ผลพลอยได้จากการทำน้ำตาล เกิดเป็นเหล้ายอดนิยมของนักเดินเรือ
หากพูดถึงเหล้ารัม (Rum) นักดื่มเมืองไทยบางคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นหูมากนัก หรืออาจมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเหล้ารัม ที่ดันไปคล้องจองกับ รำ หรือ รำข้าว เลยหลงคิดไปว่าเหล้ารัมนั้นอาจจะทำจากรวงข้าวอะไรเทือกนั้น ซึ่งจริงๆคือคนละเรื่องเลย รัม (Rum) ถือเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทหนึ่งที่อยู่คู่กับแวดวงการดื่มมาอย่างยาวนาน จากประวัติศาสตร์ต้นกำเนิดของเหล้ารัมอาจจะไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน แต่บันทึกหลักฐานต่างๆของการผลิตเหล้าจาก ‘อ้อย’ ทำให้สามารถย้อนรอยการเดินทางของเหล้ารัมกลับไปเมื่อหลายร้อยปีก่อน จากข้อมูลต่างๆพบว่า แหล่งผลิตรัมส่วนใหญ่ของโลกนั้นมาจากแถบหมู่เกาะทะเลแคริบเบียนและบางพื้นที่ของประเทศในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ซึ่งปลูกอ้อยกันมาก
โดยจุดกำเนิดของรัมนั้นถือเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลจากอ้อย เพราะในสมัยนั้น จุดประสงค์หลักของการปลูกอ้อยก็เพื่อผลิตน้ำตาล โดยจะเหลือ ‘กากอ้อย’ หรือ ‘กากน้ำตาล’ หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Molasses ทิ้งเป็นจำนวนมาก จนมีการนำกากน้ำตาลเหล่านี้มาหมักและผลิตสุราดูบ้าง จนเกิดเป็นเหล้ารัม
ในขณะเดียวกันก็มีการค้นพบบันทึกของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เมื่อครั้งที่ออกแล่นเรือแสวงหาดินแดนใหม่ครั้งที่ 2 กลุ่มของเขามีโอกาสได้ดื่มเหล้ารัมของพวกอินเดียนแดงบนเกาะบาร์บาโดส (Barbados) ในปี ค.ศ. 1600 ซึ่งคาดว่า นั่นน่าจะเป็นครั้งแรกที่ชาวตะวันตกได้รู้จักรสชาติของเหล้ารัม
ต่อมาก็มีการค้นพบว่า Rum อาจจะเรียกต่าง ๆ กันตามภาษาพื้นเมืองหรือภาษาถิ่นของดินแดนต่าง ๆ เช่น Roum or Rhum หรือภาษาอารบิกออกเสียงว่า อาร์-รัม (Ar-Rum) ขณะที่ยังมีคำอื่นๆ อีกหลายคำที่ถูกใช้แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นในยุโรป จักรวรรดิไบแซนไทน์ กรีก ออตโตมัน และ จักรวรรดิเซลจุค ในเอเชียไมเนอร์ เป็นต้น
และ ‘รัม’ ได้กลายมาเป็นเหล้าที่มีบทบาทสำคัญกับราชนาวีอังกฤษมากยิ่งขึ้นเมื่อกองทัพเรืออังกฤษเข้ายึดครองเกาะจาเมกาในปี ค.ศ. 1655 และทำให้การแบ่งสันปันส่วนแอลกอฮอล์แก่เหล่ากะลาสีถูกเปลี่ยนจากบรั่นดี ฝรั่งเศส มาเป็นรัมนั่นเอง
จากกากอ้อยหรือกากน้ำตาลที่ถูกมองข้าม สู่การนำไปหมักเป็นเหล้า
รัม (Rum) จัดเป็นประเภท Spirits เป็นเหล้าที่กลั่นจากอ้อยและกากน้ำตาล วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตรัมคือ กากน้ำตาลหรือ Molasses ในขั้นแรกเริ่มนั้น อ้อยจะถูกเก็บเกี่ยวและบดเพื่อแยกน้ำออกจากกากในกระบวนการผลิตน้ำตาล กากน้ำตาล หรือ Molasses ที่ได้จะถูกนำมาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเหล้ารัมต่อมา ซึ่งหลักๆแล้วมีอยู่สามขั้นตอน คือ
-
การหมัก (Fermentation) – โดยใช้ยีสต์ (yeast) เป็นหลักในกระบวนการนี้
-
การกลั่น (Distillation) – จะทำได้สองแบบคือ กลั่นโดย Column still คือการกลั่นต่อเนื่องครั้งเดียวออกมาเป็นสุราดีกรีสูง และกลั่น Pot still โดยการกลั่น Pot still นั้นจะให้กลิ่นและรสชาติที่มีความโดดเด่นมากกว่า (หากหยุดการผลิต ณ จุดนี้และบรรจุลงขวดจะเป็น White Rum)
-
การบ่ม (Maturation) – หลังจากกลั่นเรียบร้อยแล้วเหล้ารัมจะถูกนำไปบ่มในถังไม้โอ๊ก ซึ่งจะมีการลนไฟอ่อนๆภายในถังไม้โอ๊กก่อนนำไปบ่มเพื่อกระตุ้นเนื้อไม้ให้เกิดกลิ่นหอมยิ่งขึ้น และเมื่อบ่มแล้วกลิ่นของไม้โอ๊กจะกลายเป็นกลิ่นหอมในเหล้ารัมนั้นด้วย ซึ่งในการบ่มนั้นไม่มีระยะเวลาขั้นต่ำในการบ่ม แต่ถึงอย่างไร การบ่มในถังไม้โอ๊ก หากยิ่งบ่มนาน สีก็จะยิ่งเข้มตามไปด้วย และในภูมิอากาศที่ร้อนกระบวนการบ่มก็จะยิ่งเร็วขึ้น
สี คือวิธีแยกประเภทของเหล้ารัม
ประเภทของเหล้ารัม (Rum) แบ่งออกได้ตามระยะเวลาการบ่มคล้ายกับการผลิตเหล้าหลายๆชนิด โดยดีกรีของเหล้ารัมที่มีในไทยจะอยู่ที่ประมาณ 35 – 43 % ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นประเภทหลักๆคือ
White Rum – โดยทั่วไป white rum จะมีรสชาติไม่แรง มีรสหวาน และนิยมนำไปทำ cocktail
Gold Rum – เป็นรัมสีทองอำพัน ซึ่งมักจะผ่านการบ่มในถังไม้โอ๊กโดยมีระยะเวลา หรือเรียกว่า aged rum
Spiced Rum – รัมประเภทนี้ได้รสชาติจากการเติมเครื่องเทศหรือสมุนไพร และมักเติมคาราเมลเพื่อให้ได้สีทอง
Dark Rum – เป็นกลุ่มที่มีสีของน้ำสุราเข้ม และมักจะผ่านการบ่มในถังไม้โอ๊กนานกว่า Gold Rum เพื่อให้เกิดสีและได้กลิ่นและรสชาติแรงยิ่งขึ้น หากผลิตในแถบแคริบเบียนอาจจะใช้เวลาตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป แต่ถ้าหากเป็นแถบอเมริกาอาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปีเพื่อให้ได้รัมสีดำ เนื่องจากภูมิอากาศที่แตกต่างกัน dark rum จะมีรสชาติที่แรงกว่า white rum และ gold rum และมีรสของเครื่องเทศแฝงอยู่ให้รู้สึกได้ มักจะถูกใช้เพื่อเพิ่มความเข้มข้นและสีให้กับเครื่องดื่ม cocktail
ความคราฟท์ของแบรนด์ไทยจนกลายเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น
ในเมืองไทยเองก็มีเหล้ารัมดีๆอยู่หลากหลายแบรนด์ และหนึ่งในนั้นคือ PHRAYA (พระยา) ที่มีความโดดเด่นในเรื่องความพิถีพิถันกับทุกๆขั้นตอน จึงทำให้สัมผัสรสชาติและกลิ่นนั้นกลายเป็นเอกลักษณ์ของ PHRAYA Craft of Refinement เพราะความพิถีพิถันและใส่ใจจึงทำให้ PHRAYA แตกต่างจากเหล้ารัมอื่นๆในไทย เริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิตที่มีแรงบันดาลใจจากความอุดมสมบูรณ์ของธาตุทั้งสี่บนผืนแผ่นดินไทย ได้แก่ ดิน การเลือกใช้อ้อยที่เป็นวัตถุดิบหลักจากแหล่งกำเนิดในจังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่นับว่ามีดินที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งสำหรับการปลูกอ้อยในประเทศไทย น้ำ ที่ใช้ในกระบวนการผลิตนำมาจากแม่น้ำท่าจีน ซึ่งแม่น้ำสายหลักของไทย ไฟ : ถังไม้โอ๊กของ PHRAYA ผ่านการลนไฟอ่อนๆ เพื่อกระตุ้นเนื้อไม้ให้มอบกลิ่นและรสชาติของถัง ลม: โรงเก็บบ่ม PHRAYA ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำทะเลสาบ ที่มีลมเย็นพัดผ่านตลอดปี โดยใช้เวลาบ่มในโรงเก็บบ่มนี้ยาวนานระหว่าง 7-12 ปี ทำให้รสชาติของ PHRAYA มีความซับซ้อน เป็นเอกลักษณ์ จากรายละเอียดในทุกขั้นตอนนี้เองทำให้ PHRAYA ได้รับรางวัลการันตีเรื่องคุณภาพมามากมาย เช่น “World Rum Award 2017” Category Winner ซึ่งในปีนี้ PHRAYA ร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลักในงาน Bangkok Rum Cocktail Week ในงานจะมีประวัติเกี่ยวกับ Rum ที่น่าสนใจให้ติดตามอีกมากมาย
คลิกที่ Facebook : Bangkok RUM Cocktail Week
CRAFT THE EXPERIENCE Click: www.phrayarum.com
Tags: Molasses, History, Drink, rum, liquor