เมื่อก่อนเราอาจคุ้นเคยว่าใครมีหน้าที่อะไรก็ทำงานตาม job description ของตัวเองไป ซึ่งหลายครั้งเมื่ออยู่หน้างานจริงๆ ก็จะพบว่าอุดมคติพวกนั้นมันห่างความเป็นจริงไปไกล แถมการสลายกำแพงหน้าที่ตามชื่ออาชีพของตัวเองออกไปแล้วหันมาช่วยกันระดมกำลังกับทีมตั้งแต่เริ่มต้น บางทีก็ช่วยสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้งานที่กำลังทำขึ้นมาอีกเยอะเลย 

เช่นเดียวกับการทำงานของห้องข่าวในต่างประเทศหลายแห่งที่อยู่เบื้องหลังการขุดค้นและทำข่าวที่มีอิทธิพลต่อคนทั่วโลก แน่นอนว่าทุกอย่างไม่ได้มาเพราะโชคช่วย และต่อไปนี้คือวิธีการที่ห้องข่าวยุคนี้ใช้เพื่อสร้างให้ข่าวเป็นมากกว่าตัวหนังสือพรืดยาวๆ ที่คนจะเปิดอ่านผ่านๆ ไป

  1. ให้โปรเจ็กต์นำ และทีมช่วยสร้างมันตั้งแต่ต้น – ห้องข่าวหลายแห่งเริ่มเปลี่ยนมาร่วมกันสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ทุกคน (ทั้งนักข่าว คนทำภาพ/สื่อประกอบ และโปรแกรมเมอร์) จำเป็นจะต้องขลุกอยู่ด้วยกันตั้งแต่ขั้นตอนแรกสุดของการทำงานเพื่อให้เห็นภาพรวมของทั้งโปรเจ็กต์ร่วมกัน นั่นคือการคิดว่าเราจะทำข่าวอะไร นำเสนออะไรแบบไหน และแปลงข่าวให้คนอ่านรู้สึกมีส่วนร่วมกับมันที่สุดได้ยังไงได้บ้าง 

  1. แข่งขันเพื่อช่วยกันพัฒนาเครื่องมือ – การทำข่าวเชิงลึกนั้นย่อมเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ โปรแกรมเมอร์จึงถือเป็นอีกหนึ่งบุคลากรคนสำคัญที่จะช่วยสร้างสรรค์เครื่องมือในการทำงานกับข้อมูลที่นักข่าวมี ตรงนี้เองที่ห้องข่าวหลายแห่งได้ร่วมกันพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เปิดให้โปรแกรมเมอร์จากห้องข่าวที่อื่นๆ เข้าถึงได้แบบ open source หลายคนอาจจะสงสัยว่ามันจะเป็นไปได้ยังไง เพราะสื่อแต่ละสำนักก็ต้องแข่งกันนำเสนอข้อมูลหรือข่าวเดียวกันไม่ใช่หรือ แต่ผลสำรวจของ Storybench กลับพบว่าวิธีนี้จะช่วยให้เหล่าโปรแกรมเมอร์ไม่หยุดอยู่กับที่ แถมยังเกิดเป็นเครือข่ายการช่วยกันพัฒนาซอฟต์แวร์หรือโค้ดคำสั่งใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนการทำข่าวมากยิ่งขึ้น ส่วนวิธีการนำเสนอข่าวนั้นเป็นเรื่องเฉพาะของใครของมันอยู่แล้ว 

  1. ปรับการนำเสนอให้อ่านได้ทั้งหน้าเว็บและอุปกรณ์อื่นๆ – แน่นอนว่าโทรศัพท์กลายเป็นปัจจัยที่ห้าของคนยุคนี้ไปแล้ว ดังนั้นจากเดิมที่อ่านข่าวกันผ่านหน้าเว็บจากคอมพิวเตอร์เป็นหลักก็เปลี่ยนมาเป็นจากสมาร์ตโฟน ซึ่งนั่นทำให้สำนักข่าวจำเป็นต้องปรับวิธีการนำเสนอข้อมูลให้เหมาะสมกับการอ่านจากโทรศัพท์ขนาดเหมาะมือนี้ไปด้วย ความท้าทายจึงเป็นการที่ห้องข่าวจะพัฒนาวิธีการเล่าข้อมูลพร้อมภาพประกอบหรือสารพัด interactive ยังไงให้มันยังคงอ่านได้ง่ายๆ และทำอะไรได้เหมือนที่อ่านข่าวจากเว็บให้มากที่สุดนั่นเอง 

ส่วนใครที่อยากสัมผัสประสบการณ์ของห้องข่าวแห่งอนาคตและความท้าทายใหม่ๆ ในการทำงานข่าว ลองมาเจอกันก่อนได้ที่งานเสวนาเปิดบ้าน Data Journalism Workshop ในหัวข้อ ‘โลกของ DATA มีน้ำยาจริงไหม?’​ ในวันอังคารที่ 21 มกราคม 2020 ที่ห้อง Library ชั้น 32 ดีแทคเฮ้าส์ จามจุรีสแควร์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://themomentum.co/kick-off-campaign-data-journalism/

 

อ้างอิง: 

https://www.storybench.org/learned-three-years-interviews-data-journalists-web-developers-interactive-editors-leading-digital-newsrooms/

https://webpublisherpro.com/improve-email-newsletter-engagement/

Fact Box

The Momentum, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ป่าสาละ, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) Punch Up และ DTAC ชวนสื่อมวลชน กราฟิกดีไซน์เนอร์ และโปรแกรมเมอร์ เข้าร่วมอบรม “Data Journalism Workshop” เวิร์กช็อปวิธีใช้งาน Data เพื่องานเนื้อหาเชิงลึก ที่จะทำให้คุณได้ลงมือสร้างสรรค์ผลงานจริง พร้อมคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์ ที่จะช่วยคุณอัพสกิลการทำคอนเทนท์ด้วยข้อมูลในแบบของคุณ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักข่าว กราฟิกดีไซน์เนอร์ หรือ โปรแกรมเมอร์

สนใจดูรายละเอียดที่ https://themomentum.co/djw2020/

Tags: ,