จากการอภิปรายทั่วไปปมถวายสัตย์ฯ ไม่ครบของ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเสร็จสิ้นไปพร้อมกับการประชุมสภาสมัยที่หนึ่ง และคำถามที่ว่าแล้วไงต่อ

แน่นอนว่าการอภิปรายไม่มีผลลัพธ์หรือคำตอบออกมา เพราะเป็นการอภิปรายทั่วไปที่ไม่มีการลงมติ ไม่เหมือนดังเช่นการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และไม่มีผลทางกฎหมายว่าสุดท้ายแล้วการถวายสัตย์ฯ ไม่ครบ ต้องตามรัฐธรรมนูญของ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั้นถือว่าเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ 

นี่ยังไม่นับว่าก่อนหน้านั้นเพียงไม่กี่วัน ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ยื่นเรื่องให้พิจารณากรณีคณะรัฐมนตรีถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 161 เพราะไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ

การขอเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง หรือ ชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 161 ของรัฐธรรมนูญ กรณีปมปัญหาการถวายสัตย์ฯ ไม่ครบตามรัฐธรรมนูญของฝ่ายค้านในครั้งนี้ จึงหวังผลเพียงสองอย่างคือ หนึ่ง นายกรัฐมนตรีตระหนักได้ถึงความร้ายแรงหรือความผิดจนประกาศลาออกหรือยุบสภา ซึ่งไม่เกิดขึ้น สองคือหวังผลในเชิงสังคม เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข้อเท็จจริง และใช้ในการตัดสินลงคะแนนเลือกตั้งในครั้งหน้า ซึ่งก็ต้องรอว่าเลือกตั้งครั้งหน้าเมื่อไร และสิ่งนี้จะมีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนจริงหรือไม่ 

แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือในประวัติศาสตร์การเมืองไทย นายกรัฐมนตรีเคยลาออกจากตำแหน่งด้วยเรื่องใดบ้าง มีครั้งไหนไหมที่เหตุการณ์คล้ายคลึงกับครั้งนี้ เพียงแต่ผลลัพธ์แตกต่างกันบ้างไหม

ในสมัยรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา (..2476- 2481) ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีถึง 5 สมัย มีการลาออก 3 ครั้ง ครบวาระการทำงาน 1 ครั้งและยุบสภา 1 ครั้ง โดยความน่าสนใจอยู่ที่การลาออก 2 ครั้งในสมัยที่ 2 และที่ 3 ของการเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งมาจากสภาผู้แทนราษฎร โดยครั้งแรกนั้นมาจากการที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ให้ความเห็นชอบการทำสนธิสัญญาจำกัดยางกับต่างประเทศของฝ่ายรัฐบาลเป็นเหตุให้รัฐบาลลาออก ในเดือนกันยายน 2477 แต่ครั้งนี้เป็นการเปิดอภิปรายโดยมีการลงมติ

ในขณะที่ครั้งที่สอง เกิดจากการตั้งกระทู้ถามรัฐบาลของนายเลียง ไชยกาล ผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2480 กรณีสงสัยว่ารัฐบาลทุจริตในการซื้อขายที่ดินของพระคลังข้างที่เนื่องจากเอื้อประโยชน์ให้กับคณะราษฎรและบุคคลในคณะรัฐบาล ซึ่งผลจากการตั้งกระทู้และการเปิดอภิปรายทั่วไปครั้งนั้นได้สร้างแรงกดดันให้แก่รัฐบาลอย่างมาก จนทำให้พระยาพหลพลพยุหเสนาตัดสินใจลาออกในวันที่ 9 สิงหาคม 2480 

ในครั้งที่สองนี้จะเห็นว่า แม้จะเป็นการอภิปรายทั่วไป ไม่มีการลงมติ แต่เหตุแห่งการเปิดโปงการทุจริตทำให้สุดท้ายในเวลาเดือนเศษถัดมา พระยาพหลพลพยุหเสนาตัดสินใจลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าสุดท้ายแล้วจะกลับเข้ามาใหม่ก็ตาม

ในสมัยจอมพล . พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ในสมัยที่สอง เขาก็เคยลาออกเนื่องจาก ส..ไม่อนุมัติร่าง พ...และ พ... แต่นั่นมาจากการอภิปรายโดยมีการลงมติ เช่นเดียวกันกับสมัยนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ ที่ลาออก เนื่องจากแพ้มติสภาจากการเสนอกฎหมายไม่ผ่าน

อีกหนึ่งกรณีที่น่าสนใจก็คือ ในสมัย พล...ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งฝ่ายค้านในขณะนั้นคือพรรคประชาธิปัตย์ ได้เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจยาวนานถึง 7 วัน 7 คืน ติดต่อกัน ซึ่งเป็นการอภิปรายครั้งแรกด้วยที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุ และจบลงด้วยการที่รัฐบาลของ พล...ถวัลย์ ได้รับการลงคะแนนไว้วางใจจากเสียงส่วนมากในสภา แต่สุดท้ายเพียงแค่ข้ามคืนหลังจากประชุมสภาเสร็จ พล...ถวัลย์ ก็ตัดสินใจลาออกหลังมีกระแสกดดันอย่างรุนแรงในสังคม ก่อนจะได้รับเลือกกลับเข้ามาใหม่เช่นเดิม

สำหรับนายกรัฐมนตรีในอดีตของไทยที่ลาออกเนื่องจากเกิดวิกฤติทางการเศรษฐกิจในประเทศ มีทั้ง พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์, พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ 

จะเห็นได้ว่ามีเพียงกรณีเดียวที่นายกรัฐมนตรีตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง อันมาจากการอภิปรายทั่วไปที่ไม่ได้มีการลงมติ นั่นก็คือในสมัยรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนากับกรณีการทุจริตในการซื้อขายที่ดินของพระคลังข้างที่

คำถามก็คือแรงกดดันทางสังคมที่ว่านั้น หรือเรื่องราวที่ถูกเปิดโปงหรือนำมาอภิปรายในสภา แม้ไม่ใช่การอภิปรายที่มีการลงมตินั้นจะต้องเห็นชัดแจ้งว่ามีความผิด หรือเคลือบแคลงสงสัยว่ามีความผิดมากมายแค่ไหน ประการใด ที่เพียงพอจะทำให้นายกรัฐมนตรีลาออกได้ 

หรือว่าเรื่องแบบนี้ถือเป็นเรื่องจริยธรรมส่วนบุคคลที่ไม่อาจวัดความมากน้อยกันได้ 

อ้างอิง

http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การยุบสภา_.._2481 

https://prachatai.com/journal/2019/06/83003 

https://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทย  

Tags: , , ,