คนสมัยก่อนเคยใช้น้ำเต้าเป็นกระบอกใส่น้ำ ตอนที่มันแห้งแล้ว ใส่น้ำลงไปและไม่รั่วเพราะมีผิวที่เคลือบมัน ตอนนี้นักออกแบบจากนิวยอร์กกำลังพัฒนาแก้วกาแฟแบบย่อยสลายทางชีวภาพได้ (biodegradable) จากลูกน้ำเต้า ซึ่งเป็นพืชตระกูลเดียวกับฟักทอง ให้ลูกโตอยู้ในแม่พิมพ์ 3 มิติ เพื่อให้มีรูปร่างเหมือนแก้วกาแฟ ตอนที่เก็บ
เครม ดีไซน์ (Creme Design) บริษัทสถาปนิกและออกแบบ เปิดเผยว่า ตอนนี้บริษัทเริ่มทดลองใช้แก้วกาแฟที่ทำจากน้ำเต้าในสตูดิโอของตัวเองแล้ว ทันยา คอฟแมน (Tania Kaufmann) ผู้จัดการด้านธุรกิจของบริษัทกล่าวว่า ทีมงานได้รับแรงบันดาลใจมาจากวิธีที่ชาวญี่ปุ่นปลูกแตงโม “คนญี่ปุ่นปลูกแตงโมในแม่พิมพ์จนทำให้ลูกแตงโมออกมาเป็นสี่เหลี่ยม ดังนั้นมันจึงง่ายต่อการขนส่งและจัดเรียง เราเลยคิดว่าจะปลูกน้ำเต้าด้วยวิธีเดียวกันคือปลูกในแม่พิมพ์ที่เป็นรูปแก้ว”
แก้ว HyO-Cups ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ 100% ออกแบบโดยเครม ดีไซน์ ร่วมกับจุน ไอซากิ (Jun Aizaki) สถาปนิกมือรางวัลชาวญี่ปุ่น นักออกแบบเห็นว่าน้ำเต้าเป็นพืชที่โตเร็ว และให้ผลมากในแต่ละฤดูกาล มีผิวหนังภายนอกที่แข็งแรงและมีเส้นใยภายใน เมื่อมันแห้ง สมัยก่อนก็เคยถูกใช้แทนแก้วมาก่อนด้วย
บริษัทใช้ที่หล่อแบบสามมิติเพื่อค้นหารูปร่างที่เอามาใช้งานได้ เช่น ถ้วยและขวดแก้ว เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน นำกลับมาใช้ใหม่ได้ และย่อยสลายได้โดยปราศจากขยะ พวกเขาใช้เวลา 6 สัปดาห์ปลูกน้ำเต้าที่ใส่น้ำได้ 443 มิลลิลิตร ที่มีขนาดใกล้เคียงกับแก้วกาแฟขนาดกลางของร้านสตาร์บัคส์
แรกเริ่มนักออกแบบปลูกน้ำเต้ากลางแจ้ง แต่มีอุปสรรคหลายอย่าง เช่น สภาพอากาศ ความชื้น สัตว์ จึงเปลี่ยนมาปลูกในตู้คอนเทนเนอร์ที่ทำให้เป็นห้องแล็บ พวกเขามีแผนที่จะปลูกน้ำเต้าในห้องแล็บที่อยู่ในพื้นที่ร่ม
คอฟแมนกล่าวว่า บริษัทเน้นไปที่การสร้างทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับการใช้ถ้วยพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ในอนาคตแก้วนี้จะทำมาจากน้ำเต้าออร์แกนิก และย่อยสลายได้ตามธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์
เธอบอกว่าโลกจะได้รับประโยชน์จากผลิตภัณฑ์นี้ หากมีการผลิตในปริมาณมาก เป็นทางเลือกหนึ่งนอกจากแก้วกระดาษ ที่ผ่านมาการใช้แก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งซึ่งย่อยสลายไม่ได้ทางชีวภาพสร้างปัญหาขยะปริมาณมาก
แก้วที่ย่อยสลายตามธรรมชาติได้ส่วนใหญ่ที่มีอยู่ตามท้องตลาดตอนนี้ยังมีส่วนผสมของสารเคมีอยู่ เพื่อไม่ให้แก้วรั่วน้ำ ซึ่งเป็นสารเคมีที่ย่อยสลายไม่ได้ ดังนั้นมันจึงไม่ใช่แก้วที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพจริงๆ
เมื่อปี 2011 มีแก้วกาแฟอย่างน้อย 2.5 ล้านล้านใบที่ถูกทิ้ง และการรีไซเคิลก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะแก้วมักจะมีวัสดุอื่นเจือปน เพื่อทำให้มันทนความร้อนหรือกันรั่ว มีรายงานว่าแก้วส่วนใหญ่ราว 99.75% ไม่ถูกรีไซเคิล
ที่มา:
https://www.telegraph.co.uk/news/2019/03/17/biodegradable-coffee-cups-grown-bid-cut-plastic-waste/