นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 คีย์เวิร์ดคำว่า ‘New Normal’ ได้ถูกพูดถึงและใช้อย่างแพร่หลาย สำหรับการปรับตัว เปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในทุกด้าน เพื่อรับมือและป้องกันการระบาดของ COVID-19 ที่นอกจากการรับผิดชอบตัวเองแล้ว ยังต้องคำนึงถึงส่วนรวมอีกด้วย ผ่านการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ รักษาระยะห่าง และลดการเดินทาง

ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ทุกฝ่ายได้ปรับตัวเข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตรูปแบบใหม่ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 จน New Normal กลายเป็นที่ปกติในสังคมโดยปริยาย

แล้ววิถีชีวิตหลังยุค COVID-19 ของเราล่ะ จะเป็นอย่างไร แตกต่างจาก New Normal เดิมหรือไม่? The Momentum ได้รวบรวมวิธีการเตรียมความพร้อมรับมือ The Next New Normal และเทรนด์ที่คาดว่าจะเปลี่ยนแปลงไปหลัง COVID-19 ไว้ดังนี้

1. Stay-at-home Economy เมื่อบ้านจะเป็นมากกว่าบ้าน

จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 2 ปีที่ผ่านมา บ้านถูกแปรเปลี่ยนให้เป็นมากกว่าที่พักพิง ที่อยู่อาศัย เพราะต้องปรับให้เข้ากับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ทั้งมาตรการรัฐและนโยบายของแต่ละบริษัท ที่ออกมาขอความร่วมมือให้ทุกภาคส่วนหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มและให้ทำงานแบบ Work From Home บ้านจึงเป็นมากกว่าบ้าน เป็นได้ทั้งออฟฟิศ ห้องประชุม ร้านกาแฟ ห้องสมุด ฟิตเนส หรือแม้กระทั่งโรงหนังขนาดย่อม

แม้กายจะห่างกันแต่เราไม่เคยห่างไกล แม้ว่าการอยู่บ้านเพื่อความปลอดภัย ห่างไกลจากเชื้อ จะทำให้การเข้าสังคมหรือการพบปะคนรอบข้างลดน้อยลง แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ก็ทำให้เราสามารถพูดคุยสื่อสารกันได้เพียงปลายนิ้วผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น แอปพลิเคชัน Zoom หรือโซเชียลมีเดียต่างๆ ได้อย่างสะดวกสบาย หรือที่เรียกกันว่า  stay-at-home economy พร้อมกันนั้น เทคโนโลยีสมัยใหม่ยังมาอำนวยความสะดวกให้เรามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสั่งซื้ออาหารออนไลน์ และช้อปปิ้งออนไลน์

เทรนด์ที่อยู่อาศัยในวิถีหลัง COVID-19 มีดังนี้

1. Smart Home กระแสนี้จะมาแรง เทคโนโลยีต่างๆ จะเข้ามาตอบโจทย์ทั้งเรื่องความสะดวกสบายและการลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของเชื้อโรค

2. พลังงานทดแทน หมุนเวียน จะเป็นเทรนด์ที่ถูกจับตามองมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพลังงานจากแสงอาทิตย์และเชื้อเพลิงขยะ

2. Touchless Society สังคมไร้การสัมผัส

เมื่อการสัมผัสสิ่งของรอบตัวเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 และยังเพิ่มโอกาสในแพร่เชื้อและติดเชื้อเมื่อต้องออกไปข้างนอก ไม่ว่าจะเป็นการกดปุ่มลิฟต์ การเข้าห้องน้ำ หรือแม้กระทั่งหยิบจับของใกล้ตัวอย่างโทรศัพท์มือถือก็ตาม

ดังนั้น The Next Normal วิถีหลัง COVID-19 จะเป็นสังคมไร้การสัมผัส เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อให้น้อยที่สุด แล้วสังคมไร้การสัมผัสคืออะไร? คือการที่เทคโนโลยีใหม่ๆ ถูกนำมาใช้เพื่อลดการสัมผัสของคนในสังคม เช่น การมีระบบเปิดปิดก๊อกน้ำและประตูที่มีเซนเซอร์อัตโนมัติ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องใช้มือจับเพื่อเปิดประตูหรือหมุนก๊อกน้ำอีกต่อไป หรือการใช้โมบายแบงก์กิ้งแทนการใช้เงินสด ก็เป็นหนึ่งในสังคมไร้การสัมผัส

เทรนด์มาแรงของสังคมไร้การสัมผัสมีดังนี้

1. Smart Vehicle จะมีการเกิดขึ้นของยานยนต์ไร้คนขับ

2. โซเชียลมีเดียต่างๆ จะมีฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อสอดรับการใช้งานที่หลากหลาย

3. สังคมไร้เงินสดจะได้รับความนิยมสูงขึ้น ผู้คนจะหันมาใช้จ่ายผ่าน e-Payment ทั้งในรูปแบบ e-Money, Card Payment และ Internet & Mobile Banking และนวัตกรรมของโทรศัพท์มือถือ ที่นอกจากจะต้องปรับตัวให้เข้ากับ The Next Normal แล้ว ยังต้องใส่ใจผู้คนและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กันอีกด้วย

3. Regenerative Organic ปลอดภัยและเป็นมิตร

สุขภาพดีควรมาจากภายในสู่ภายนอก เมื่อเราป้องกันตัวเองรอบด้านแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการกินอาหารที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ มีมาตรฐาน ในวิถี The Next Normal มองว่าอาหารแบบ Regenerative Organic ไม่ใช่แค่อาหารปลอดสารพิษและปราศจากการใช้เมล็ดพันธุ์ดัดแปลงเท่านั้น แต่ยังเป็นการดูแลครอบคลุมตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่ต้องโดยเริ่มจากฟาร์ม ที่ต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน โดยเราสามารถปฏิบัติตามหลักการง่ายๆ 5 ขั้นตอน ที่ Soil Science Society of America เสนอการใช้ชีวิตที่สอดรับกับวิถีหลัง COVID-19 ไว้ดังนี้

1. ควรกินให้หลากหลาย ทั้งพืช ผัก ผลไม้ และธัญพืช นอกจากจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต่างๆ ให้ร่างกายแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนและสร้างรายได้ให้เกษตรกรอีกด้วย

2. กินถั่วจากฟาร์มออร์แกนิก เพราะถั่วมีคุณสมบัติในการตรึงไนโตรเจน และยังช่วยพัฒนาฟื้นฟูดินอีกด้วย

3. เลือกกินเนื้อสัตว์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

4. ตักพอทาน ลดการกินเหลือเพราะอาหารที่เน่าเสียจะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม

5. นำเศษอาหารที่เหลือมาเรียนรู้ต่อยอดการทำปุ๋ยต่อ เช่น เปลือกไข่และกากกาแฟ

เทรนด์สุขภาพที่จะเปลี่ยนไปหลัง COVID-19

1. อาหารจะถูกให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น นอกจากการกินสิ่งที่มีประโยชน์กับตัวเองแล้ว อุตสาหกรรมดังกล่าวต้องไม่ให้โทษต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

2. สินค้าอุปโภคบริโภคจะเปลี่ยนไป กระแสของสังคมตระหนักและรับรู้ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และผลกระทบที่มาจากการละเลยธรรมชาติ ส่งผลให้สินค้าประเภท Fast-moving consumer goods หรือ FMCG หรือสินค้าที่ขายเร็วมีต้นทุนต่ำได้รับความนิยมน้อยลง เพราะคนจะหันไปสนับสนุนสินค้าที่ผลิตจากธรรมชาติ ไร้สารเจือปน หรือที่เรียกว่า ‘ออร์แกนิก’ แทน

3. ยา โดยปกติแล้วยามักจะถูกใช้เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย แต่หลังจากวิกฤติ COVID-19 ผู้คนจะมองหาอาหารเสริมและยาเพื่อป้องกันการเจ็บไข้ และเสริมให้สุขภาพให้แข็งแรงมากขึ้น รวมถึงเสื้อผ้า เมื่อดูดีจากภายในแล้ว ก็ต้องดูดีสู่ภายนอก อุตสาหกรรมเสื้อผ้า Fast fashion จะได้รับความนิยมน้อยลง และถูกถูกรณรงค์เลิกใช้ เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างคาร์บอนฟุตปรินต์เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล ดังนั้นกระแสเสื้อผ้าที่มีการกระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งสามารถสะท้อนไปถึงความคิด มุมมอง ทัศนคติการใช้ชีวิตของผู้สวมใส่ได้

เทรนด์และการดูแลตัวเองในวิถีหลัง COVID-19 นั้นมีหลากหลายวิธีและปัจจัยมาก ทั้งการดูแลป้องกันจากภายในสู่ภายนอก แต่แม้ว่าเราจะป้องกันตัวเองรอบด้านอย่างไร แต่คำว่าโรคระบาดมันมักไม่เลือกคน

จะเป็นอย่างไรถ้าเรามีแผนสำรองสำหรับการรับมือโรคอุบัติใหม่ หรือโรคระบาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ หรือโรคเก่าที่วนมาใหม่ไม่รู้จบได้ ด้วยผู้ช่วยเรื่องสุขภาพอย่างเมืองไทยประกันชีวิต ซึ่งมีประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย ที่พัฒนาและก้าวไปพร้อมกับทุกความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็น New Normal , The Next Normal หรือ The Next Next Normal ก็พร้อมรับมือกับทุกวิถีการดำเนินชีวิต ที่จะทำให้คุณลดความเครียดและความหวาดวิตกต่อปัญหาสุขภาพได้อย่างทั่วถึง ผ่านการบริการและการออกแบบความคุ้มครองที่คุณเลือกได้ ตามความต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท ก็มั่นใจได้ ครอบคลุมเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย รวมถึงอายุรับประกันสูงสุด 80 ปี ดูแลต่อเนื่องยาวๆ สูงสุดถึงอายุ 99 ปี ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี ผ่อนค่าเบี้ย 0% นานสูงสุด 6 เดือน หรือแลกรับเงินเครดิตเงินคืนสูงสุด 14%

รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://webmtl.co/3cv9wqF หรือ โทร. 1766

หมายเหตุ

– ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย

– เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด

– การพิจารณารับประกันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ

– เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด

– ความคุ้มครองพิเศษเพิ่มเติมเนื่องจากผลกระทบหลังจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด รับความคุ้มครองได้ตั้งแต่ 11 พฤษภาคม – 31 ธันวาคม 2564

– การปรับลดระยะเวลารอคอย (waiting period) เหลือ 14 วัน สำหรับการติดเชื้อโรค COVID-19 เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยเริ่มตั้งแต่ 28 พฤษภาคม – 31 ธันวาคม 2564

โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้น ก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

Tags: ,