ถ้าเรารู้ว่าเซลล์ตายเร็วแค่ไหน และรู้วิธีตายของมัน เราจะทำอะไรได้อีกมากมาย เช่น การรักษามะเร็งด้วยการทำให้เซลล์มะเร็งฆ่าตัวตาย หรือหยุดเซลล์ไม่ให้ตายในผู้ป่วยอัลไซเมอร์

ในวารสาร Science เมื่อ 10 สิงหาคม 2018 เซียนรุย เฉิง (Xianrui Cheng) และเจมส์ เฟอร์เรลล์ (James Ferrell) นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดศึกษาความเร็วในการตายของเซลล์จากไข่กบ โดยวัดจากอัตราอะพอปโทซิส (apoptosis) ซึ่งเป็นการตายที่เกิดขึ้นตามปกติในกระบวนการพัฒนาของสิ่งมีชีวิต เพื่อจะทำให้เข้าใจรูปแบบการฆ่าตัวตายของเซลล์ หรือการตายของเซลล์ตามที่ธรรมชาติได้กำหนดไว้ (programmed cell death : PCD) ซึ่งเซลล์จะฆ่าตัวเองเพื่อพัฒนาให้ได้สิ่งใหม่ที่ดีกว่า บางครั้งเซลล์รู้เองว่าถึงเวลาหยุด หรือบางครั้งเซลล์ข้างเคียงจะส่งคลื่นสัญญาณเตือนให้มันรู้ตัว

เฉิงและเฟอร์เรลสังเกตและวัดความเร็วที่คลื่นความตายนี้แผ่ขยายออกไป ตอนที่เซลล์ทำลายตัวเอง

การสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นเรื่องยาก แม้กระทั่งในเซลล์ขนาดใหญ่ ทีมวิจัยจึงแยกไซโตพลาสซึม (ของเหลวในเซลล์ที่ไม่รวมนิวเคลียส) ออกจากเซลล์ตัวอย่าง โดยย้อมโปรตีนด้วยสีเขียวเอาไว้ จากนั้นเหนี่ยวนำให้เซลล์ตายโดยการนำมันไปปนกับไซโตพลาสซึมของเซลล์ที่ผ่านกระบวนการตายมาแล้วซึ่งย้อมด้วยสีแดง เซลล์ที่ผ่านกระบวนการตายแล้ว (PCD) จะไปกระตุ้นให้อีกเซลล์ฆ่าตัวตายตาม การตายของเซลล์เริ่มต้นจากการปลดปล่อยโปรตีนออกมา จากนั้นเซลล์ทั้งหมดจะสลายตัว บางกรณีเซลล์จะฆ่าตัวตายไประหว่างการพัฒนาตัวเอง

ทั้งคู่พบว่า การตายของเซลล์ใช้เวลา 30 ไมโครเซนติเมตรต่อหนึ่งนาที หรือ 2 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง

โดยเฉลี่ย เซลล์ในร่างกายมนุษย์ตายประมาณ 50,000 ล้านเซลล์ต่อวัน บางครั้ง มีบางเซลล์ต้องตาย หรือบางเซลล์ที่คุณไม่อยากให้อยู่ต่อ ดังนั้น ยิ่งเราเข้าใจกระบวนการตายของเซลล์ ก็จะยิ่งทำให้การแทรกแซงด้วยชีวเวชมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การศึกษาเรื่องความตายของเซลล์ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กเป็นน่าสนใจทั้งนั้น เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิต ถ้าเราเข้าใจว่าสิ่งต่างๆ เน่าเสียได้อย่างไร เราจะเข้าใจวิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้มันเน่าเสียตั้งแต่แรกได้

 

ที่มา:

Tags: ,