ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ญี่ปุ่นระบายน้ำที่เหลือจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะลงสู่มหาสมุทร แต่อาจเป็นทางเลือกที่ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านต้องเฝ้าระวังใกล้ชิด
หลังจากญี่ปุ่นมีเพียงสองทางเลือก ในการจัดการน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ถูกทำลายจากสึนามิ นั่คือการปล่อยน้ำเหล่านั้นลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก กับ ปล่อยให้น้ำระเหย การประชุมคณะที่ปรึกษาโดยกระทรวงอุตสาหกรรมญี่ปุ่นแนะนำให้รัฐบาลญี่ปุ่นเลือกทางเลือกแรก ซึ่งเป็นทางเลือกที่เคยทำมาก่อน และรัฐบาลก็มีแนวโน้มยอมรับคำแนะนำดังกล่าว
การจัดการน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีจากฟุกุชิมะเป็นเรื่องที่หาข้อสรุปไม่ได้ในช่วงเกือบสิบปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะประเด็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกส์ที่จัดขึ้นในปีนี้ที่กรุงโตเกียว กับการแข่งขันบางรายการที่ห่างจากโรงไฟฟ้าที่เกิดเหตุไม่ถึง 60 กิโลเมตร
ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเกาหลีใต้ได้แบนการนำเข้าอาหารทะเลจากภูมิภาคฟุกุชิมะ นับตั้งแต่หลังเกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ และเรียกร้องต่อสถานทูตญี่ปุ่นเมื่อปีที่แล้ว ให้อธิบายว่าจะจัดการกับน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีนั้นอย่างไร ด้วยความกังวลนี้เอง ในการแข่งขันโอลิมปิกส์ที่กำลังจะมาถึง นักกีฬาจากเกาหลีใต้ก็วางแผนจะนำเครื่องวัดกัมมันตรังสีและอาหารมาเอง
เมื่อปี 2018 โตเกียว อิเล็กทริก ออกมาขอโทษหลังยอมรับว่า ระบบกรองไม่ได้กรองเอาสารอันตรายออกมาได้หมด และพื้นที่ในถังเก็บกำลังจะหมด
การนำอนุภาคกัมมันตรังสีออกจากน้ำสามารถนำออกได้เกือบหมด ยกเว้นทริเทียม ไอโซโทปหนึ่งของไฮโดรเจน ซึ่งยากต่อการแยกเอาอนุภาคนี้ออกมา และอาจเป็นอันตราย
“เปรียบเทียบกับการระเหยแล้ว การปล่อยลงมหาสมุทรสามารถทำได้ปลอดภัยกว่า” คณะที่ปรึกษากล่าว และอธิบายว่าการทำเช่นนี้เป็นการปฏิบัติที่ปกติทั่วโลกที่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่การปล่อยน้ำที่มีทริเทียมลงทะเลก็เป็นเรื่องปกติ
อย่างไรก็ตาม ข้อแนะนำนี้ต้องได้รับการยืนยันจาก อิชิโระ ยามาโมโตะ ศาสตราจารย์กิตตุคุณแห่งมหาวิทยาลัยนาโกย่า ผู้ซึ่งเป็นประธานการประชุมก่อน แล้วจึงส่งไปยังรัฐบาลในวันถัดไป ซึ่งยังไม่มีกำหนด
โตเกียว อิเล็กทริก หรือ เท็ปโก้ เก็บน้ำที่ปนเปื้อนกัมมันตรังสีกว่า 1.2 ล้านตัน ที่ใช้หล่อเย็นเพื่อทำให้แกนปฏิกรไม่หลอมละลาย หลังจากโรงงานไฟฟ้าถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว และสึนามิเมื่อปี 2011 โดยน้ำเหล่านี้ถูกเก็บไว้ในถังขนาดใหญ่ในจุดเกิดเหตุ ซึ่งถังเก็บขนาดใหญ่นี้จะเต็มในปี 2020
ที่มา:
Tags: ญี่ปุ่น, ฟุกุชิมะ, กัมมันตรังสี