นับตั้งแต่วันที่ 12 มกราคมที่ผ่านมาที่ไทยเจอผู้ติดเชื้อโควิด-19 อย่างเป็นทางการครั้งแรก ต่อเนื่องจนถึงตอนนี้ ผลกระทบที่เกิดจากโรคระบาดครั้งนี้ได้ขยายเป็นวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ และแม้ตัวเลขของผู้ติดเชื้อหรือผู้ที่ได้รับผลทางด้านสุขภาพโดยตรงจะชะลอตัวลง แต่สิ่งที่เพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้นก็คือ ความเสียหายทางเศรษฐกิจ โดยตัวเลขของผู้ที่ได้รับผลกระทบสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีทั้งผู้ประกอบกิจการที่ต้องหยุดกิจการชั่วคราว และอีกหลายรายที่ต้องเลิกกิจการไปในช่วงนี้ ซึ่งส่งผลต่อเนื่องทำให้มีผู้ที่มีรายได้ลดลงและผู้ที่ตกงานเป็นจำนวนมาก

ล่าสุด สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ออกมาเปิดเผยตัวเลขว่า วิกฤตโควิดที่โจมตีเศรษฐกิจในไตรมาสแรกและต่อเนื่องมาถึงไตรมาสที่ 2 ส่งผลให้มีแรงงานในไทยที่มีความเสี่ยงถูกเลิกจ้างทั้งสิ้น 8.4 ล้านคน

เมื่อไม่มีงาน ไม่มีรายได้ แรงงานบางส่วนจึงเลือกเดินทางกลับบ้านเกิด เพื่อรอให้สถานการณ์ดีขึ้น พร้อมกับความหวังว่าจะกลับมามีงานทำอีกครั้ง แต่ในจำนวนนั้น บางคนเลือกที่จะมองหาโอกาสอื่นในบ้านเกิด และต่อยอดต้นทุนด้านเกษตรกรรม ซึ่งในฐานะที่เมืองไทยติดอันดับ 1 ใน 6 ของประเทศที่มีแหล่งอาหารสำรองของโลกและมีความพร้อมด้านเกษตรกรรมมากกว่าอีกหลายประเทศ แม้จะยังต้องการการสนับสนุนอีกไม่น้อย แต่การปรับวิธีคิดเพื่อมองหาโอกาสจึงอาจเป็นทางออกสำหรับแรงงานที่ว่างงานซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชนที่มีต้นทุนเหล่านี้เป็นพื้นฐาน

การให้ความรู้ ความเข้าใจ และการเปิดมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับการพึ่งพาตัวเอง โดยมองจากความเป็นไปได้ใกล้ตัวจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีในการหาเลี้ยงชีพ

นอกจากการปรับและการเปลี่ยนแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงที่ผ่านมาก็คือ การแบ่งปัน ทั้งการแบ่งปันระหว่างคนที่รู้จักกันอยู่แล้วในชุมชน ไปจนถึงการแบ่งบันระหว่างผู้ที่ไม่รู้จักกันมาก่อน และหากมองลึกลงไปกว่านั้นจะเห็นว่า การแบ่งปันที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เพิ่งการแบ่งปันข้าวของที่จับต้องได้เท่านั้น แต่ยังขยายไปถึงการแบ่งปันศักยภาพของตัวเองที่เล็งเห็นแล้วว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นได้

หนึ่งในโครงการที่เป็นภาพสะท้อนของแนวคิดในการปรับ เปลี่ยน และปันช่วงโควิด-19 โดยนำคอนเซปต์ของการปลูกมาใช้เป็นหัวใจอย่างหนึ่งของโครงการด้วย ก็คือ ‘Forest for Life สร้างป่า สร้างชีวิต’ จาก บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น (MQDC) นำโดยโครงการ The Forestias ซึ่ง MQDC For All Well-Being นั้น ไม่เพียงแต่ใส่ใจความสุขและความเป็นอยู่ของลูกบ้าน แต่สังคมและสิ่งแวดล้อมก็ยังเป็นสิ่งที่ทาง MQDC ได้ให้ความสำคัญ รวมถึงโครงการ The Forestias เองด้วยแล้วก็มีแนวคิดในการสร้างเมืองคู่ป่า ให้คนได้อาศัยและใช้ชีวิตใกล้ชิดกับธรรมชาติ จึงเกิดเป็นความตั้งใจที่จะช่วยบรรเทาปัญหาด้านเศรษฐกิจและชุมชน  ที่มองว่าการเพิ่มทักษะอาชีพเพาะกล้าไม้เป็นอีกช่องทางในการสร้างรายได้ในชุมชนได้อย่างยั่งยืน และตอบโจทย์ในเรื่องการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน

ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับเงินทุนครอบครัวละ 15,000 บาท ต่อ 3 เดือน ซึ่งรวมแล้วเป็นการช่วยเหลือทั้งสิ้น 1,000 ครัวเรือน พร้อมกับการปลูกกล้าไม้ 1.2 ล้านต้น รวมทั้งสิ้นทาง MQDC ได้จัดสรรงบประมาณให้โครงการนี้จำนวน 25 ล้านบาท กล้าไม้พันธุ์ต่างๆ ที่นำมาให้ชุมชนได้ดูแลนั้น แบ่งเป็นพันธุ์ไม้ประเภทไม้เศรษฐกิจ และพืชสวนครัวที่ดูแลง่าย สามารถนำมาบริโภคในครัวเรือนช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และหากมีเหลือพอ สามารถนำไปจำหน่ายเพิ่มรายได้ได้อีกทาง

การแบ่งสัดส่วนกล้าไม้พันธุ์ให้มีทั้งพืชสวนครัวและไม้เศรษฐกิจนั้นส่งผลให้โครงการนี้เป็นทั้งการช่วยเหลือในระยะสั้นและในระยะยาว ในระยะสั้น ประชาชนได้มีพืชสวนครัวที่จะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายเรื่องอาหาร ในขณะที่ไม้เศรษฐกิจช่วยตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาว เพราะไม้เศรษฐกิจจะมีมูลค่าสูงขึ้นและเป็นที่ต้องการของตลาดในอนาคต ทั้งยังมีการจัดเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลกล้าไม้มาช่วยแนะนำวิธีการดูแล ถือเป็นการพัฒนาทักษะและเพิ่มทางเลือกในอาชีพให้กับชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ

การให้ความสำคัญในทุกรายละเอียดเพื่อทำให้โครงการนี้มีส่วนช่วยให้ชุมชนก้าวข้ามวิกฤตและเติบโตต่อไปด้วยตัวเองได้ในอนาคต ทาง MQDC จึงขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการจุดประกายความคิดเรื่องการสร้างพื้นที่สีเขียว และความผูกพันระหว่างคนกับต้นไม้ และสร้างความแข็งแกร่งและความผูกพันให้ชุมชน  โครงการ ‘Forest for Life สร้างป่า สร้างชีวิต’ จึงเป็นตัวอย่างของความตั้งใจที่มีพื้นฐานจากความเข้าใจและมองเห็นสิ่งที่จะมีประโยชน์ต่อชุมชนในระยะยาว จนนำไปสู่โครงการที่ช่วยเหลือและเอื้อให้ชุมชนได้พัฒนาชุมชนพึ่งพาตัวเองอย่างยั่งยืน

อ่านรายละเอียดสำหรับโครงการ Forest for Life เพิ่มเติมได้ที่ www.mqdc.com

 

ข้อมูลอ้างอิง:

Tags: , , , ,