คุณเดินเข้าไปในห้องแสดงงานศิลปะ คาดหวังว่าจะเจอภาพเขียนขนาดใหญ่บนฝาผนัง ภาพเขียนที่เขียนด้วยสีน้ำมันชั้นดี อาจเป็นภาพทิวทัศน์ที่คุณสัมผัสได้ถึงความเวิ้งว้างว่างเปล่า อาจเป็นภาพป่าเขียวชะอุ่มที่คุณรู้สึกได้ถึงสายฝนที่เพิ่งโปรยปราย อาจเป็นภาพบุคคลสำคัญที่คุณสามารถเชื่อมโยงตนเองเข้ากับบุคคลในภาพได้ หรืออาจเป็นภาพใครสักคนที่คุณไม่รู้จักแต่มีรอยยิ้มอันเป็นปริศนาให้คุณถอดรหัส แต่คุณไม่พบภาพเหล่านั้นในห้องแสดงงานแห่งนี้ สิ่งที่คุณพบมีเพียงตู้กระจกขนาดใหญ่ที่ภายในนั้นมีฝูงปลาที่กำลังแหวกว่ายอยู่ท่ามกลางเก้าอี้ตรวจภายในตัวหนึ่ง
คุณตกใจ—เป็นความตกใจระคนความประหลาดใจ คุณผลุนผลันออกจากห้องดังกล่าวผ่านประตูตรงไปยังห้องข้างๆ ภายในห้องนั้นมีตู้กระจกใสขนาดใหญ่อีกเช่นกัน ในครานี้ภายในนั้นไม่มีฝูงปลาแหวกว่าย มีแต่เพียงฉลามเสือขนาดใหญ่ตัวหนึ่งลอยสงบนิ่งอยู่แทน
บ่ายวันอาทิตย์ของคุณพังทลาย ความคาดหวังที่จะได้เดินชมงานศิลปะที่ทำให้รู้สึกได้ว่าเป็นผู้มีรสนิยมอันดีได้จบสิ้นลง คุณหวนนึกถึงนาทีที่ซื้อบัตรเข้าชมงานจากตัวแทนจำหน่ายที่โรงแรม “ผมอยากชมนิทรรศการศิลปะที่จัดแสดงในช่วงนี้” ตัวแทนจำหน่ายยื่นบัตรพร้อมแผนที่เดินทางไปห้องแสดงศิลปะให้คุณ คุณหยิบบัตรในมือขึ้นดูอีกครั้ง ไม่มีความผิดพลาด คุณมาถูกที่ ถูกเวลา สิ่งที่ผิดพลาดมีประการเดียวคือสิ่งที่คุณเผชิญ
คุณไม่ได้คาดหวังว่าจะเจอ ‘ปลา’ ในห้องแสดงศิลปะ คุณไม่ได้คาดหวังว่าจะเจอ ‘ปลาและฝูงปลา’ ในฐานะของงานศิลปะ
เดเมียน เฮิร์สท์ (Damien Herst) ศิลปินชาวอังกฤษนำปลามาใช้ในงานศิลปะของเขาเป็นครั้งแรกในปี 1999 ผลงานที่มีชื่อว่า ‘Love Lost’ ของเขา ประกอบไปด้วยตู้กระจกแบบอควาเรียมขนาดกว้าง–ยาวกว่าสองเมตร ภายในนั้นเป็นพันธุ์ปลาคาร์ปสีดำจากแอมะซอนที่ว่ายวนอยู่รอบสิ่งของต่างๆ อันประกอบด้วยเตียงตรวจภายในของสูตินารีแพทย์ ที่แขวนเสื้อกาวน์แบบตั้งพื้นและเครื่องประดับนานาของผู้หญิงคนหนึ่ง
สำหรับผู้ที่คุ้นชินกับงานศิลปะของ เดเมียน เฮิร์สท์ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เขาหยิบยกเอาเครื่องมือทางการแพทย์และอุปกรณ์ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ในงานศิลปะของเขา ในปี 1996 งานที่มีชื่อว่า ‘Stripteaser’ ของเขาประกอบไปด้วยตู้กระจกขนาดใหญ่ที่จัดแสดงโครงกระดูกชายหญิงและอุปกรณ์การแพทย์ ไม่ต่างจากตู้กระจกในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ หรือผลงานชื่อ ‘Still’ ในปี 1994 เขาก็จัดแสดงอุปกรณ์ในห้องผ่าตัดอย่างครบถ้วนราวกับร้านค้าเครื่องมือด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
เดเมียน เฮิร์สท์กล่าวถึงเหตุผลของการเลือกสิ่งของเหล่านี้มาทำงานศิลปะว่า “ศาสตร์แห่งการแพทย์มีผลต่อระบบความเชื่อของผู้คนในปัจจุบัน การที่เรากินยาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยโดยไม่สนใจผลข้างเคียงของมันก็ตาม การที่เราเลิกคิดว่าตนเองจะต้องตายในวันใดวันหนึ่งก็ตาม ล้วนเป็นผลมาจากความศรัทธาต่อการแพทย์ทั้งสิ้น การแพทย์แทบจะเป็นศาสนาใหม่ของเรา มันเป็นโลกคู่ขนานกับสิ่งที่ศิลปะเคยเป็นมาในฐานะศาสนาแบบหนึ่ง เพียงแต่ศาสนาใหม่แบบการแพทย์นั้นเย็นชาและดูเหน็บหนาว ในขณะที่ศิลปะอบอุ่นและให้ความเป็นมิตรกว่า”
ความเย็นชาปรากฏให้เห็นในงานศิ
ปลาคาร์ปสีดำจากลุ่มน้ำ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิธีการทำงานศิ
ในปี 1917 มาร์เซล ดูชองป์ ส่งโถปัสสาวะเซรามิกสีขาวเข้าร่
งานน้ำพุก่อให้เกิดคำวิพากษ์วิ
มาร์เซล ดูชองป์ให้เหตุผลในภายหลังว่
เดเมียน เฮิร์สท์ก็ท้าทายผู้ชมด้วยการเปลี่ยนบริบทของวัตถุที่มีมาแต่เดิมอย่างรุนแรงในผลงานชื่อยาวเหยียด ‘The Physical Impossibility of Death in the Mind of Someone Living’ (ความเป็นไปได้ทางกายภาพของความตายในความคิดคำนึงของใครบางคนที่ยังมีชีวิตอยู่) ในผลงานชิ้นนี้ เดเมียนตัดสินใจใช้ปลาเป็นองค์ประกอบหลักอีกครั้ง แต่แทนที่เขาจะใช้ฝูงปลาดังในงาน ‘Love Lost’ เขากลับใช้ซากของปลาฉลามเสือเพียงตัวเดียวโดยอาศัยการสนับสนุนด้านการทุนจาก ชาร์ลส์ ซาท์ชิ นักสะสมผลงานศิลปะแนวหน้าของโลก
เดเมียนติดต่อนักล่าปลาคนหนึ่งในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ให้จัดหาปลาฉลามเสือขนาดใหญ่พอที่จะทำให้ผู้ชมรู้สึกหวาดผวาได้ หลังจากนั้นเขาแช่ปลาฉลามเสือตัวดังกล่าวลงในน้ำยาดองศพหรือฟอร์มัลดีไฮด์ ในวันจัดแสดง ปลาฉลามขนาดใหญ่ที่ลอยตัวอย่างอิสระและแยกเขี้ยวใส่ผู้ชมทำให้คนรู้สึกได้ถึงการท้าทาย– –เป็นการท้าทายต่อการขบคิดถึงความตาย
ปลาฉลามเสือเป็นปลาฉลามพันธุ์หนึ่งที่ทำร้ายมนุษย์ มีรายงานถึงการทำร้ายผู้คนของปลาฉลามเสืออยู่เป็นระยะ ไม่ว่าจะเป็นจากนักดำน้ำหรือนักโต้คลื่น ดังนั้นการเผชิญกับปลาฉลามเสือแบบใกล้ชิดทำให้ผู้ชมขบคิดถึงความสัมพันธ์ของตัวเขาเองกับธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตที่คุกคามพวกเขาจนถึงแก่ความตายได้ การตระหนักว่าในอีกสถานการณ์หนึ่งที่ไม่ใช่ภายในห้องจัดแสดงงานศิลปะ ผู้ชมจะกลายเป็นเหยื่อ และความตายจะเป็นผลลัพธ์ ไม่ใช่การชมงาน ความรู้สึกที่ว่านี้คือความเป็นไปได้ที่จะวนเวียนอยู่ในความคิดคำนึงของผู้ชม
ปลาฉลามเสือของเดเมียน ได้เปลี่ยนบริบทจากสัตว์ทะเลไปสู่สัญญาณแห่งความตาย
ปลาในงานศิลปะของ เดเมียน เฮิร์สท์ ทั้งปลาคาร์ปสีดำและปลาฉลามเสือจึงไม่ใช่เพียงปลาอีกต่อไป มันถูกแปลงความหมายใหม่จากสิ่งที่เคลื่อนไหวในน้ำ หายใจทางเหงือก มีครีบและหาง ไปสู่องค์ประกอบทางศิลปะ แต่นั่นไม่ใช่การแปรเปลี่ยนและผลกระทบต่อมนุษย์เพียงประการเดียวของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า ‘ปลา’
ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนาน ‘ปลา’ ‘อาณาจักรของปลา’ และ ‘จักรวาลของปลา’ ได้ส่งผลกระทบต่ออารยธรรมมนุษย์ การตั้งถิ่นฐาน พฤติกรรมการกิน และโครงสร้างร่างกายของมนุษย์อย่างมากมาย
Tags: Damien Herst, Fishtopia