

http://oed.com/

Ammer, Christine. The American Heritage Dictionary of Idioms: American English Idiomatic Expressions & Phrases. 2nd ed. Houghton Mifflin Harcourt: Boston, 2013.

American Heritage Dictionary of the English Language

Ayto, John. Oxford Dictionary of English Idioms. OUP: Oxford, 2009.

Brenner, Gail. Webster’s New World American Idiom Handbook. Wiley Publishing: Indianapolis, 2003.

Cambridge Advanced Learners’ Dictionary

Flavell, Linda, and Roger Flavell. Dictionary of Idioms and Their Origins. Kylie Cathie: London, 2011.

Gulland, Daphne M., and Hinds-Howell, David. The Penguin Dictionary of English Idiom. Penguin Books: London, 2002.

Jack, Albert. Red Herrings and White Elephants: The Origins of the Phrases We Use Every Day. Metro Publishing: London, 2004.

Longman Dictionary of Contemporary English

Longman Idioms Dictionary. Pearson: Essex, 2010.

Merriam-Webster Dictionary

Oxford Advanced Learners’ Dictionary

Oxford Idioms Dictionary for Learners of English. OUP: New York, 2006.

Shorter Oxford English Dictionary

Tags: , , ,