‘บรรจุภัณฑ์’ ถือเป็นธุรกิจที่น่าสนใจและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการของคนทั่วโลก เมื่อชีวิตต้องมีสไตล์ ส่งผลให้ดีไซน์เป็นสิ่งสะท้อนรสนิยมของคนเราอีกรูปแบบหนึ่ง บรรจุภัณฑ์จึงเป็นมากกว่าการตอบโจทย์ด้านความสะดวกสบาย หากแต่ยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ โดยเฉพาะในยุค New Normal ที่ธุรกิจเดลิเวอรี่และอีคอมเมิร์ซเติบโตแบบก้าวกระโดด
ก้าวที่แตกต่างของ SCGP ผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน
หนึ่งในธุรกิจบรรจุภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จของประเทศไทยและอาเซียน และเป็นที่สนใจของนักลงทุนมากประสบการณ์คือ ‘SCGP’ หรือ บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (SCG Packaging) ผู้นำด้านโซลูชันบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน ที่นำเสนอบรรจุภัณฑ์และโซลูชันด้านบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย โดยมีฐานลูกค้าหลักปัจจุบันทั้งในประเทศไทย ประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศมาเลเซีย มุ่งเน้นดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนและหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
ธุรกิจหลักของ SCGP แบ่งออกเป็น (1) ธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร (Integrated Packaging Chain) ที่มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย ทั้ง กล่องพิมพ์สีเพื่อการแสดงสินค้า กล่องลูกฟูก กล่องสำหรับส่งสินค้าออนไลน์ บรรจุภัณฑ์ใส่อาหาร ผลิตภัณฑ์ขวดต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ แชมพู เครื่องสำอาง ฯลฯ ซึ่งเป็นผู้ผลิตกระดาษบรรจุภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์กล่องลูกฟูกรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน และ (2) ธุรกิจเยื่อและกระดาษ (Fibrous Chain) ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ภาชนะบรรจุอาหารซึ่งปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แบรนด์ “เฟสท์ (Fest)”
นอกจากธุรกิจบรรจุภัณฑ์ที่กำลังเนื้อหอมทั้งในกลุ่มนักลงทุนและนักธุรกิจ SCGP ยังเพิ่มบริการด้านโซลูชันบรรจุภัณฑ์ เพื่อช่วยให้คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ อาทิ โซลูชันสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียน โซลูชันสำหรับงานย่อย โซลูชันเพื่ออำนวยความสะดวก โซลูชันบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ โซลูชันสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และโซลูชันด้านกิจกรรมการตลาด เป็นต้น
นอกเหนือจากการให้บริการแก่กลุ่มผู้ประกอบการเป็นหลัก SCGP ยังยึดแนวคิด “Consumer Centricity” หรือการคำนึงถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ โดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบโดยทีมดีไซเนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อสามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์และการใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคได้อย่างลงตัว ยิ่งไปกว่านั้น SCGP ยังได้นำเสนอโซลูชันให้ลูกค้าได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด ผ่าน อินสไปร์ สตูดิโอ (Inspired Studio) ศูนย์ให้บริการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์และโซลูชันต่าง ๆ โดยจำลองซูเปอร์มาร์เก็ต ให้ลูกค้าสามารถเลือกแบบชิ้นงานต้นแบบ (Prototype) ซึ่งจะทำให้ลูกค้าเห็นภาพและสามารถเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด
SCGP เป็น ‘คู่คิด’ และ ‘คู่ค้า’ ด้านบรรจุภัณฑ์ ที่มาพร้อมนวัตกรรมทันสมัยตอบโจทย์ลูกค้า
ด้วยเหตุผลที่ SCGP วาง Positioning ของธุรกิจเป็น Comprehensive Packaging Solutions Provider หรือคู่คิดที่ตอบโจทย์ลูกค้าด้านบรรจุภัณฑ์อย่างครบวงจร ทำให้ SCGP เป็นมากกว่าบริษัทที่สร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า โดยการเข้าใจถึงความต้องการและช่วยวิเคราะห์แนวทางการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ นั่นคือโจทย์ที่ SCGP นำมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ ให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุด
จะเห็นได้จากนวัตกรรม Optibreath หรือบรรจุภัณฑ์ช่วยยืดอายุผักและผลไม้ ที่เกิดขึ้นจากการที่ SCGP เห็นความต้องการของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร จึงพัฒนา Optibreath ด้วยเทคนิคการเจาะรูขนาดเล็ก (Laser Perforation) และฟิล์มพอลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติในการควบคุมความชื้น (Anti-Respiratory) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพอัตราการหายใจและการคายน้ำของผักผลไม้ จึงสามารถยืดอายุการเก็บรักษาและยืดวันหมดอายุได้นานขึ้น ทั้งยังช่วยลดปริมาณอาหารที่เน่าเสีย (Food Waste) ได้อีกด้วย
นอกจากนี้ SCGP ยังมีอีกหนึ่งนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคได้อย่างลงตัว คือ Ezy Steam บรรจุภัณฑ์แบบอ่อนตัวสำหรับอาหารที่ต้องทำให้ร้อนหรืออุ่นในเตาไมโครเวฟ โดยไม่ต้องฉีกหรือตัดเพื่อเปิดบรรจุภัณฑ์ จึงไม่ต้องกังวลว่าอาหารที่อยู่ข้างในจะหกเลอะเทอะระหว่างอุ่นร้อน ทั้งยังช่วยป้องกันเชื้อโรคและการปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนการอุ่นอาหาร จึงเหมาะสำหรับอาหารที่ต้องทำให้ร้อนด้วยไอน้ำ เช่น ซาลาเปา เกี๊ยว ขนมปังไส้ลาวา โดยเฉพาะบ๊ะจ่าง ความน่าสนใจของนวัตกรรม Ezy Steam อยู่ที่การทำให้บ๊ะจ่างกลายเป็นอาหารที่ผู้บริโภคสามารถหาซื้อได้ทั่วไปได้แล้ว ไม่ใช่แค่เฉพาะช่วงเทศกาลเท่านั้น เพราะรับประทานได้ง่ายไม่ต่างจากอาหารอื่น ๆ ในร้านสะดวกซื้อ แล้วยังเก็บรักษาด้วยการแช่แข็งได้นานกว่า 6 เดือน
การเติบโตของธุรกิจบรรจุภัณฑ์ในวิกฤต COVID-19
เนื่องจาก SCGP มีฐานการผลิตในอาเซียนถึง 5 ประเทศ และมีลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม SCGP จึงมีความแข็งแกร่งและสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ดังจะเห็นได้จากผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 ที่ผ่านมา SCGP สามารถทำรายได้กว่า 45,903 ล้านบาท เติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11 โดยปัจจัยที่ทำให้ SCGP สร้างการเติบโตได้ดีนั้นก็มาจากการให้บริการที่ครบวงจร รวมถึงยอดขายบรรจุภัณฑ์สำหรับอีคอมเมิร์ซ ธุรกิจรับส่งอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารส่งออก และสินค้าเกี่ยวกับการดูแลสุขอนามัยที่เติบโตอย่างมาก นอกจากนี้ ยังได้รับผลดีจากการควบรวมกิจการหรือ Merger and Partnership (M&P) ที่ทำให้ SCGP สามารถเพิ่มฐานการผลิตในภูมิภาคและเพิ่มความครบครันของผลิตภัณฑ์และองค์ความรู้ในธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เรียกได้ว่า SCGP อาจเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่สามารถเติบโตท่ามกลางวิกฤตใหญ่ของโลกอย่าง COVID-19 เพราะโรคระบาดทำให้ผู้คนหลีกเลี่ยงการเดินทาง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จนถึงกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันเข้าสู่วิถีชีวิตแบบออนไลน์มากขึ้น ทำให้หลายธุรกิจเกิดการหยุดชะงักและไม่สามารถไปต่อได้
ในวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ ด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุค New Normal นำมาซึ่งความนิยมแบบก้าวกระโดดของการใช้บริการอีคอมเมิร์ซและธุรกิจเดลิเวอรี่ ส่งผลให้ปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์ในชีวิตประจำวันเพิ่มสูงขึ้น จึงเปิดโอกาสให้ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ของ SCGP เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุนธุรกิจของลูกค้าหลายกลุ่ม ที่จะตอบสนองไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันก็ตอบโจทย์ธุรกิจที่หลากหลายของผู้ประกอบการได้อย่างลงตัว
เพื่อรองรับการวางแผนการเติบโต ทำให้ SCGP เตรียมเดินหน้าเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยตั้งเป้าขยายธุรกิจให้ครอบคลุมทุกความต้องการของลูกค้าทั้งห่วงโซ่อุปทาน รองรับการเติบโตของผู้บริโภคในภูมิภาค พร้อมทั้งสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อขยายโอกาสการเติบโตอย่างมั่นคง จึงเป็นอีกหนึ่งข่าวใหญ่ที่นักลงทุนในตลาดหุ้นค่อนข้างให้ความสนใจ รวมถึงมือใหม่หัดเล่นหุ้นที่อยากให้ลองศึกษากลุ่มธุรกิจบรรจุภัณฑ์ไว้เช่นกัน
สำหรับนักลงทุนที่สนใจ สามารถศึกษาข้อมูลในรายละเอียดจากแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวนฉบับเต็มของ SCGP บนเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต. (www.sec.or.th)
อนึ่ง การลงทุนในหุ้นสามัญมีความเสี่ยง นักลงทุนอาจไม่ได้รับเงินต้นคืนเต็มจำนวน โปรดศึกษาข้อมูลหลักทรัพย์ที่จะลงทุน ตรวจสอบระดับความเสี่ยงที่ตนเองรับได้ก่อนตัดสินใจลงทุน
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.scgpackaging.com
แหล่งข้อมูล
(1) รายงานการวิจัยทางการตลาดแบบอิสระของ ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน
(2) https://www.scgpackaging.com/public/uploads/sd_report/sd_report_content/20200715051837.pdf
(3) https://www.scg.com/innovation/ezysteam/
Tags: Circular Economy, SCG, เศรษฐกิจหมุนเวียน, SCG Packaging