วันนี้ (27 ส.ค. 2562) เวลาประมาณ 12.00 . สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ศูนย์ราชการ .แจ้งวัฒนะ นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงข่าวมติที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินกรณีคำถวายสัตย์ปฏิญาณของนายกรัฐมนตรี พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ไม่ครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 161 บัญญัติเอาไว้ โดยมีมติเตรียมส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไปว่าขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญมาตรา 161 หรือไม่

ก่อนหน้านี้นายภาณุพงศ์ ชูรักษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ยื่นคำร้องขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณา โดยเห็นว่าการถวายสัตย์ฯไม่ครบถ้วน อาจขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีผลทำให้การกระทำในเวลาต่อมาของรัฐบาลอาจเป็นโมฆะ เช่น การตั้งคณะรัฐมนตรี การแถลงนโยบาย

โดยนายภาณุพงศ์ ชูรักษ์ ในฐานะผู้ที่จะถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพหากรัฐบาลไม่สามารถดำเนินตามนโยบายต่างๆ ได้ จึงใช้สิทธินี้จากการถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ประกอบมาตรา 46 ...วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 ที่ระบุให้บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญผ่านผู้ตรวจฯ และพ...ผู้ตรวจการแผ่นดิน 2560 มาตรา 22 ก็ให้ผู้ตรวจฯมีหน้าที่และอำนาจอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายอื่น

หลังจากนั้นประธานผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีหนังสือให้นายกรัฐมนตรี ชี้แจงกลับมา ซึ่งพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ทำหนังสือชี้แจงกลับมาในวันที่ 22 สิงหาคม โดบระบุความว่า ในเรื่องการถวายสัตย์ปฏิญาณของคณะรัฐมนตรีเป็นการกระทำตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะแตกต่างจากการกล่าวคำปฏิญาณของ ส.. ที่จะต้องเป็นถ้อยคำที่ชัดเจน แต่เรื่องของการถวายสัตย์ของคณะรัฐมนตรีเป็นเรื่องของคณะรัฐมนตรีและพระมหากษัตริย์ โดยมีการเข้าเฝ้าในวันที่ 16 กรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชดำรัสตอบ ซึ่งถือว่าได้กระทำครบถ้วนแล้ว

ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินได้พิจารณาทั้งคำร้องของนายภาณุพงศ์ ชูรักษ์ และคำชี้แจงของนายกรัฐมนตรีแล้ว ท้ายที่สุดมีความเห็นว่า ในการเข้ารับหน้าที่ของรัฐมนตรีได้ระบุไว้ตามมาตรา 161 ว่าจะต้องกว่าวคำถวายสัตย์ปฏิญาณ โดยมีถ้อยคำที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ  อย่างไรก็ตามจากสิ่งที่ปราฏในคำถวายสัตย์ของนายกรัฐมนตรีนั้น ขาดประโยคที่ว่าทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทยทุกประการซึ่งมีระบุไว้ในมาตรา 161 

โดยที่ประชุมผู้ตรวจการฯ เห็นว่าแม้นายกรัฐมนตรีและคัรรัฐมนตรีจะได้ปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างครบถ้วนแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังจะต้องกล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณด้วยถ้อยคำที่บัญญัติไว้ในมาตรา 161 ให้ครบถ้วนอีกด้วย เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่านายกรัฐมนตรีกล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณด้วยถ้อยคำที่ไม่ครบ เป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ การกระทำนั้นเป็นการใช้ไม่ได้ตามมาตรา  5 วรรค 1 และถือว่านายภาณุพงศ์ ชูรักษ์ เป็นผู้เสียหาย ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ประกอบมาตรา 46 ...วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 จึงมีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาต่อไป 

 

Tags: , ,