ผมกำลังเตรียมที่จะยกเลิก ...สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในเขตท้องที่กรุงเทพฯ เร็วๆ นี้ ยกเว้นหากมีสถานการณ์รุนแรงใดๆ เกิดขึ้น

เป็นประโยคหนึ่งในถ้อยแถลงของ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ช่วง 19.00 . วันพุธที่ 21 ตุลาคม และต่อมาในวันรุ่งขึ้น เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศให้ยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2563 เวลา 12.00 . เป็นต้นไป

แต่เมื่อย้อนมองการประกาศเตรียมยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงดังกล่าวในครั้งล่าสุดนี้ ก็มิอาจหยุดยั้งความแน่วแน่ของผู้ชุมนุมที่เรียกตัวเองว่าราษฎรได้ นั่นคือการเดินขบวนจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สู่ทำเนียบรัฐบาล ระยะทางกว่า 4 กิโลเมตร เพื่อยื่นคำขาดให้ พล..ประยุทธ์ ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี

พล..ประยุทธ์ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เวลา 04.00 .ของวันที่ 15 ตุลาคม จับกุมแกนนำ หวังสลายผู้ชุมนุมไม่ให้ไม่รวมตัวกันอีก หลังผู้ชุมนุมเดินขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปปักหลักข้างทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันพุธที่ 14 ตุลาคม

ทว่าการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไม่เป็นผล คล้อยหลังไปเพียง 12 ชั่วโมง ช่วงเย็นวันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม ผู้ชุมนุมเต็มถนนราชประสงค์ พร้อมคำตะโกนปล่อยเพื่อนเรากึกก้องย่านใจกลางเศรษฐกิจ

ซ้ำวันต่อมา ศุกร์ที่ 16 ตุลาคม แม้การชุมนุมที่แยกปทุมวัน จะถูกตำรวจควบคุมฝูงชนด้วยรถน้ำแรงดันสูง แต่ยิ่งปราบ ยิ่งไล่จับกุมตาม ...ฉุกเฉิน ยิ่งทำให้ผู้ชุมนุมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นาทีนี้ ...ฉุกเฉิน ดูแทบไม่มีความหมายต่อผู้ชุมนุม

…..

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ...ฉุกเฉิน ปี 2548 มีที่มาที่ไปจากเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

ปี 2547 เหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ปะทุขึ้นระลอกใหม่ เกิดความรุนแรงรายวัน เสียงปืน เสียงระเบิด ดังขึ้นไม่หยุดหย่อน ตลอดปี 2547 ล่วงสู่ปี 2548

  วันที่ 14 กรกฎาคม 2548 เวลาประมาณ 19.00 . เกิดเหตุการณ์คนร้ายวางระเบิดเสาไฟฟ้าแรงสูงที่หน้าสถานีจ่ายไฟฟ้าบ้านพงยือไร ตำบลบันนังสาเร็ง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เสียหายจำนวน 4 ต้น ซึ่งสถานีจ่ายไฟฟ้านี้ ห่างจากเทศบาลนครยะลา เส้นทางออกไปทางอำเภอบันนังสตา ประมาณ 500 เมตร ทำให้เกิดไฟฟ้าดับในเขตเมืองทั้งหมด

หลังจากไฟฟ้าดับทั้งหมด ยะลาทั้งเมืองตกอยู่ในความมืด  จากนั้นกลุ่มคนร้ายที่คาดว่ามีไม่น้อยกว่า 60 คน ได้กระจายกันก่อเหตุร้ายทั่วเมืองยะลา ทั้งวางระเบิด 5 จุด ขว้างระเบิดเพลิง 4 จุด ยังมีคนร้ายอีกชุดที่โจมตีเจ้าหน้าที่ประจำป้อมตำรวจทางรถไฟตลาดเก่ายะลา ทำให้ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย แต่ว่า การปะทะกันระหว่างตำรวจกับคนร้ายอีกจุด คือด้านหน้าสถานีดับเพลิงเทศบาลนครยะลา จับกุมคนร้ายได้ 1 คน  ก่อนคนร้ายล่าถอยออกไป ได้วางระเบิดเพื่อสกัดกั้นการติดตามของเจ้าหน้าที่ไว้ถึง 7 จุด เมื่อตรวจสอบพบว่าเป็นระเบิดปลอมมีนาฬิกาผูกใส่ถุงทรายไว้ลักษณะคล้ายระเบิดจริง ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเสียเวลาเก็บกู้อยู่นาน

หลังเหตุการณ์นี้ คณะรัฐมนตรีสมัย ...ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีฉุกเฉิน ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2548 และมีมติผ่านร่าง ...การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ..2548 

วันถัดมา 16 กรกฎาคม 2548 ได้ประกาศ ...ฉุกเฉิน ในราชกิจจานุเบกษา และถัดมาอีกวันคือ 17 กรกฎาคม 2548 ...ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 

...ฉุกเฉิน กำหนดให้ผู้มีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินคือ นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เพื่อบังคับใช้ทั่วราชอาณาจักร หรือในบางเขตบางท้องที่ ตามความจำเป็น แต่ในกรณีที่ไม่อาจขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีได้ทันท่วงที นายกรัฐมนตรีอาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไปก่อน แล้วจึงมาดำเนินการเพื่อให้ได้รับความเห็นชอบ จากคณะรัฐมนตรีภายใน 3 วัน

การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ให้ใช้บังคับตลอดระยะเวลาที่นายกรัฐมนตรีกำหนด แต่ต้องไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันประกาศ เว้นแต่ในกรณีจำเป็นต้องขยายระยะเวลา จะสามารถขยายเวลาการใช้กฎหมายนี้ไปได้อีกเป็นคราวๆ คราวละไม่เกิน 3 เดือน

สรุปคือหลังเหตุการณ์ระเบิดปิดเมืองยะลาผ่านไป 3 วัน นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นกฎหมายพิเศษ เพราะในขณะนั้นเจ้าหน้าที่บอกว่า ใช้กฎหมายปกติในสถานการณ์แบบนั้น ไม่ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

...ฉุกเฉินปี 2548 มี 19 มาตราในสมัยนั้น มีการประกาศใช้หลายมาตรา แต่ที่ประชาชนในสามจังหวัดชายแดนมีความวิตกกันมากในขณะนั้น คือ มาตรา 12 ที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่คุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ครั้งละ 7 วัน รวมกันไม่เกิน 30 วัน ดังนั้นหากฝ่ายสืบสวนสงสัยใคร สามารถเชิญตัวตาม ...ฉุกเฉิน มาสอบปากคำได้

นั่นคือการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งแรกที่มีความร้ายแรง ตาม ...ฉุกเฉินปี 2548 

…..

ครั้งที่ 2 ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตาม ...ฉุกเฉิน คืออีกหนึ่งปีถัดมา ในเหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 วันรัฐประหารรัฐบาล ...ทักษิณ ตอนนั้นเขาอยู่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา พอรู้ว่ามีการรัฐประหาร ก็ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานคร โดยให้ พล..เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าผู้กำกับการสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ก็ไม่ทันการณ์

ครั้งที่ 3 สมัยรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2551 ใช้ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครอันเนื่องมาจาก สถานการณ์ที่ผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ปะทะกับผู้ชุมนุม กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติบริเวณถนนราชดำเนิน

ครั้งที่ 4 ในสมัยรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ใช้ในท้องที่เขตดอนเมือง เขตลาดกระบัง และปริมณฑลบางส่วน อันเนื่องมาจากสถานการณ์ที่ผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเข้ายึดท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อขับไล่รัฐบาล

ครั้งที่ 5 ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2552 ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงใช้ในเขตท้องที่จังหวัดชลบุรี อันเนื่องมาจากสถานการณ์ที่กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงบุกเข้าไปในบริเวณที่มีการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน

ครั้งที่ 6 ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2552 ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ใช้ในเขตท้องที่กรุงเทพฯ และบางส่วนของจังหวัดนนทบุรี  สมุทรปราการ ปทุมธานี นครปฐม และพระนครศรีอยุธยา อันเนื่องมาจากสถานการณ์ที่กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงปิดถนน ในกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลเพื่อขับไล่รัฐบาล

  ครั้งที่ 7 ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงใช้ในเขตท้องที่กรุงเทพฯ และบางส่วนของจังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ นครปฐม พระนครศรีอยุธยา อันเนื่องมาจากสถานการณ์ การชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงปิดถนนบริเวณแยกราชประสงค์และบุกรัฐสภา

ครั้งที่ 8 ในสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2557 ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงใช้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และบางส่วนของจังหวัดสมุทรปราการ ปทุมธานี อันเนื่องมาจากสถานการณ์ชุมนุมกลุ่ม กปปส. ชัตดาวน์กรุงเทพฯ ปิดสถานที่ราชการและธนาคารต่างๆ เพื่อขับไล่รัฐบาล

ครั้งที่ 9 ในสมัยรัฐบาล พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศใช้ในวันที่ 26 มีนาคม 2563 ใช้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ  อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19

และครั้งนี้เป็นครั้งที่ 10 ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 15 ตุลาคม 2563 โดยให้ พล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นผู้กำกับดูแลสถานการณ์

…..

จะเห็นได้ว่า ...ฉุกเฉินปี 2548 ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ 10 ครั้งที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง มีเพียงครั้งเดียวที่ประกาศในเขตท้องที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งต่ออายุเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนอีก 9 ครั้ง เป็นการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานครเป็นส่วนใหญ่ เพื่อรับมือการชุมนุมทางการเมือง 

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม เพื่อหวังสกัดม็อบ อาจเป็นการประเมินสถานการณ์ที่ผิดพลาด เพราะกลุ่มผู้ชุมนุมราษฎรมีความแน่วแน่ มั่นคง ในเป้าหมายของพวกเขา จนทำให้กฎหมายที่ดูน่ากลัวก็ไม่สามารถหยุดยั้งได้ ซ้ำยังก่อให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ ผู้ชุมนุมขยายตัวเบ่งบานมากยิ่งขึ้น

ในขณะเดียวกัน การยกเลิกประกาศฯ ดังกล่าวในวันที่ 22 ตุลาคม ท่ามกลางระยะเวลา 3 วันที่กลุ่มผู้ชุมนุมยื่นข้อเสนอ และขีดเส้นตายให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง  ก็อาจมีนัยยะบางอย่างที่ต้องจับตามองกันต่อไป

Tags: