Disruption คำฮิตที่พูดกันซ้ำๆ ในยุคนี้ ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยี แต่คือวิธีคิดที่ทำให้การดำเนินธุรกิจเปลี่ยนไป ประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น เข้าถึงลูกค้าได้มากกว่า ด้วยประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิม

และเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงฉับพลันในภาคธุรกิจ นั่นหมายความว่าผู้แพ้แทบจะต้องออกจากเกมในทันที ไม่มีเวลาให้ตั้งหลักแบบเมื่อก่อน ในขณะที่คนปรับตัวทัน ก็จะกลายเป็นผู้ที่เติบโตในอัตราเร็วกว่าที่เคย

คู่แข่งทางธุรกิจในยุคนี้จึงห้ำหั่นกันด้วยปัจจัย 4 อย่างหลักๆ ได้แก่ ความสามารถในการปรับตัวตามสถานการณ์ การมองเห็นข้อมูลภายนอก-ภายในและวิเคราะห์ได้แบบทันท่วงที ความไวในการผลิตและขนส่ง และความเที่ยงตรงแม่นยำในการทำงานแต่ละขั้นตอน

Manufacturing : ปรับตัวให้ทัน ระบบออโตเมชั่นต้องมา

ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ระบุว่า อุตสาหกรรมการผลิตของไทยคิดเป็น 27% ของจีดีพี ซึ่งเทียบกับอาเซียนแล้ว มีสัดส่วนเป็นรองเพียงแค่เวียดนาม

แต่ในฐานะประเทศอุตสาหกรรม เรายังใช้เทคโนโลยีออโตเมชั่นในการผลิตได้ไม่เต็มศักยภาพนัก เปรียบเทียบกับประเทศเกาหลีใต้ มีการใช้หุ่นยนต์อยู่ที่ 400-500 ตัว ต่อจำนวนแรงงาน 10,000 คน ในขณะที่ประเทศไทยมีอัตราการใช้หุ่นยนต์อยู่ที่ 50-60 ตัว ต่อจำนวนแรงงาน 10,000 คน หรือเท่ากับมีปริมาณการใช้หุ่นยนต์อยู่ในอันดับที่ 9-10 ของโลกเท่านั้น

ก่อนที่จะคิดว่าตื่นตูมเกินไป อยากให้คิดว่าออโตเมชั่นไม่ใช่แค่เรื่องความเร็วที่มากกว่า แต่กลายเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับภาคอุตสาหกรรม เพราะคาดว่า เมื่อไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แรงงานมนุษย์จะมีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ ประกอบกับต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้น สวนทางกับต้นทุนการซื้อและบำรุงรักษาออโตเมชั่นที่จะต่ำลง เนื่องจากเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น แถมยังช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ (human error) และความเสี่ยงที่จะบาดเจ็บจากการทำงานอันตราย ใครที่คิดหาลู่ทางนำเทคโนโลยีมาใช้แก้ปัญหาในธุรกิจได้ก่อน ก็ย่อมได้เปรียบกว่า

การใช้ระบบออโตเมชั่นและหุ่นยนต์มาช่วยในการผลิตแทนแรงงานคน ยังทำให้ผู้ประกอบการปรับตัวกับความต้องการที่ผันผวนในตลาดโลกได้ทันท่วงที อย่างที่เราเห็นว่าเศรษฐกิจทุกวันนี้ไม่แน่ไม่นอน เปลี่ยนแปลงฉับไว เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญใดเกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะห่างไกลแค่ไหน ก็อาจทำให้เกิดอุปสงค์ลดลงฉับพลัน ออโตเมชั่นจะทำให้เราลด-เพิ่มความเร็วในการผลิตได้ทันที ต่างจากแรงงานมนุษย์

การที่อุตสาหกรรมการผลิตในไทยยังนำออโตเมชั่นมาใช้น้อย หมายความว่า สำหรับผู้ประกอบการแล้ว ยังเหลือที่ว่างให้พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตของตัวเองก่อนใคร สอดคล้องกับที่บีโอไอได้วิเคราะห์ไว้ว่า ออโตเมชั่นและหุ่นยนต์จะกลายเป็นกุญแจสำคัญของอนาคตเศรษฐกิจของประเทศ

นวัตกรรมจาก Epson ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นโซลูชันให้กับธุรกิจหลากหลายด้าน ในแง่ของการผลิต ก็อย่างเช่น แว่นตาอัจฉริยะ ที่นำมาช่วยงานพนักงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรและระบบสายพานการผลิต ซึ่งจะมีคู่มือที่ฉายขึ้นเลนส์ภาพให้พนักงานปฏิบัติตามได้ทันที และสามารถแชร์ข้อมูลภาพที่อยู่ตรงหน้าให้กับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อปรึกษาระหว่างปฏิบัติงานได้ ไม่ต้องเสียเวลาส่งข้อมูลกลับไป-มาในโรงงาน

อีกเครื่องมือที่สำคัญในการผลิต คือแขนกล SCARA ไปจนถึงรุ่น 6 แกน ที่ช่วยในการผลิตแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะได้ทั้งความรวดเร็วในการผลิต ความละเอียดแม่นยำ และความสม่ำเสมอในคุณภาพชิ้นงาน

เช่นกรณีที่กีตาร์แบรนด์ Taylor จากเดิมผลิตกีตาร์แบบแฮนด์เมดได้เพียง 10-20 อันต่อวัน ก็สามารถเปลี่ยนมาใช้แขนกล Epson ผลิตได้ในจำนวนหลักร้อยอันต่อวัน โดยที่ความละเอียดอ่อนของชิ้นงานยังประณีตเหมือนเดิม หรืออาจจะสม่ำเสมอในทุกชิ้นมากกว่าด้วยซ้ำ

Logistics : แค่เร็วไม่พอ แต่ต้องประหยัด แม่นยำ ติดตามได้

เมื่อผ่านขั้นตอนการผลิตแล้ว ขั้นต่อไปที่ผู้ประกอบการต้องคิดก็คือวิธีการในการขนส่ง ซึ่งอยู่ในโครงข่ายของสิ่งที่เรียกว่าโลจิสติกส์

เมื่อต้นทุนโลจิสติกส์นั้นคิดตั้งแต่วัตถุดิบถูกส่งจากซับพลายเออร์เข้าโรงงาน และจากโรงงานสู่ลูกค้า ประมาณกันว่าต้นทุนนี้คิดเป็น 30-40% ของต้นทุนสินค้าเลยทีเดียว

คิดในทางกลับกัน หากเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ได้ แม้ต้นทุนวัตถุดิบอย่างอื่นยังเท่าเดิม แต่ผู้ประกอบการย่อมได้เปรียบในการแข่งขัน

ประสิทธิภาพตรงนี้อาจมาจากข้อมูลที่มองเห็นได้เรียลไทม์มากขึ้น ผิดพลาดน้อยลง และการใช้ AI คำนวณ เพื่อให้ทุกๆ ‘การเคลื่อนที่’ มีความหมายสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนที่ของมนุษย์หรือยานพาหนะ  ซึ่งเทคโนโลยีอย่างการสแกนบาร์โค้ด ชิป IoT หรือแว่นตาอัจฉริยะ จะสามารถเข้ามาตอบโจทย์ได้

นอกจากนี้ การผงาดของแอมะซอนและอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่รายอื่นๆ ยังเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคยุคใหม่คาดหวังกับการขนส่งมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งต้องเร็วและมองเห็นขั้นตอนของการขนส่งได้เสมอ

หมายความว่าทุกๆ จุดของการส่งต่อ ข้อมูลต้องอัปโหลดขึ้นสู่ระบบ ซึ่งข้อมูลที่ถูกทำให้เป็นดิจิทัลเหล่านี้ ไม่ได้แค่มีประโยชน์กับลูกค้า แต่ผู้ขนส่งเองก็สามารถนำข้อมูลแบบบิ๊กดาต้ามาประมวลผล แล้วปรับปรุงระบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ

ในงานโลจิสติกส์ นวัตกรรมแว่นตาอัจฉริยะจาก Epson ทำให้พนักงานขนส่งอ่านฉลากบาร์โค้ดของพัสดุเข้าระบบได้ทันที ไม่ต้องถือเครื่องมืออ่าน ช่วยป้องกันอุบัติเหตุขณะขับรถเครน และยังสามารถนำแว่นตานี้ไปผนวกกับซอฟต์แวร์ ซึ่งจะช่วยระบุตำแหน่งของสินค้าที่อยู่ในโกดังได้แบบเรียลไทม์ ไม่ต้องถือรายการสิ่งของไว้ขีดเช็ก จึงช่วยลดขั้นตอนและลดความผิดพลาด

และสำหรับการขนส่งที่ต้องเช็กข้อมูลของพัสดุในทุกจุดเชื่อมต่อ บาร์โค้ดก็เป็นพระเอกสำคัญในงาน เครื่องพิมพ์ฉลากบาร์โค้ดจาก Epson มีคุณภาพงานพิมพ์ที่เชื่อถือได้ ทั้งในด้านความคมชัดซึ่งสำคัญมากต่อการอ่านบาร์โค้ด หมึกพิมพ์ DURABrite Ultra® ที่แห้งเร็ว ไม่ถูกปาดเป็นรอย กันน้ำและรอยเปื้อนระหว่างการขนส่ง และสามารถพิมพ์ฉลากสีตามสั่งได้ เพื่อแยกความแตกต่างของพัสดุเฉพาะ หรือป้ายคำเตือนต่างๆ

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างผลิตภัณฑ์จาก Epson ที่ทำให้ธุรกิจปรับตัวทันและพัฒนาประสิทธิภาพได้มากกว่าเคย ซึ่งไม่ใช่แค่ด้าน Manufaturing และ Logistics เท่านั้น แต่ Epson ยังมีโซลูชันทางธุรกิจอื่นๆ ที่ไม่ว่าผู้ประกอบการด้านไหนก็สามารถนำไปตอบโจทย์ในสายงานของตัวเองได้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.epson.co.th/business-solution

Tags: , , , ,