ในการผลิตไข่ไก่ ไก่ตัวผู้มีหน้าที่เพียงแค่ผสมพันธุ์เท่านั้น เจ้าของฟาร์มไก่ชอบไก่ตัวเมียมากกว่า เพราะเนื้อของมันและมันโตเร็วกว่า ด้วยเหตุนี้พวกมันจึงถูกทำลายทิ้ง แต่ละปีทั่วโลกมีไก่ตัวผู้ประมาณ 7 พันล้านตัวถูกคัดทิ้งเพราะไม่ให้เนื้อและไข่ ไก่จำนวนมากถูกฝังขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนหนึ่งถูกรมแก๊ส ปล่อยกระแสไฟฟ้า หรือทำให้ขาดอากาศหายใจตายในถุงพลาสติก

ในปี 2021 ฝรั่งเศสจะเริ่มห้ามการคัดแยกฝูงลูกไก่จำนวนมากออกไป ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร ดิดิเอร์ กุยเลาเม กล่าวเมื่อวันที่ 28 มกราคมว่า ตั้งแต่ปลายปีหน้า จะไม่มีสิ่งเหล่านี้อีก เขาบอกว่ากระทรวงเตรียมออกแนวปฏิบัติในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าว่าด้วยการห้ามการปฏิบัติที่ทำให้สัตว์เจ็บปวดในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงสัตว์ปีกฝรั่งเศสให้สัมภาษณ์กับซีเอ็นเอ็นว่า ยังต้องศึกษาหาวิธีอื่น “เราเข้าใจและรับรู้สิ่งที่รัฐมนตรีกล่าว แต่ตอนนี้เราไม่มีวิธีอื่น”

ไม่นานมานี้ แนวคิดนี้ก็เริ่มเป็นที่พูดถึงกันมากขึ้นในหลายประเทศของยุโรป สวิตเซอร์เแลนด์ห้ามการฆ่าไก่แบบนี้ตั้งแต่เมื่อกันยายน 2019  แม้ว่ามันเป็นสิ่งที่เกษตรกรชาวสวิสแทบไม่ได้ทำอยู่แล้ว ส่วนตั้งแต่ปี 2015 เยอรมนีการฝังไก่ทั้งเป็นก็เป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2019 ศาลสูงสุดก็มีคำวินิจฉัยว่าเกษตรกรยังสามารถทำต่อไปได้ จนกว่าจะมีวิธีกำหนดเพศของตัวอ่อนในไข่ได้

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาฝรั่งเศสซึ่งมีความภูมิใจในอุตสาหกรรมเนื้อและสัตว์ปีก เกิดการต้องปะทะกันทางความคิด ระหว่างผู้ผลิตและนักกิจกรรมที่เรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงวิธีการเลี้ยงสัตว์ กุยเลาเมหวังว่า อีกไม่นานจะมีวิธีที่ทำให้เกษตรกรกำหนดเพศของตัวอ่อนไก่ในไข่ได้ ก่อนที่มันจะฟักเป็นตัวออกมา ที่ผ่านมานักวิจัยพยายามค้นคว้าหาทางมาหลายปีแล้ว จนถึงตอนนี้ที่ทำได้คือ เจาะไข่แต่ละฟองเพื่อนำตัวอย่างของมันออกมา ซึ่งเป็นเทคนิคที่แพงในระดับอุตสาหกรรม

เมื่อพฤศจิกายน 2019 ฝรั่งเศสและเยอรมนีประกาศว่า ทั้งสองประเทศจะทำงานร่วมกันเพราะทำให้การฆ่าไก่ในปริมาณมากๆ สิ้นสุดลง แนวปฏิบัติของอียูตั้งแต่ปี 2009 อนุญาตให้ทำลายลูกไก่ได้ ถ้ามันถูกทำให้ตายทันที ขณะที่มีอายุไม่เกิน 72 ชั่วโมง

นอกจากนี้ตั้งแต่ปี 2021 ฝรั่งเศสบังคับให้เกษตรกรต้องวางยาสลบลูกหมูที่จะถูกตอนด้วย เหตุที่วิธีการตอนเป็นที่นิยมก็เพราะว่า การตอนอวัยวะเพศของสัตว์มีเป้าหมายเพื่อให้มันอ้วนและไม่ให้ไขมันของมันมีกลิ่นเหม็น 

องค์กรเรียกร้องมนุษยธรรมในปศุสัตว์กล่าวแสดงความผิดหวัง ที่รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรไม่ประกาศห้ามไข่ที่ออกมาจากไก่ที่ถูกขังในกรง ส่วนกลุ่มเฟรนช์ L214 ซึ่งต่อการบริโภคเนื้อสัตว์ทุกชนิดกล่าวว่า มาตรการที่ออกมาไม่มากพอ และไม่แก้ปัญหาพื้นฐาน “ไม่ใช่เรื่องสภาพแวดล้อมในการฆ่าสัตว์ หรือวิธีหนีออกไปจากการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์แบบแออัด

ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์นี้ รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของสมาชิกอียูจะตัดสินใจเรื่องระบบการติดป้ายการเลี้ยงสัตว์อย่างมีความรับผิดชอบ ในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่จะเริ่มในปีหน้า

ที่มา:

https://www.theguardian.com/world/2020/jan/29/france-moves-to-ban-mass-live-shredding-of-male-chicks

https://edition.cnn.com/2020/01/29/europe/france-bans-chick-shredding-scli-intl/index.html

https://www.independent.co.uk/news/world/europe/france-male-chicks-shredding-ban-poultry-farming-castrate-piglets-law-a9307371.html

ที่มารูป: REUTERS/Stephane Mahe

Tags: ,