ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) ในวาระ 8 ปี การรัฐประหารของคสช. ที่ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ชนะด้วยคะแนนสูงที่สุดในประวัติศาสตร์กว่า 1.3 ล้านคะแนน บ่งบอกอะไรกับคนกรุงเทพฯ ได้หลายอย่าง
อย่างแรกคือมายาคติว่าด้วยกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวง ‘สลิ่ม’ ที่มีฐานเสียงอนุรักษนิยมหนาแน่นนั้นไม่เป็นความจริง การที่ชัชชาติชนะเลือกตั้งรวดเดียวทุกเขต ทิ้งห่างอันดับ 2 เกินล้านคะแนน สะท้อนให้เห็นว่ายังมี ‘โอกาส’ เสมอ สำหรับการเมืองแบบใหม่ ไม่มีใครเป็นเจ้าของฐานเสียงหรือเจ้าของพื้นที่แบบตายตัว
อย่างที่สองคือ ในรอบนี้ ทุกคนล้วนเป็น ‘ผู้ชนะ’ ทั้งสิ้น ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์, วิโรจน์ ลักขณาอดิศร หรือ สกลธี ภัททิยกุล ด้วยคะแนนเสียงที่สามารถนำไป ‘ต่อยอด’ ได้ หากจะมีผู้พ่ายแพ้คนเดียวก็คือผู้ที่ ‘ลงทุนลงแรง’ สูงสุด อย่าง พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง
และอีกเรื่องคือ การโหวตเชิงยุทธศาสตร์นั้น ถึงที่สุดก็ไม่ได้ผล แม้วิธีนี้จะเคยทำให้ผู้ว่าฯ คนก่อนๆ ได้รับชัยชนะ แต่ ณ ปี 2565 วิธีการอย่างนี้ ‘โบราณ’ เกินไป และแข็งเกินไป
b-holder จะพาไปวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้กระแส ‘ชัชชาติ’ พุ่งแรงถึงขีดสุด เหตุและปัจจัยที่ทำให้ฝ่าย ‘หนุนรัฐบาล’ พ่ายแพ้อย่างย่อยยับ และแรงกระเพื่อมที่จะส่งต่อไปถึงการเมืองภาพใหญ่ในอนาคตอันใกล้
Tags: ชัชชาติ สิทธิพันธุ์, TMMT Podcast, ผู้ว่าฯ กทม.