เราควรพูดกับเด็กอย่างเด็ก หรือพูดกับเด็กอย่างผู้ใหญ่
01:02
- บางครั้งเราจะพูดกับเด็กเหมือนพูดกับผู้ใหญ่ทั่วไปไม่ได้ เพราะเด็กประสบการณ์น้อยกว่า มีคลังคำขนาดเล็กกว่า เขาอาจจะไม่เข้าใจสิ่งที่ผู้ใหญ่จะสื่อหรือบอก ดังนั้นการจะคุยกับเด็ก เราต้องพยายามทำทุกอย่างให้เข้าใจง่ายขึ้น
- โบ: Disclaimer: I’m not good with ALL children. Sometimes there are moments that I can’t stand misbehaving children outside of my family. For the most part because if it’s kids in my family I know how to handle them. ไม่ได้รับมือกับเด็กได้ทุกคนในโลก บางครั้งก็ทนเด็กดื้อเด็กซนไม่ได้ โดยเฉพาะถ้าไม่ได้เป็นเด็กในครอบครัวของเรา เพราะถ้าเป็นลูกเป็นหลาน เราจะรู้ว่าต้องรับมืออย่างไร
- เฟี้ยต: Children are fun to be with. They’re sincere, honest and a lot less complicated comparing to grown-up. รักเด็กตรงที่อยู่ด้วยแล้วสนุก สบายใจ เด็กๆ จะซื่อใส จริงใจ และไม่ซับซ้อนเหมือนผู้ใหญ่
- บิ๊ก: If I would ever have to be alone with some kids, I might try to find out what would entertain them. What are their likes and dislikes. Probably start with asking;
– “Do you like comics?” ชอบอ่านการ์ตูนป่าว
– “What TV shows do you like?” ชอบดูรายการทีวีอะไรบ้าง
– “Are you hungry? Can I get you anything to eat?” หิวไหม กินอะไรไหม
- โบ: ตอนเริ่มทำความรู้จักกับหลานของสามี โบก็เริ่มคล้ายๆ อย่างนี้ คือถามคำถามเพื่อที่จะรู้จักหลานให้มากขึ้น เราจะได้รู้ว่าเขาชอบอะไร แล้วชวนเขาคุยเรื่องที่เขาชอบ
– “What grade are you in now?” อยู่ชั้นไหนแล้วเนี่ย
– “What’s your favourite subject?” ชอบเรียนวิชาอะไร
– “What do you get to do after school?” หลังเลิกเรียนทำอะไรบ้าง
– “Do you like to play sports?” เล่นกีฬาหรือเปล่า
– “How’s school today?” วันนี้ที่โรงเรียนเป็นไงบ้าง
– “What did you do that’s interesting at school today? Can you tell me about it?” ที่โรงเรียนวันนี้ทำอะไรสนุกๆ บ้างหรือเปล่า เล่าให้ฟังหน่อยสิ
- Ask them and listen to them. Be interested in what they have to say. ถามแล้วฟังอย่างตั้งใจ และสนใจในสิ่งที่เขาเล่า
- เฟี้ยต: เคยอบรมและทำละครเพื่อการพัฒนาเด็ก ใช้ศิลปะในการพัฒนาเด็ก เขาสอนว่าเราไม่ควรต้องพูดกับเด็กด้วยภาษาและสำเนียงแบบเด็ก แต่เราสามารถพูดกับเขาเหมือนเขาเป็นผู้ใหญ่ ให้ความสำคัญกับเขาเหมือนเขาเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่ง เราควรวางตัวปกติ อย่างที่เราเป็นเรา เพื่อให้เด็กทำความรู้จักเราในแบบที่เราเป็นตัวเราจริงๆ
- ด้วยความที่เด็กยังอ่อนประสบการณ์ ผู้ใหญ่ต้องอดทน และค่อยๆ พยายามอธิบายให้เด็กเข้าใจโลกทีละน้อย
- โบ: ครั้งหนึ่งหลานคนเล็กแกะกล่องของขวัญไม่ได้ ก็ขว้างของลงกับพื้นด้วยความหงุดหงิด แล้วทำเสียงงอแง โบนั่งอยู่ด้วยก็เลยถามว่า “ทำแบบนี้ไม่น่ารักเลย พูดดีๆ ขอดีๆ น้าโบก็จะช่วยแล้ว” แล้วเขาก็นิ่งไปพักหนึ่ง คาดว่าในสมองกำลังประมวลผลอยู่ จากนั้นทำเป็นเล่นของเล่นไปสักสามวินาทีแล้วค่อยหันมาพูดว่า “น้าโบครับ แกะอันนี้ให้ผมหน่อยครับ”
- โบจะชมเสมอเมื่อหลานพูดเพราะ หรือทำอะไรดี น่ารัก เขาจะได้เข้าใจว่า สิ่งเหล่านี้ทำแล้วดี คนชื่นชม เขาจะได้ทำอีกโดยอัตโนมัติ
พูดอย่างไรเมื่อเด็กดื้อใส่
13:06
- สมมติถ้าโบมีลูก แล้วลูกไม่ยอมเข้านอน โบก็จะ “Okay, suit yourself.” (ตามใจ จะทำอะไรก็เชิญ = Do what you want to do) จากนั้นก็จะปิดทีวี ปิดไฟ แล้วขึ้นบ้านไปเลย
- อีกอย่างหนึ่งที่คิดว่าจะทำคือ ให้ทางเลือกอื่นๆ กับเขา เช่น “How about I read you a story?” เดี๋ยวแม่อ่านหนังสือให้ฟังเอาไหม สนุกนะ คือไม่ต้องไปดุ แต่คิดหนทางต่อรองกับเขา
- เฟี้ยต: วิธีที่ดีคือ ไม่ลงโทษ แต่ให้รางวัล reward or positive reinforcement เหมือนฝึกแมวน้ำอะ ให้เขารู้ว่า ถ้าหมุนตัวสวยๆ เดี๋ยวจะได้ปลากิน
- จากประสบการณ์ เมื่อเห็นเด็กที่ไม่เข้าร่วมกลุ่ม ดื้อ ไม่เชื่อฟัง ไม่ให้ความร่วมมือใดๆ เลย อันนี้มักมีปัญหาทางบ้าน บางทีเวลาอยู่กับพ่อแม่นี่คือเชื่อฟังทุกอย่าง แต่พอมาอยู่กับเราหรือที่โรงเรียนนี่ดื้อมาก อันนี้อาจจะเก็บกดมาจากที่บ้าน ก็เลยจะทำทุกอย่างที่ทำที่บ้านไม่ได้
- ประเด็นคือ ปัญหาหลายอย่างมันแก้ทันทีทันใดไม่ได้ ต้องใช้เวลา เรียนรู้กับเขาไป ถ้าอยากปรับพฤติกรรมหรือแก้นิสัยเขา ต้องเป็นเพื่อนกับเขาก่อน ให้เด็กไว้ใจเรา ให้เด็กรู้สึกปลอดภัยเมื่ออยู่กับเรา
ทำอย่างไรเมื่อเด็กพูดคำหยาบ
20:20
- เมื่อเด็กพูดคำหยาบ ส่วนใหญ่เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันไม่ดีอย่างไร ได้ยินมาก็พูดตาม แล้วก็ขำกัน หรือยิ่งผู้ใหญ่ห้าม ยิ่งอยากพูด
- วิธีที่เฟี้ยตใช้คือ เมื่อเด็กพูดคำหยาบออกมา ให้ถามเลยว่า โกรธอะไรเหรอ ไหนเล่าให้ฟังซิ “Are you angry? What are you feeling right now?” หรือ “Do you know what it means?” พยายามถามให้เขาพูดออกมา แล้วเราก็รับฟัง ก่อนที่จะค่อยๆ อธิบายว่าทำไมคำพูดพวกนั้นมันไม่ดี และไม่ควรพูด บอกเขาว่า “These words make people uncomfortable. Maybe you want to change it. Let’s think of other words that you might want to say.” คำนี้คนอื่นได้ยินแล้วเขารู้สึกไม่ดีนะ เราใช้คำอื่นไหม มาลองคิดกันไหมว่าเปลี่ยนไปใช้คำว่าอะไรแทนดี
- ถ้าเด็กๆ หงุดหงิดแล้วใช้คำก้าวร้าว โบอาจจะถามว่า “What did I do to you? Why are you being so aggressive at me? How would you feel if I said the same thing back to you? Would you like that?” เดี๋ยวๆ น้าไปทำอะไรให้เนี่ย หนูถึงได้โวยวาย พูดจาไม่น่าฟังแบบนี้ ถ้าน้าพูดกับหนูบ้าง หนูจะชอบไหม
- แทนที่จะดุด่า ให้ชวนเขาคุย พยายามชวนเขาคิดถึงสิ่งที่เขาพูดออกมา
- บางครั้งเมื่อเด็กพูดคำอะไรออกมาสักคำ ซึ่งอาจไม่ใช่คำหยาบอะไร แต่มันอาจเป็นคำที่เรานึกไม่ถึงว่าเขาจะรู้จัก โบจะถามว่า ไปได้ยินมาจากไหนเนี่ย แล้วรู้หรือเปล่าว่ามันแปลว่าอะไร “Where did you learn that word? Do you know what it means?”
พูดอย่างไรเมื่อเด็กแกล้งเพื่อน
27:51
- โบคงถามเหมือนเดิมว่า ทำไมทำอย่างนั้นล่ะ ถ้าคนอื่นเขาทำกับเราบ้าง เราจะชอบไหม
– “Why are you doing this?”
– “Do you think that it’s a nice thing to do?”
– “How would you feel if someone else does it to you?”
– “How do you think it would make them feel when you do that to them?”
- พยายามชวนเขาคิดโดยใส่ตัวเขาเข้าไปในตัวอย่าง เขาจะได้นึกภาพออกว่า อ้อ ถ้าเป็นเราเราจะรู้สึกอย่างไร
- เด็กที่ชอบแกล้งเพื่อนอาจเป็นเด็กที่โดนแกล้งมาเหมือนกัน หรืออาจเป็นเด็กที่ต้องการเรียกร้องความสนใจ
- “What would you do if no one plays with you anymore?” ถ้าทำแบบนี้แล้ว อีกหน่อยไม่มีใครเล่นด้วยแล้วจะทำยังไงล่ะ เฟี้ยตจะถามดีๆ ไม่ใส่อารมณ์ ไม่ดุด่า ถามให้เขาคิดไปเรื่อยๆ พาเขาไปทีละขั้นตอนของการคิดด้วยเหตุผล ให้เขาค่อยๆ เห็นถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้นตามมาจากสิ่งที่เขาทำลงไป หรือพูดออกไป
สอนอย่างไรให้เด็กรู้จักแบ่งปัน
30:56
- การจะเลกเชอร์ว่า “คนเราต้องรู้จักแบ่งปันเพื่อจะได้อยู่รอดไปด้วยกันในสังคมนะลูก” นั้นอาจเป็นสิ่งที่เด็กเข้าใจยากไปหน่อย เฟี้ยตจะสอนด้วยการทำให้ดูมากกว่า คือเราจะแบ่งขนมให้เด็กกินตลอด แล้วมาวันหนึ่งเมื่อเราไม่แบ่ง และเด็กถามว่าทำไมไม่แบ่ง เราจะถามว่า “Does it feel good when I share with you? Yeah, so, you can do the same thing to others.” แบ่งกันมันดีใช่ไหมล่ะ วันหลังเราต้องแบ่งเพื่อนด้วยนะ รู้ไหม
- โบขอยกตัวอย่างกรณีหลานสองคน เวลาพี่น้องแบ่งของเล่นหรือของกินกัน โบจะชมเสมอว่า น่ารักจังเลย “I’m so proud of you.” ประโยคนี้พูดประจำ “You’re such a good brother.” เป็นพี่ที่ดีจัง เป็นน้องที่ดีจังเลย ชมเข้าไปค่ะ และชมทุกครั้งที่เขาทำตัวดีและน่ารัก
- การชมเป็นสิ่งที่ดีนะ มันช่วยให้เด็กรู้สึกดีกับตัวเอง ช่วยในเรื่อง self-esteem
- reward และ punishment ไม่จำเป็นต้องมาด้วยกันเสมอ กับเด็กๆ เฟี้ยตจะเลือก ให้รางวัล กับ ไม่ให้รางวัล เท่านั้นพอ การไม่ให้รางวัลก็เป็นการลงโทษที่เขารู้สึกได้และเพียงพอให้เขาเก็ตแล้วนะ
- สำคัญที่สุดคือ เป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็น เกือบทั้งหมดของพฤติกรรมเด็กมาจากการลอกเลียนแบบคนใกล้ตัวทั้งนั้น การสอนเอาด้วยคำพูดปาวๆ เนี่ยได้ผลไม่เท่าไหร่หรอก
- สรุป ผู้ใหญ่ก็จงทำตัวให้ดี เพราะเด็กก๊อปปี้ผู้ใหญ่ จบ
Tags: โบ สาวิตรี, comunication, bilingual, english language, study english, english learning, เด็ก, Relationship, kids, WHAT DO YOU SAY, bickboon, เฟี้ยต