เดือนมิถุนายน 1944 ขณะที่ทหารยกพลขึ้นฝั่งที่นอร์มังดี พวกเขาต้องเผชิญ

กับห่ากระสุน บางจุดทหารล้มตายทับซ้อนกันเป็นกองพะเนิน และส่วนใหญ่ถูกพล

ทหารเยอรมันระดับล่างยิง

ฉากเปิดในภาพยนตร์เรื่อง Saving Private Ryan (1998) กลายเป็นภาพจำทหารอเมริกันนั่งเบียดเสียดกันอยู่ภายในเรือชายฝั่ง ไม่ไกลจากชายหาดนอร์มังดีก่อนที่ทางลาดของเรือจะพับลง ให้เหล่าทหารลงไปลุยน้ำ แล้วเสียงกระสุนปืนก็รัวดัง เป็นเสียงจากปืนเอ็มจี-42 หรือที่เรียกว่าเลื่อยของฮิตเลอร์

สตีเฟน สปีลเบิร์กจำลองฉากนี้จากภาพถ่ายของโรเบิร์ต คาปา (Robert Capa) ช่างภาพที่ติดตามทหารกลุ่มแรกขึ้นฝั่งในเดือนมิถุนายน 1944 ในส่วนของอเมริกันที่เรียกว่าโอมาฮา บีชซึ่งกองกำลังถูกตีแตกต่างจากส่วนอื่นๆ เพราะถูกสกัดจากทหารราบเยอรมันที่ 321 กองกำลังที่ถูกมองข้ามระหว่างวางแผนรบ

ในภาพยนตร์ เราจะเห็นไฟแห่งความโกรธเกรี้ยวของทหารเยอรมันมาจากบังเกอร์ขนาดใหญ่รอบชายหาด แต่ในความเป็นจริงแล้วตลอดแนวชายหาดมีเพียงผู้ชายคอยต้านทัพอยู่เพียงคนเดียว คือ ไฮน์ริชไฮน์เซแวร์โลห์ (Heinrich ‘Hein’ Severloh) พลทหารเกณฑ์วัย 20 ผู้ยืนอยู่ในร่องเสริมบนเนินทรายด้านหลังชายหาด คอยสาดกระสุนต้านกองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรอยู่นานหลายชั่วโมง

หลังจากสงครามสิ้นสุดลง ชายผู้นี้เก็บงำเรื่องราวเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้นไว้กับตัวเองเป็นเวลานาน จะมีก็เฉพาะเอลิซาเบธ (Elizabeth) ภรรยาของเขาเท่านั้นที่รู้ว่าอะไรทำให้เขามักสะดุ้งตื่นในเวลากลางคืน

…..

ตอนรุ่งสางของวันเคลื่อนพลขึ้นบก เซแวร์โลห์ออกไปวิ่งกับร้อยโทเจ้านายของเขาที่ชายหาด เขาได้รับคำชี้แนะว่า เวลาพวกจีไอลงจากเรือลุยน้ำขึ้นหาดให้เริ่มยิง เพราะพวกนั้นจะไม่สามารถวิ่งหนีได้ทัน

ไฮน์ เซแวร์โลห์จดจำคำนั้นอย่างฝังใจ และเฝ้ารอจนช่วงเวลานั้นมาถึง ทหารจีไอนายหนึ่งกระโดดลงจากลำเรือ เดินลุยน้ำระดับเข่าเพื่อขึ้นฝั่ง กระสุนจากปืนคาร์บินของเซแวร์โลห์พุ่งเป้าไปที่บริเวณหน้าผาก 

ทหารอเมริกันคนนั้นตัวสูง ผมยิงถูกศีรษะเขา จนหมวกเหล็กของเขากระเด็น แล้วคอของเขาก็ตก ภาพนั้นยังติดตาผมมาถึงทุกวันนี้” 

จีไอร่างสูงล้มฟุบลงกับพื้นน้ำและเสียชีวิต 

จะให้ผมทำอย่างไรล่ะเซแวร์โลห์ ขณะเป็นชายชรา พูดเล่าเวลาต่อมาในหนังสารคดีทางทีวีเรื่อง Todfeinde von Omaha Beach: die Geschichte einer ungewohnlichen Freundschaft (2004) ที่เยอรมนีและแคนาดาร่วมทุนสร้าง ผมคิดแค่ว่า ผมยิงเพื่อความอยู่รอด ถ้าผมไม่ยิงพวกเขาก็ยิงผม ผมคิดอย่างนั้น

นักประวัติศาสตร์ในเยอรมนีคาดเดาว่า เซแวร์โลห์กระหน่ำยิงไปราวสามพันนัดผมเองไม่รู้หรอกว่าผมยิงไปกี่ศพเซแวร์โลห์บอกแต่จำนวนมันสำคัญนักหรือ” 

หลังวันดีเดย์ สงครามสำหรับเซแวร์โลห์ก็สิ้นสุดลง วันรุ่งขึ้นเขากลายเป็นเชลยศึก แต่ทหารอเมริกันไม่อาจรู้ถึงวีรกรรมของเขาในวันก่อนหน้า และเซแวร์โลห์เองก็ฉลาดพอที่จะปิดปากเงียบ เขาต้องโทษคุมขังอยู่นานสามปี ก่อนได้รับการปล่อยตัวกลับบ้าน แต่งงาน มีลูกสี่คน ทำงานในฟาร์มที่เขารับช่วงต่อจากพ่อแม่ และไม่เคยปริปากพูดเรื่องอดีตกับใครเลย กระทั่งเขายอมเปิดเผยในวัยชรา สื่อจึงพาดหัวข่าวเกี่ยวกับเขาว่าปีศาจร้ายแห่งโอมาฮา บีช

…..

ไฮน์ เซแวร์โลห์ พลทหารวัย 20 ปี ประจำการอยู่ที่แนวรบในนอร์มังดี ระหว่างหมู่บ้านคอลย์วิลล์ และแซงต์โลร็องต์ซัวร์แมร์ เพื่อปกป้องปราการด้านชายฝั่งแอตแลนติกของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ลูกชาวไร่คนนี้ไม่ใช่นาซี เมื่อปี 1943 เขาเคยถูกลงทัณฑ์เพราะไปวิจารณ์ผู้นำพรรคนาซีตอนเป็นทหารผมไม่มีศัตรู ไม่เคยเจอคนไม่ดี ไม่ว่าในฝรั่งเศสหรือในรัสเซีย ผมพบเจอแต่คนดีๆ ทั้งนั้น

แต่ปี 1944 ที่ถูกเกณฑ์มาเป็นทหาร เซแวร์โลห์ก็ยืนลั่นกระสุนปืนในหลุมบังเกอร์ใส่ทหารอเมริกันทั้งวัน เก้าชั่วโมง จนสุดท้ายเหลือเพียงเขาเพียงคนเดียวในหน่วยรบที่ยังต่อสู้อยู่ เขาน่าจะใช้กระสุนไปมากกว่า 12,000 นัด มีการเปลี่ยนสายพานตลับเกือบห้าสิบครั้ง เป็นความเลือดเย็นอย่างเหลือเชื่อ เขาไม่รู้สึกตื่นกลัว แต่ทำหน้าที่สู้รบราวกับหุ่นยนต์สังหาร

เพื่อนร่วมกองทหารราบที่ 321 คนหนึ่งเล่าย้อนความในหนังสารคดีผมเห็นตอนที่เขารับมือกับทหารจีไอที่กำลังทยอยลงจากเรือ ราว 45 ถึง 50 นาย ไม่มีใครรอดสักคน โดนยิงล้มจมน้ำกันหมด จนทหารบนเรือลำที่แล่นมาต่อท้ายไม่กล้าลงจากเรือ ผมทำหน้าที่ไปจนถึงตีสามแล้วก็เผ่น เหลือแต่เซแวร์โลห์ที่ยังยืนหยัดสู้ต่อ

ราวบ่ายสามของวันที่ 6 มิถุนายน 1944 ปราการของทหารเยอรมันแตก กองรบไม่สามารถต้านไหวเพราะกระสุนหมด อีกทั้งมีการถอนกำลังออกจากพื้นที่ในหลายจุด แม้แต่เซแวร์โลห์ที่ยืนหยัดสู้เป็นกลุ่มสุดท้ายก็ยังต้องยอมถอยออกมาในสภาพบาดเจ็บ

วันถัดมาเขาและคนอื่นๆ ในหน่วยรบที่ปราศจากอาวุธ ถูกทหารอเมริกันจับกุมได้ที่ใกล้หมู่บ้านคอลย์วิลล์ซัวร์แมร์ และในเดือนเดียวกันเซแวร์โลห์ถูกควบคุมตัวขึ้นเรือไปสหรัฐอเมริกา จุดหมายปลายทางแรกที่บอสตัน จนถึงเดือนมีนาคม 1946 เขาก็ถูกส่งตัวไปใช้แรงงานในไร่มันฝรั่งและฝ้าย

ปลายเดือนมีนาคม 1946 เขาได้รับการปล่อยตัว โดยสารเรือขนส่งเชลยสงครามกลับไปยุโรป (ท่าเรือแอนเวิร์ป) เดือนพฤษภาคมเขาถูกส่งตัวไปอังกฤษเพื่อรับโทษขังอีก 28 วัน เหตุเพราะถูกจับได้ว่ากักตุนอาหาร ปี 1947 เซแวร์โลห์ได้รับอิสรภาพ เดินทางกลับบ้านไร่ที่เม็ตซิงเงน

เรื่องราวของไฮน์ เซแวร์โลห์ถูกเปิดเผยครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม 1960 เมื่อครั้งที่พอล คาเรลล์ (Paul Carell) นำคำบอกเล่าของเซแวร์โลห์ไปเขียนลงในหนังสือ Sie kommen! Die Invasion der Amerikaner und Briten in der Normandie 1944 ในปีต่อๆ มาเซแวร์โลห์ยังหาโอกาสเดินทางไปเยือนพื้นที่ซึ่งเคยเป็นสมรภูมิเก่าอย่างสม่ำเสมอ

ในวาระครบรอบ 40 ปีของการยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 1984 สถานีโทรทัศน์ ABC ได้รายงานข่าวเกี่ยวกับเขาอีกครั้ง และเซแวร์โลห์ยังให้สัมภาษณ์ความยาวสี่ชั่วโมงอีกด้วย

ไฮน์ริช เซแวร์โลห์เสียชีวิตในปี 2006 ที่บ้านพักคนชราในลาเชนดอร์ฟ ใกล้เมืองเซลเล รัฐนีเดอร์ซัคเซน ด้วยวัย 82 ปี

อ้างอิง:  

https://www.noz.de/lokales/papenburg/artikel/480875/niedersachse-war-die-bestie-vom-omaha-beach#gallery&0&0&480875

https://www.spiegel.de/spiegel/print/d-31031436.html

https://www.youtube.com/watch?v=iqFGIAidxEE

Tags: