สมาคมวิทยาศาสตร์สวีเดนประกาศเมื่อวันที่ 9 ตุลาคมว่า รางวัลโนเบล สาขาเคมีในปีนี้เป็นของจอห์น กู๊ดอินัฟ, เอ็ม สแตนลีย์ วิตติงแฮม และอากิระ โยชินะ ผู้มีส่วนพัฒนาแบตเตอรีประจุลิเทียม

แบตเตอรีลิเธียมที่ใช้ทั่วไปในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาในเวลานี้เพิ่งออกสู่ตลาดครั้งแรกเมื่อปี 1991 นี้เอง เริ่มมีการพัฒนาแบตเตอรีลิเทียมในช่วงวิกฤตน้ำมันทศวรรษ 1970  โดยสแตนลีย์ วิตติงแฮม ชาวอังกฤษ ปัจจุบันอายุ 77 ปี ได้พัฒนาหาวิธีผลิตแบตเตอรีที่ไม่ใช้พลังงานฟอสซิล เขาค้นพบวัสดุที่สามารถเป็นแหล่งพลังงานมหาศาล ใช้ผลิตขั้วลบในแบตเตอรีลิเทียมได้ นั่นก็คือ ไทเทเนียมไดซัลไฟด์ ซึ่งในระดับโมเลกุลมีพื้นที่ที่สามารถสอดแทรกประจุลิเธียมเข้าไปได้

ขั้วบวกของแบตเตอรีมีส่วนหนึ่งที่ทำจากเมทัลลิคลิเทียม ซึ่งผลักดันให้เกิดการปล่อยอิเล็กตรอน ทำให้แบตเตอรีมีพลังงานมากกว่า 2 โวลต์ อย่างไรก็ตามเมทัลลิคลิเทียมก็ยังมีปัญหาในเรื่องการก่อให้เกิดการระเบิดได้

จอห์น กู๊ดอินัฟ ชาวอเมริกัน ปัจจุบันอายุ 97 ปี คาดว่าว่าขั้วลบจะมีศักยภาพมากขึ้นมาก ถ้าใช้เมทัลออกไซด์ แทนเมทัลซัลไฟด์ หลังจากการค้นคว้าอย่างเป็นระบบ ในปี 1980 เขาสาธิตให้เห็นว่า โคบอลต์ออกไซด์ที่มีประจุลิเทียมสอดแทรกอยู่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 4โวลต์ การค้นพบนี้ทำให้เกิดการพัฒนาแบตเตอรีที่มีพลังงานมากขึ้นต่อไป 

ด้วยความรู้ของกู๊ดอินัฟทำให้ อากิระ โยชิโนะ ชาวญี่ปุ่น ปัจจุบันอายุ 71 ปี สามารถสร้างแบตเตอรีจากประจุลิเทียมเพื่อการค้าได้เป็นครั้งแรกในปี 1985 เขาใช้ถ่านโค้กปิโตรเลียม ซึ่งเป็นคาร์บอนชนิดหนึ่งที่สามารถสอดแทรกประจุลิเทียมเข้าไปได้ ผลก็คือได้ แบตเตอรีที่มีน้ำหนักเบาและบรรจุพลังงานไว้ได้มาก สามารถชาร์จได้หลายร้อยครั้ง ข้อดีของแบตเตอรีลิเทียมอยู่ที่ มันไม่ได้อาศัยปฏิกิริยาทางเคมีทำลายขั้วไฟฟ้า แต่ใช้ประจุลิเทียมไหลไปมาระหว่างขั้วบวกและลบ

คณะกรรมการระบุว่า แบตเตอรีลิเทียมได้ปฏิวัติชีวิตของมนุษย์ ตั้งแต่ออกสู่ตลาดในปี 1991 มีคุณูปการต่อสังคมไร้สายและปลอดฟอสซิล และต่อมนุษยชาติ

 

ที่มา: 

ภาพ : TT News Agency/REUTERS

Tags: , , ,