1. พลาสติกเบอร์ 1 โพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต

ขวด PET’ หรือขวดพลาสติกเบอร์ 1 โพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate) ซึ่งเป็นขวดพลาสติกใสและแข็งแรง ใช้บรรจุน้ำดื่ม น้ำอัดลม น้ำมันพืช จุดสังเกตคือก้นขวดจะมีรอยนูนบนเนื้อพลาสติกที่เกิดจากการเป่าขึ้นรูปในกระบวนการผลิต นอกจากจะขายได้ราคาดีแล้ว ส่งไปแปลงร่างเป็นเส้นใยพลาสติกสำหรับทอเป็นผ้าไตรจีวร ได้ที่วัดจากแดง ซอยวัดจากแดง .ทรงคนอง .พระประแดง .สมุทรปราการ โทร 066 159 9558

2. พลาสติกเบอร์ 4 โพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ

ถุงพลาสติกหูหิ้ว ฟิล์มหุ้มแพ็กกล่องนม ฟิล์มหุ้มแพ็กขวดเครื่องดื่ม ฟิล์มพลาสติกห่อแพ็กทิสชู ผ้าอนามัย และผ้าอ้อมสำเร็จรูป ซองไปรษณีย์ ถุงซิปล็อค ซองยา พลาสติกกันกระแทก ถุงขนมปัง ถุงน้ำตาลทราย ถุงใส่ผักผลไม้ ส่วนใหญ่เป็นพลาสติกเบอร์ 4 โพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene หรือ LDPE) ซึ่งเหนียว นิ่ม ยืดง่าย หากเก็บไว้นานแล้วก็ยังไม่ครบกิโลฯ สักที แทนที่จะรอขาย ส่งรีไซเคิลกับโครงการวนอาจจะง่ายกว่า ที่อยู่ตามนี้ บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) 42/174 .5 .ไร่ขิง .สามพราน .นครปฐม 73210 https://www.facebook.com/wontogether/

3. พลาสติกเบอร์ 6 โพลีสไตริน

ตระกูลโฟม ไม่ว่าจะเป็นแผ่นโฟม ถาดโฟม กล่องโฟม เศษโฟม ตาข่ายโฟมห่อผลไม้ หรือโฟมกันกระแทก จัดเป็นพลาสติกเบอร์ 6 โพลีสไตริน (Polystyrene หรือ PS) บริษัท เอ็นไวรอนพลาสต์ จำกัด พร้อมอ้าแขนรับ เพียงส่งไปที่ 29/1 หมู่ 9 ถนนวงแหวนรอบนอกตะวันตก .คลองข่อย  .ปากเกร็ด .นนทบุรี 11120 โทร 080 440 8788 https://www.facebook.com/EVP.Environplast

4. ช้อนส้อม หลอด แก้วน้ำพลาสติก

ขวดนม ช้อน/ส้อม/มีดพลาสติก หลอดดูด แก้วน้ำพลาสติก และบรรจุภัณฑ์เครื่องสำอางพลาสติก บริษัท ซีโร่ เวสท์ โยโล จำกัด ยินดีรับจัดการ จ่าหน้ากล่องตามนี้  432 .พรานนกพุทธมณฑล แขวงบางเชือกหนัง เขตตลิ่งชัน กทม. 10170 โทร 061 536 5514 https://www.facebook.com/zerowasteyolo/

5. ฝาขวด

ฝาขวดน้ำหลากสีสันก็ไม่ไร้ค่า โครงการ Precious Plastic Bangkok สามารถรีไซเคิลเป็นกระถางหรือแจกันได้  จักรพงษ์วิลล่า 396/1 .มหาราช แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 https://www.facebook.com/PreciousPlasticBKK/

6. กล่องเครื่องดื่มที่รีไซเคิลไม่ได้

กล่องเครื่องดื่มบางชนิดจะนำไปรีไซเคิลไม่ได้ แต่สามารถนำไปผลิตเป็นแผ่นหลังคาได้ เพียงส่งต่อให้โครงการหลังคาเขียว ที่บริษัท ไฟเบอร์พัฒน์ จำกัด (ระบุหน้ากล่องว่า ร่วมโครงการหลังคาเขียวฯ ) 30/11 หมู่ที่ 11 วัดบางเสาธง ถนนบางนาตราด .บางเสาธง .บางเสาธง .สมุทรปราการ 10570 https://www.facebook.com/Thaigreenroof/

7. ขยะพลาสติกที่ใช้ซ้ำไม่ได้ ขายไม่ได้ รีไซเคิลไม่ได้

พลาสติกที่เหลือคือพวกใช้ซ้ำไม่ได้ ขายไม่ได้ รีไซเคิลไม่ได้ และไม่มีใครต้องการ คือเป็นขยะจริงๆ เช่น ซองฟอยด์ ถุงลามิเนตที่ผลิตจากฟิล์มพลาสติกและอะลูมิเนียมฟอยด์ เศษพลาสติกต่างๆ หลอดยาสีฟัน ฯลฯ ก็ยังสามารถผลิตเป็น ‘Eco-Bricks’ ได้ง่ายๆ

เพียงตัดขยะแห้งและสะอาดเหล่านั้นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ลงขวด PET ขนาด 0.5-2 ลิตรที่แห้งและสะอาดเช่นกัน ใช้แท่งไม้อัดให้แน่นจนเต็ม ชนิดที่ปิดฝาแล้วจะไม่สามารถบีบหรือบิดขวดได้อีก 

เมื่อสะสมได้จำนวนพอควร ก็ส่งต่อ Eco-Bricks ให้โครงการผึ้งน้อยนักสู้ 1/778 อาคารการ์เด้นโฮมพลาซ่าโซน 2 ถนนพหลโยธิน .คูคต .ลำลูกกา .ปทุมธานี 12130 หรือแบมบูสคูล (Bamboo School) 234 .แมมแคท หมู่บ้านบ้องตี้ล่าง .บ้องตี้ .ไทรโยค .กาญจนบุรี 71150 ซึ่งเป็นสองกลุ่มที่กำลังต้องการใช้มันเป็นส่วนประกอบของการก่อสร้างบ้านดินหรืออาคารเรียน

Tags: