องค์การสหประชาชาติกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีเป็น ‘วันสตรีสากล’ The Momentum จึงขอรวบรวมสถิติเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศในปี 2016 ที่จัดทำโดยสภาเศรษฐกิจโลก เพื่อให้เห็นภาพรวมบทบาทของผู้หญิงในทุกประเทศ รวมถึงประเทศไทย ซึ่งประเทศที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำทางเพศได้มากที่สุดคือ ไอซ์แลนด์ ขณะที่ประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 71 ตกจากอันดับ 40 ในปี 2006

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกอย่างบ้านเราต้องใช้เวลาประมาณ 111 ปี ในการลดความเหลื่อมล้ำทางเพศ ขณะที่ภูมิภาคเอเชียใต้ต้องใช้เวลามากกว่า 1,000 ปี และภูมิภาคที่มีประเทศแห่งเสรีภาพอย่างอเมริกาเหนือนั้น รายงานของสภาเศรษฐกิจโลกเปิดเผยว่า ความเหลื่อมล้ำทางเพศจะกลับสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตสวนทางกับภูมิภาคอื่นๆ

ในปี 2016 มีเพียง 5 ประเทศเท่านั้นที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำทางเพศได้ 80% หรือมากกว่า อย่างไรก็ตามมีสัญญาณที่ดีที่บ่งบอกว่า ในปี 2016 ไม่มีประเทศใดในโลกที่ลดความเหลื่อมล้ำทางเพศได้น้อยกว่า 50%

จากข้อมูลใน infographic ข้างต้น เมื่อถอยกลับมามองภาพกว้างในการลดความเหลื่อมล้ำทางเพศของแต่ละภูมิภาคที่มีความแตกต่างกันทางด้านวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิต จะพบว่า ระยะเวลาในการลดความเหลื่อมล้ำทางเพศของแต่ละภูมิภาค มีความมากน้อยต่างกัน ดังนี้

เอเชียใต้ มากกว่า 1,000 ปี

ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ 356 ปี

เอเชียตะวันออกและแปซิฟิก 111 ปี

ยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง 93 ปี

แอฟริกาซับ-ซาฮารา 63 ปี

ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 61 ปี

ยุโรปตะวันออก 47 ปี

ขณะที่ปัจจุบันอเมริกาเหนือ มีแนวโน้มความเหลื่อมล้ำทางเพศสูงขึ้นในอนาคต

ส่วนภาพรวมความเท่าเทียมทางเพศของประเทศไทย ปี 2016 เทียบกับปี 2006 พบว่าโอกาสและส่วนร่วมทางทางเศรษฐกิจอยู่อันดับที่ 22 ตกลงจากอันดับ 13, โอกาสในการสำเร็จการศึกษา อันดับ 74 ตกลงจากอันดับ 72, อำนาจทางการเมือง อันดับ 131 ตกลงจากอันดับ 89 มีเพียงมิติด้านสุขภาพและการดำรงชีวิต ที่ยังคงรักษาอันดับ 1 จากเมื่อปี 2006 ไว้ได้

Infographic: Nisakorn Rittapai​

อ้างอิง:

Tags: , ,