เมื่อวันที่ 23-24 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา (วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร) เพื่อพิจารณาวาระแก้ไขรัฐธรรมนูญ .. 2560 จำนวน 6 ญัตติที่ยื่นโดย .. ทั้งจากพรรคฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ผลปรากฎว่าสภาไม่ได้ลงมติรับหลักการ’  หรือไม่รับในประเด็นใดเลย แต่กลับมีการลงมติเพื่อตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) เพื่อพิจารณาญัตติแก้รัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการท่ามกลางการคัดค้านของ .. พรรคฝ่ายค้าน เพราะเห็นว่า จะเป็นการถ่วงเวลาแก้รัฐธรรมนูญให้ทอดยาวออกไปโดยไม่จำเป็น ทำให้พรรคฝ่ายค้านประกาศบอยคอตไม่เข้าร่วมใน กมธ. ชุดที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ มีเพียง สว. และ .. จากฝั่งรัฐบาลเท่านั้นที่เข้าร่วม” (สรุปข่าวโดยไอลอว์)

ผู้เขียนเห็นด้วยกับ .. พรรคฝ่ายค้านว่า การตั้ง กมธ. นี้ขึ้นมาเป็นการถ่วงเวลากระบวนการแก้รัฐธรรมนูญให้ยาวออกไปอีกโดยไม่จำเป็นเลย เนื่องจากญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ญัตติที่เสนอจากทั้งพรรคฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพียงแต่สะท้อนข้อเรียกร้องที่มีอยู่แล้วมากมายในสังคม สื่อมวลชนนำเสนอประเด็นมาแล้วอย่างต่อเนื่องยาวนาน มีประชาชนอย่างน้อย 100,732 คน (ผู้เขียนเป็นหนึ่งในนั้น) ที่เข้าชื่อเสนอแก้รัฐธรรมนูญกับไอลอว์

การลงมติครั้งนี้เป็นเพียงการลงมติวาระแรก คือรับหลักการเท่านั้น แปลว่าต่อให้สภาลงมติรับหลักการ ก็ไม่ได้แปลว่าญัตติแก้รัฐธรรมนูญทั้งหมดได้รับความเห็นชอบโดยอัตโนมัติ จะต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการมาศึกษาเนื้อหาของญัตติในวาระต่อไปอยู่ดี นอกจากนี้ พรรคร่วมรัฐบาลมากกว่าหนึ่งพรรคก็หาเสียงตอนเลือกตั้งไว้ว่าจะแก้รัฐธรรมนูญ” 

อีกทั้งสภาผู้แทนราษฎรเองก็เคยตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาหลักเกณฑ์และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี 2560 ซึ่งมีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และ กมธ. ชุดนี้ก็ได้ทำงานเสร็จแล้ว นำเสนอรายงานต่อสภาล่างเป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2563 หรือสองสัปดาห์ก่อนการประชุมร่วมสองสภา ส่วนฟากรัฐบาลเอง เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2563 คณะรัฐมนตรีก็ได้อนุมัติร่าง ... ประชามติ ที่ ... เสนอ โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณ 3.1-5 พันล้านบาท

เรียกว่ามีการเตรียมการที่จะแก้รัฐธรรมนูญ 2560 มาระยะหนึ่งแล้ว ทั้งในระดับรัฐบาลและรัฐสภา สอดคล้องกับเสียงเรียกร้องของประชาชน พูดง่ายๆ คือ สังคมไทยรับหลักการกันไปแล้วว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องแก้

ส่วนประเด็นที่ว่าควรแก้มาตราไหนบ้าง และแก้อย่างไรก็ต้องรอขั้นตอนต่อไปที่จะได้ถกเถียงอภิปรายกัน

ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวไปข้างต้น จึงชัดเจนว่า การตั้ง กมธ. ขึ้นมาพิจารณาญัตติแก้รัฐธรรมนูญก่อนรับหลักการนั้น จะมองเป็นอื่นไม่ได้เลยนอกจากเป็นการเดินถอยหลังและเป็นแท็กติกถ่วงเวลากระบวนการแก้รัฐธรรมนูญให้ยาวขึ้นอีกโดยไม่จำเป็น ไม่มีเหตุผลใดๆ เลยทั้งนั้นที่ฟังขึ้น

เราทุกคนควรจำชื่อ .. และ .. ทุกคนที่โหวตเห็นด้วย กับการเดินถอยหลังในครั้งนี้เอาไว้ ในฐานะตัวถ่วงพัฒนาการของประชาธิปไตยไทย 

แล้วในฐานะประชาชน เราควรมองกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้อย่างไร จริงหรือที่บางคนบอกว่า รัฐธรรมนูญ 2560 ฉบับนี้เป็นฉบับปราบโกงจะมีแต่นักการเมืองเท่านั้นที่ได้ประโยชน์จากการแก้ 

ผู้เขียนเห็นว่า ต่อให้รัฐธรรมนูญ 2560 ดีเลิศประเสริฐศรีเพียงใด (ซึ่งแท้จริงก็ไม่ใช่) เราทุกคนในฐานะประชาชนก็ควรเปิดให้โอกาสตัวเองได้ครุ่นคิดถึงทางเลือกต่างๆ ที่ดีกว่า ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม เพราะสุดท้ายเราทุกคนย่อมมีสิทธิที่จะเปลี่ยนใจ หรือไม่เปลี่ยนใจก็ได้อยู่แล้ว

…..

ผู้เขียนสรุปเหตุผลที่คนไทยทุกคน ไม่ว่าจะชอบหรือชังใคร ควรสนับสนุนกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ได้ 5 ข้อดังต่อไปนี้

1.ประชามติรัฐธรรมนูญ 2560 ไร้เสรีและไม่เป็นธรรม

เจ้าหน้าที่ IO (ปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร – information operations) และสื่อเสี้ยมทั้งหลายที่ทำงานใกล้ชิดกับ IO มักอ้างว่า รัฐธรรมนูญ 2560 ผ่านประชามติมา แปลว่าเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนเห็นชอบ แปลว่าคนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ 

ผู้เขียนเห็นว่าการอ้างสมการ ผ่านประชามติมา = คนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ นั้นเป็นตรรกะวิบัติอย่างชัดเจน เพราะสมมุติว่าเราไปออกเสียงรับรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2559 ย่อมไม่ได้หมายความว่าเมื่อเวลาผ่านมาอีกสี่ปี เราจะยังชอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่ 

นอกจากนี้ กระบวนการลงประชามติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 นั้น พูดไม่ได้เลยว่าเป็นประชามติที่เสรีและเป็นธรรมตามหลักสากล (free and fair referendum) แต่อย่างใด เริ่มตั้งแต่มหกรรมการให้ข้อมูลด้านเดียวของรัฐ กระทั่งเอกสารของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เองก็ชี้นำและไม่มีความเป็นกลาง ปิดปากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้อย่างรุนแรง โดยจับคนรณรงค์ไม่รับอย่างน้อย 212 คน แถมจับอย่างมั่วซั่วเหวี่ยงแหเพราะนักข่าวยังโดน และจับขึ้นศาลทหาร ไม่ใช่ศาลพลเรือน หลายคดีสู้กันถึงชั้นศาลฎีกากว่าศาลจะยกฟ้อง เสียเวลาเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ และชี้ให้เห็นชัดเจนว่าเป็นเพียงการฟ้องปิดปากปิดกั้นไม่ให้คนได้รับรู้ข้อมูลด้านที่ต่างจาก กกต. และผู้มีอำนาจ

กระบวนการปิดปากและคุกคามผู้เห็นต่างนี้ดำเนินไปท่ามกลางการมัดมือชกประชาชน โดยเฉพาะการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หรือกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ หรือใครก็ตาม ไม่เคยบอกกับประชาชนว่า ถ้าผลโหวตออกมาไม่รับแล้วจะเกิดอะไรขึ้น จะกลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับไหน กระบวนการจะเป็นอย่างไร

การมัดมือชกเช่นนี้ส่งผลให้คนจำนวนมากไปโหวตรับ’  เพียงเพราะอยากเลือกตั้งเร็วๆ ไม่อยากให้ คสช. ครองอำนาจเผด็จการต่อไป โดยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้จงใจปูทางให้ คสช. ได้กลับมาครองอำนาจอยู่ดี ผ่านกลไก สว.ลากตั้ง 100%, การเสนอชื่อนายกฯ คนนอก, ระบบเลือกตั้งพิสดารที่ตัดเสียงพรรคการเมืองที่ได้คะแนนนิยมสูงสุด, กลไกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งผูกมัดทุกรัฐบาล และการผูกขาดอำนาจในการแต่งตั้งองค์กรอิสระ

ยิ่งไปกว่านั้น ประชามติ 2559 ยังมีลักษณะชี้นำบิดเบือน โดยคำถามพ่วงกำกวมและชี้นำสุดขีดที่ถามว่าท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ สมควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี

คนรู้จักของผู้เขียนหลายคนยอมรับภายหลังว่า ในวันที่ไปโหวตเห็นชอบกับคำถามพ่วง ไม่ได้คิดเลยว่าคำถามนี้หมายถึงการให้ สว. ที่มาจากการแต่งตั้ง มีสิทธิโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ร่วมกับ ..

2. ประชามติรัฐธรรมนูญ 2560 ไร้ความหมาย

หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า รัฐธรรมนูญ 2560 ฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน ไม่ใช่ฉบับเดียวกันกับร่างที่ผ่านประชามติ 7 สิงหาคม 2559 โดยในปี 2560 ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านประชามติ จำนวน 7 มาตรา ในหมวดพระมหากษัตริย์ ยกตัวอย่างเช่นมาตรา 16 ซึ่งมีเนื้อหาที่เปลี่ยนแปลงดังนี้ (สรุปความโดย BBC)

เดิม (ฉบับผ่านประชามติ)

ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

ใหม่ (ฉบับแก้ไข และประกาศใช้)

ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะทรงแต่งตั้งบุคคลหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะขึ้น ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หรือไม่ก็ได้ และในกรณีที่ทรงตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ

ในเมื่อรัฐธรรมนูญ 2560 ฉบับที่ประกาศใช้จริง ไม่ใช่ฉบับเดียวกันกับฉบับที่ผ่านประชามติ จึงเท่ากับว่ากระบวนการประชามติ 7 สิงหาคม 2559 ไร้ความหมายไปโดยปริยาย

3.รัฐธรรมนูญ 2560 สร้างปัญหา หลังเลือกตั้งปัญหายิ่งชัด

ก่อนหน้าที่จะทำประชามติ และหลังทำประชามติแต่ก่อนการเลือกตั้ง 2562 ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกฎหมายรัฐธรรมนูญหลายคนออกมาเตือนหลายต่อหลายครั้งว่า เนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะปูทางไปสู่วิกฤติการเมืองรอบใหม่ ไม่ได้ช่วยลดความขัดแย้งอย่างที่กล่าวอ้าง

ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย จากภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยให้สัมภาษณ์ถึงปัญหาของรัฐธรรมนูญ 2560 ไว้ตั้งแต่ต้นปี 2561 ไว้อย่างน่าสนใจว่า ในระบอบการเมืองภายใต้โครงสร้างรัฐธรรมนูญนั้น การใช้อำนาจต่างๆ ภายใต้รัฐธรรมนูญจะต้องมีการตรวจสอบถ่วงดุล โดยมีรัฐธรรมนูญกำกับการใช้อำนาจ แต่ลักษณะการใช้อำนาจ(เผด็จการ)ตามมาตรา 44 (ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว) ที่เขียนว่าการใช้อำนาจชอบด้วยกฎหมายเสมอนั้นขัดกับวิถีของรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นอำนาจที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ เมื่อยื่นคำร้องต่อศาลก็มีแนวโน้มว่าศาลจะวินิจฉัยว่าคำสั่งดังกล่าวชอบด้วยรัฐธรรมนูญคำถามของผมคือว่าเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้ว ทำไมมาตรา 44 ยังอยู่

(มาตรา 279 ในรัฐธรรมนูญ 2560 ให้บรรดาการใช้อำนาจพิเศษในยุค คสช. รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจพิเศษที่ คสช. ประกาศใช้ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญเสมอ ส่งผลให้การอาศัยอำนาจดังกล่าวหรือการกระทำตามอำนาจดังกล่าวไม่อาจถูกตรวจสอบได้เลย

อาจารย์พรสันต์มองตั้งแต่ต้นปี 2561 ว่า มีหลายปัจจัยที่จะนำไปสู่วิกฤติรัฐธรรมนูญ เช่น การให้ความชอบธรรมของการใช้อำนาจเผด็จการตามมาตรา 44 ต่อไป การดันทุรังใช้บทบัญญัติที่ไม่ช่วยแก้ปัญหา และการที่ผู้นำทางการเมืองพยายามกล่าวหาคนที่ต่อต้านหรือคัดค้านรัฐบาลว่าทำผิดรัฐธรรมนูญ ทั้งที่การใช้อำนาจของตัวเองบางครั้งก็เห็นชัดเจนว่าไม่ได้ทำตามรัฐธรรมนูญ หรือพูดง่ายๆ ว่า รัฐบาลถูกเสมอ ฝ่ายต่อต้านผิดเสมอ

เมื่อดูปัจจัยทั้งหมดนี้ ประกอบกับบริบททางการเมือง พฤติกรรมการใช้อำนาจ อาจารย์จึงฟันธงว่ารัฐธรรมนูญ 2560 น่าจะมีอายุไม่เกิน 3 ปี

ผู้เขียนเองเคยเขียนถึงปัญหาของรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เห็นชัดแล้วหลายกรณี อย่างเช่นในบทความกติกาแรงจูงใจพฤติกรรม: ผลลัพธ์บิดเบี้ยวของรัฐธรรมนูญ 2560และวุฒิสภาลากตั้ง 2562: เมื่อธรรมาภิบาลหมดความหมาย” 

4.เราทุกคนไม่ควรปฏิเสธโอกาสที่จะฟังทางเลือกใหม่ๆ

ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบรัฐธรรมนูญ 2560 ผู้เขียนคิดว่าไม่มีใครควรปฏิเสธโอกาสที่จะได้ฟังทางเลือกใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา (สำหรับคนที่คิดว่ารัฐธรรมนูญมีปัญหา) หรือพัฒนาให้กติกาดีกว่าเดิมอีก (สำหรับคนที่คิดว่ารัฐธรรมนูญไม่มีปัญหา)  

ถ้าเราไม่อยากเริ่มต้นกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถ้าเราเห็นด้วยกับ .. และ สว.ที่ออกเสียงเห็นชอบให้ตั้ง กมธ. ถ่วงเวลา ก็แปลว่าเราปิดกั้นโอกาสที่จะได้รับฟังข้อเสนอ ทางเลือกใหม่ๆ จากประชาชนด้วยกัน เกี่ยวกับกติกาสูงสุดของประเทศ และโอกาสที่จะได้รับฟังการอภิปรายถกเถียงประเด็นเหล่านั้นในสภา 

ในฐานะประชาชน ทำไมเราถึงจะอยากปิดกั้นโอกาสของตัวเราเอง ?

5.ประชาชนย่อมมีสิทธิที่จะเปลี่ยนใจ

กระบวนการแก้รัฐธรรมนูญเป็นถนนที่ยาวไกล เมื่อไรก็ตามที่ร่างใหม่เสร็จสิ้น ใครก็ตามที่อ่านร่างใหม่แล้ว ยังคิดว่ารัฐธรรมนูญ 2560 ดีกว่าร่างใหม่ ก็ย่อมมีสิทธิไปโหวตไม่รับในการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญรอบใหม่ได้ (ซึ่งคราวนี้ก็ควรเรียกร้องให้เป็นประชามติที่เสรีและเป็นธรรมเสียที ไม่ให้ซ้ำรอยประชามติปี 2559)

พูดง่ายๆ คือ กระบวนการนี้ไม่ทำให้ประชาชนคนไหนเสียสิทธิแต่อย่างใด 

ในทางตรงกันข้าม ใครก็ตามที่ยืนกรานกีดกันไม่ให้เริ่มต้นกระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ คือคนที่ปิดกั้นโอกาสของประชาชนด้วยกันในการเปิดใจ รับฟังข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาของรัฐธรรมนูญ 2560 ฟังข้อเสนอทางเลือกและทางออกใหม่ๆ ในการพัฒนากติกาสูงสุด 

ฟังแล้วหลายคนที่เคยชอบรัฐธรรมนูญ 2560 อาจเปลี่ยนใจก็เป็นได้ แต่ใครฟังแล้วไม่เปลี่ยน ก็มีสิทธิที่จะไม่เปลี่ยน 

ดังที่ .. อังกฤษท่านหนึ่งพูดไว้ว่าถ้าประชาชนเปลี่ยนใจไม่ได้ มันก็ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยแล้ว

Tags: